Business

เปิดอันดับ ‘ธนาคารไทย’ รายได้จาก ‘ดอกเบี้ย’ มากที่สุด

เมื่อพูดถึง “ธุรกิจธนาคาร” สิ่งที่มักจะมาคู่กันเสมอคงเป็นเรื่องของ “อัตราดอกเบี้ย” เพราะว่ากันว่าดอกเบี้ยเป็นหนึ่งในรายได้หลักของธนาคารพาณิชย์ก็ว่าได้ โดยทั่วไปแล้วอัตราดอกเบี้ย จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

Bank page00 01

1.อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

2.อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้กับเงินฝาก เราเรียกกันว่า Net Interest Margin (NIM) ซึ่งยิ่ง NIM สูง ยิ่งหมายถึงรายได้ที่มากขึ้นของธนาคารนั่นเอง นอกจากนี้ อีกส่วนสำคัญก็คือตัวเลขการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างรายได้จากดอกเบี้ยของธนาคารเช่นกัน เพราะยิ่งพอร์ตสินเชื่อมีการเติบโต โอกาสทำรายได้ก็ยิ่งสูงขึ้น 

Bank page01 01

วันนี้ เราเลยมีสรุปข้อมูลรายได้ จากดอกเบี้ยของธนาคารต่างๆ มาฝากกันว่าใครได้มากน้อยเท่าไหร่ (อ้างอิงผลดำเนินงานรวมปี 2561) 

1.ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : หุ้น BBL

รายได้จากดอกเบี้ย 110,781 ล้านบาท

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) 2.40%

2.ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) : หุ้น KBANK

รายได้จากดอกเบี้ย 98,538 ล้านบาท

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) 3.39%

3.ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) : หุ้น SCB

รายได้จากดอกเบี้ย 96,400 ล้านบาท

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM)) 3.20%

4.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) : หุ้น KTB

รายได้จากดอกเบี้ย 83,689 ล้านบาท

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) 2.79%

Bank page02 01

5.บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) : หุ้น TCAP

รายได้จากดอกเบี้ย 30,767 ล้านบาท

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) 2.94%

6.ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) : หุ้น TMB

รายได้จากดอกเบี้ย 24,497 ล้านบาท

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) 2.94%

7.บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) : หุ้น TISCO

รายได้จากดอกเบี้ย 12,615 ล้านบาท

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) 3.80%

8.ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) : หุ้น KKP

รายได้จากดอกเบี้ย 11,262 ล้านบาท

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) 5.00%

อย่างไรก็ดี ดอกเบี้ยเป็นเพียงรายได้ส่วนหนึ่งของธนาคารเท่านั้น เพราะธนาคารยังมีรายได้จากทางอื่นอีก เช่น รายได้ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ กำไรจากการลงทุน กำไรจากธุรกิจประกัน และกำไรจากธุรกรรมเพื่อค้า เป็นต้น 

ส่วนใหญ่แล้วรายได้ส่วนที่ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยจะมีอัตรากำไรค่อนข้างดีกว่า เนื่องจากไม่ต้องกังวลกับกลไกตลาดเงิน และการแข่งขันระหว่างธนาคาร โดยมักอิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของภาครัฐ เหมือนรายได้จากดอกเบี้ยนั่นเอง 

Avatar photo