Economics

‘พลังงาน’ วางกรอบ 180 วัน เจรจาเชฟรอน-มิตซุย-โททาล 

“พลังงาน” วางกรอบ 180 วัน เจรจาเชฟรอน-มิตซุย-โททาล  ยันยึดประโยชน์ประเทศ เบื้องต้นต้องรื้อถอน 50 แท่น

8102019 ๑๙๑๐๐๘ 0010

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สำหรับการเดินหน้าเจรจารื้อถอนแท่นขุดเจาะน้ำมันแหล่งเอราวัณ และบงกชนั้น ต้องถือเป็นข่าวใหญ่ที่เชฟรอน คอร์ปอเรชั่น สหรัฐ ประกาศระงับการเข้าสู่อนุญาโตตุลาการ

ทั้งนี้เพราะกระบวนการเดินเข้าสู่อนุญาโตตุลาการไปแล้ว ซึ่งปกติเขาต้องเดินหน้าต่อ นับเป็นเรื่องยากมากที่เชฟรอนจะระงับกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ต้องถือเป็นผลงานของทีมกระทรวงพลังงานที่ดำเนินการมาตลอด 2 เดือน โดยเฉพาะปลัดกระทรวงพลังงาน และรองปลัดกระทรวงพลังงาน ที่ทำงานหนักทุกวันในเรื่องนี้ ถือเป็นความเชื่อมั่นของประเทศไทย โดยการเจรจามีกรอบเวลาไม่เกิน 180 วัน

“เรื่องนี้ไม่ใช่ใครถูกใครผิด แต่เราต้องรักษาผลประโยชน์ประเทศ การเข้าสู่กระบวนการเจรจานับเป็นเรื่องบวก เป็นผลดีกับทุกฝ่าย และทำให้การเข้าพื้นที่ ของผู้รับสัมปทานรายใหม่ง่ายขึ้น “

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ในขั้นตอนการเจรจา ในส่วนของกระทรวงพลังงานจะมีกรมเชื้อเพลิงเป็นหลัก พิจารณาบนข้อมูลใหม่ที่เสนอเข้ามา เช่น แท่นใดจะคงไว้ และแท่นใดต้องรื้อถอน โดยจะเจรจาไปพร้อมกันทั้งเชฟรอน บริษัทมิตซุย ออยล์ เอ็กซพลอเรชั่น จำกัด ( MOECO) ที่ถือหุ้น 23.5% ร่วมกับเชฟรอน ที่เป็นผู้รับสัมปทานรายเดิมในแหล่งเอราวัณ และโททาล อีแอนด์ พี ไทยแลนด์ จำกัด ที่ถือในแหล่งบงกช ส่วนผลจะออกมาเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับการเจรจา

ทั้งนี้มีแท่นขุดเจาะน้ำมันราว 250 แท่นของทั้งสองแหล่ง ก่อนหน้านี้มีการประเมินว่าจะมี 200 แท่นที่ใช้งานต่อได้ และมี 50 แท่นที่ต้องรื้อถอน และต้องวางหลักประกันในการรื้อถอนแหล่งเอราวัณ 2,400 ล้านดอลลาร์ และ 1,000 ล้านดอลลาร์สำหรับแหล่งบงกช แต่หลังจากเริ่มกระบวนการเจรจาตัวเลขก็ต้องปรับใหม่ทั้งหมด มีกรอบเวลาไม่เกิน 180 วัน  และหลังการเจรจา มีเวลา 120 วันในการที่กรมเชื้อเพลิงต้องส่งหนังสือยืนยัน ให้มีการชำระค่าหลักประกันการรื้อถอนแท่นขุดเจาะตามที่ได้ข้อสรุป

Avatar photo