Wellness

‘Burn out’ ภาวะหมดไฟวัยทำงาน อีกต้นเหตุ ‘ซึมเศร้า’

แพทย์เตือน “ภาวะหมดไฟ” เหตุเครียดเรื้อรังจากงาน เสี่ยงขยายผลสู่ภาวะซึมเศร้า แนะ 4 วิธีป้องกัน เน้นแบ่งเวลาพักผ่อน และรีบปรึกษาแพทย์ก่อนบานปลาย 

การจากไปของ “ซอลลี่” ดารานักร้องสาวชื่อดังชาวเกาหลี ที่เลือกจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย สร้างความเสียใจให้แฟนคลับ และสังคมทั่วโลก เพราะนี่ไม่ใช่รายแรกที่ศิลปินจบชีวิตตัวเองลงกลางทาง ทั้งที่มีชื่อเสียง และมีโอกาสเติบโตในอาชีพ และคนไทยก็ “อิน” ไปกับข่าวของเธอด้วย เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ดาราไทยก็เลือกวิธีเดียวกัน แต่ต้นสายปลายเหตุอาจแตกต่างกันไป สำหรับ “ซอลลี่” อะไรคือปัจจัยหนุนนำ? เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน

รองอธิบดีกรมการแพทย์
นพ.มานัส โพธาภรณ์

นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายถึง “Burn out”  หรือ ภาวะหมดไฟ  อย่างน่าสนใจว่า เป็นปรากฏการณ์ทางอาชีพ (occupational phenomenon) ไม่ใช่เป็นโรค (medical condition) และเกิดจากความเครียดเรื้อรัง จากการทำงาน ถูกจัดอยู่ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรค และปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับที่ 11 โดยมีรหัสกำหนดในหมวด Z คือ “ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาวะ”

ทั้งนี้เพราะเล็งเห็นว่าประเด็นนี้มีความสำคัญ คุกคามสุขภาวะ และอาจจะนำไปสู่โรคต่าง ๆ ได้ เช่น ภาวะโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือแม้กระทั่งปวดหัวชนิดเทนชั่น หรือ โรคนอนไม่หลับ เป็นต้น

110688
นพ.สมบูรณ์ ทศบวร

นพ.สมบูรณ์ ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ตระหนักถึงภาวะ Burn out หรือกลุ่มอาการ (Syndrome) ที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน ซึ่งยังไม่ถูกจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

window view 1081788 640

โดยแบ่งลักษณะอาการใน 3 กลุ่ม ดังนี้

1. รู้สึกหมดพลังหรือเหนื่อยล้า

2. รู้สึกว่าจิตใจห่างเหินจากงานและมีทัศนคติด้านลบต่องาน

3. ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และอาจส่งผลต่อบุคลากรในโรงพยาบาล

จึงแนะนำ 4 วิธีป้องกันการนำมาสู่ภาวะดังกล่าว ประกอบด้วย

  1. ต้องแบ่งขอบเขตระหว่างงาน และบ้านให้ชัดเจน
  2. หาเวลาพักผ่อน
  3. ปิดสวิทซ์งานเมื่ออยู่บ้าน
  4. อย่าเป็นทุกข์อยู่คนเดียว ต้องบอกเพื่อนร่วมงาน หรือเจ้านาย

Burn out

Avatar photo