Economics

กมธ.พลังงาน วุฒิสภา เกาะติด 3 นโยบายพลังงาน

กมธ.พลังงาน วุฒิสภา เกาะติด 3 นโยบายพลังงาน โรงไฟฟ้าชุมชน-รื้อถอนแท่นปิโตรเลียม-เจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา ขอตามความเคลื่อนไหวทุกไตรมาส และไม่นัดล่วงหน้า

S 82436166

10102019 ๑๙๑๐๑๖ 0079
พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์

วันนี้ (16 ต.ค.) คณะกรรมาธิการการพลังงาน (กมธ.) วุฒิสภา นำโดย พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมาธิการ สมาชิกวุฒิสภา เข้าพบ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านนโยบายพลังงาน

นายสนธิรัตน์ ได้ชี้แจงทิศทางสำคัญให้กมธ. 3 เรื่องใหญ่ คือ โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก และสนับสนุนผู้ใช้ไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าได้เอง โดยกระจายการผลิตพลังงานสู่ชุมชน อาศัยจุดแข็งที่แต่ละชุมชนมีวัสดุทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด มาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าแทนที่จะเผาทิ้งเกิดฝุ่น PM 2.5โดยหลังจากนี้กระทรวงพลังงานจะสนับสนุนเชื้อเพลิงจากขยะ เพื่อนำมาผลิตเป็นไฟฟ้าต่อไป

เรื่องที่ 2 การแก้ปัญหาสินค้าเกษตรของประเทศ ที่ได้นำร่องด้วยการปรับสัดส่วนการใช้น้ำมันปาล์มดิบในดีเซล เป็น บี 10 เพื่อเป็นดีเซลพื้นฐานแทน บี 7 จะประกาศใช้ทั่วประเทศวันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ช่วยดูดซับน้ำมันปาล์มดิบได้ 2 ใน 3 ของปริมาณการผลิตทั่วประเทศ  แก้ปัญหาปาล์มล้นตลาด และราคาปาล์มตกต่ำ

และยังมีแนวคิดจะแก้ปัญหาราคาอ้อย และมันสำปะหลัง โดยใช้เครื่องมือ คือ เอทานอล าผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์ ซึ่งใน 2 เดือนจะมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้น พร้อมกับข้อสรุปว่าจะมีน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดต้องเอาออกจากตลาด และชนิดใดขยายการสนับสนุน 

เรื่องที่ 3 การวางประเทศไทยเป็นผู้นำพลังงานในภูมิภาค ทั้งการเป็นศูนย์กลาง หรือ ฮับ (Hub) ก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ซึ่งมั่นใจไทยมีความพร้อมและศักยภาพสูงสุด รวมถึงศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้าอาเซียน โดยซื้อไฟจากสปป.ลาวจำหน่าย ให้แก่ เมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซีย เปลี่ยนบทบาทให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นเทรดเดอร์ภูมิภาค

S 82436164

นอกจากนี้นายสนธิรัตน์ ยังได้ชี้แจงข้อสงสัยของกมธ.เกี่ยวกับงบประมาณของกระทรวงพลังงาน ด้วยว่า กระทรวงได้รับงบประมาณจัดสรรงบน้อยเพียง 2,000 กว่าล้านบาท คิดเป็น 0.07%ของงบประมาณแผ่นดินรวม แต่สามารถสร้างรายได้กลับมาได้มากราว 10% ของงบประมาณ

โดยในส่วนของการสนับสนุนตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนจะไม่ได้ใช้เงินงบประมาณแต่อย่างใด เพราะจะมีเอกชนเข้ามาร่วม มีโมเดล 3 รูปแบบ คือ โมเดลที่เอกชนลงทุนร่วมกับชุมชน โมเดลที่ผลิตใช้เองอย่างเดียวสำหรับชุมชน ซึ่งจะมีงบจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมาสนับสนุน และโมเดลโรงไฟฟ้าขยะ บริหารจัดการโดยองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.)

สำหรับประเด็นพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา นายสนธิรัตน์ สรุปให้กมธ.รับฟังว่า จะเร่งรัดการฟื้นการเจรจาตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อหาแนวทางการพัฒนาแหล่งพลังงานร่วมกัน ส่วนการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมที่กำลังหมดอายุก็อยู่ระหว่างการเจรจาเช่นเดียวกัน เพื่อหาทางออกโดยหลีกเลี่ยงการเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ

นอกจากนี้ยังได้ชี้ทิศทางสำคัญของนโยบายพลังงาน ที่สอดคล้องกับทิศทางโลก เช่น การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาดำเนินการ เพื่อเปลี่ยนผ่านในยุค Disruption โดยเฉพาะเรื่องการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ซึ่งชณะนี้อยู่ระหว่างหารือกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ผลักดันแผนอีวีของประเทศทั้งระบบออกมาช่วงต้นปีหน้า 2563 โดยจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) เพื่อส่งเสริมให้ประเทศเป็นผู้นำด้านอีวีในระดับภูมิภาคต่อไป

10102019 ๑๙๑๐๑๖ 0082

นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กมธ.จะมีการติดตามการทำงานกระทรวงพลังงานต่อไป โดยพลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ จะขอตรวจการบ้านเฉลี่ย 3 เดือนครั้ง หรือไตรมาสและครั้ง โดยไม่แจ้งล่วงหน้า ซึ่งนายสนธิรัตน์ก็ยินดี เพราะมีความโปร่งใสในการทำงาน

สำหรับการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม นายสนธิรัตน์ ได้แจ้งกับกมธ.ว่าไม่ต้องวิตกกังวล เพราะไม่มีการเข้ากระบวนการอนุญาโตตุลาการ ถือว่าอยู่ในสภาวะเหมาะสม อยู่ระหว่างการเจรจา โดยมั่นใจทีมของกระทรวงพลังงานที่จะเจรจาให้เกิดผลประโยชน์ที่ดีได้ต่อทั้งกระทรวง และบริษัทเอกชนที่เป็นคู่เจรจา

ส่วนพื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา กระทรวงพลังงานให้ความสนใจ และกำลังมีการเดินหน้า เพราะเชื่อว่าการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนยังมีความจำเป็น และจะเป็นประโยชน์ต่อ 2 ประเทศ

Avatar photo