Opinions

Digital Transformation ปรากฏการณ์ที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจ

Avatar photo
Head of Marketing and Digital Solutions บริษัท G-ABLE
3393

monitor 1307227 1280

Digital Transformation คือคำที่ถูกใช้อย่างมากมายในประเทศไทยในตอนนี้ ข้อมูลจาก Evolution The Data Economy Report: 2017 Edition ซึ่งเป็นผลสำรวจในงานวิจัยระดับโลกระบุว่า เกือบ 60% ของธุรกิจไทยนั้นเริ่มสร้างรายได้เกินกว่าครึ่งจากบริการที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล และถือเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) ที่ 46% อยู่ค่อนข้างมาก

ในงานวิจัย Evolution 2017 ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นจากเหล่าผู้นำทางด้านไอทีภายในองค์กรกว่า 9,000 แห่งทั่วโลก (3,000 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น; 200 แห่งในประเทศไทย) พบว่า 62% ของธุรกิจในประเทศไทยกำลังมองหาบริการดิจิทัลที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเดิม และสามารถสร้างฐานลูกค้าใหม่ให้แก่ธุรกิจได้ ขณะที่ 60% เชื่อว่าบริการแบบดิจิทัลสามารถช่วยเร่งให้ธุรกิจของตนเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และยังสามารถแข่งขันในตลาดได้ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีของการทำ Digital Transformation ในประเทศไทยที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

หากให้นึกย้อนกลับไป ในช่วงเวลาที่การดำเนินชีวิต การดำเนินธุรกิจในองค์กร ยังไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนสำคัญ หลาย ๆ คน หลาย ๆ องค์กร ยังคงดำเนินธุรกิจ ผ่านการดำเนินงานหลายขั้นตอนเพื่อให้ได้งาน หรือการที่เราจะต้องใช้เวลาในการเดินทางเพื่อไปทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง สิ่งใกล้ตัวเหล่านี้ค่อย ๆ เปลี่ยนไป เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินธุรกิจ หรือแม้แต่การดำเนินชีวิต ให้เกิดความรวดเร็วและสะดวกสบายมากขึ้นนั้น

แน่นอนว่า Digital Transformation ได้กลายมาเป็นปรากฏการณ์ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งวิถีชีวิต และกระบวนการทำงานขององค์กร ซึ่งหมายถึงการมี Asset ที่เป็น Digital ขององค์กร หรือการทำ Product หรือ Channel ที่เป็น Digital ออกมา ไม่ว่าจะตั้งแต่เว็บไซต์จนถึงการทำ Social Media และยังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงธุรกิจโดยใช้ Digital มาเป็นหัวใจในการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กรตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการในตำแหน่งล่างสุด

Digital Transformation คืออะไร

Digital Transformation คือการเปลี่ยนแปลงแนวคิด โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ตั้งแต่การวางเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ และส่งต่อคุณค่าให้แก่ผู้บริโภค ทั้งในส่วนของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของธุรกิจ โดยใช้ Digital มาเป็นหลักในการดำเนินงานของบริษัท ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติการในองค์กร การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงบุคลากรทุกภาคส่วน ที่จะต้องมีส่วนร่วมในการปรับตัวไปสู่ยุค Digital เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถ ให้องค์กรสามารถก้าวเข้าสู่ การแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด Digital Transformation เกิดขึ้นในทุก ๆ ที่ และเข้ามาปรับเปลี่ยนทุกมุมขององค์กรสมัยใหม่

เมื่อทุกอย่างถูกขับเคลื่อนด้วย “Digital” การมุ่งหน้าสู่การทำ Digital Transformation จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยการเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ของผู้บริโภค พัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ผู้บริโภค นอกเหนือจากการแบ่งกลุ่มลูกค้าแต่เป็นการให้ความสำคัญกับพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อทำให้การกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้านั้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่น การกำหนดช่องทางที่จะสื่อสารกับผู้บริโภค (Customer Touch Points) เป็นช่องทางแรกที่จะทำให้แบรนด์เข้าถึงผู้บริโภค หากเราเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคก็จะทำให้เรารู้ว่า ในปัจจุบันสื่อออนไลน์ เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของคนในยุคสมัยนี้ เพราะฉะนั้น การใช้สื่อออนไลน์อย่าง Facebook, Line, Instagram ก็อาจจะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ดี กว่าการทำโฆษณาบนป้ายโปสเตอร์

นอกจากนี้ วีธีการดำเนินธุรกิจ ก็เป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้ว่าการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าจะเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด แต่การปรับเปลี่ยนกระบวนการการทำงานให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเป็นการช่วยทำให้บริษัทเติบโต ก้าวหน้า และได้ประโยชน์มากขึ้น หากคนในองค์กรเน้นการทำงานแบบสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ กำหนดกลยุทธ์ วางแผนการทำงานให้เกิดการทำงานแบบใหม่ที่ได้ผลลัพธ์ที่ดี และลดขั้นตอนการทำงาน มีการแลกเปลี่ยนความคิด สร้างเครือข่ายการทำงาน ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ คนในองค์กรเข้าใจตัวเองและความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และตอบสนองเป้าหมายขององค์กรได้อย่างชัดเจน

ยิ่งไปกว่านั้น การกำหนดแบบแผนการทำงาน ให้ก้าวไปสู่ยุคดิจิทัลอย่างเป็นสากลมากขึ้น ไม่ใช่เพียงการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน แต่เป็นการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินธุรกิจ อย่างเช่น ธุรกิจค้าปลีก ให้บริการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์พร้อมบริการส่งถึงบ้าน หรือเทคโนโลยีสายรัดข้อมือที่มีการติดตั้ง GPS เพื่อสามารถวัดและติดตามผลของผู้ใช้งานได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยวิสัยทัศน์ และเป้าหมาย ของผู้นำว่าต้องการที่จะให้ธุรกิจ ดำเนินไปในทิศทางใด

เข้าใจในการเปลี่ยนแปลง

technology 3190200 1280

โลกธุรกิจในปัจจุบันอยู่ในยุคที่เรียกว่า “Digital Darwinism” ซึ่งหมายถึงยุคที่เทคโนโลยีต่าง ๆ ถูกพัฒนาขึ้นรวดเร็ว จนธุรกิจจำเป็นต้องเร่งปรับตัวให้ทันเทคโนโลยี ทำให้การทำ Digital Transformation เป็นตัวเลือกที่ทุกกลุ่มธุรกิจไม่อาจเลี่ยงได้ มิเช่นนั้นอาจถูกทิ้งท้าย หรือถูกกลืนหายไป ซึ่งหัวใจหลักของ Digital Transformation คือการเปลี่ยนแปลง โดยเราสามารถทำความเข้าใจผ่านกลุ่มธุรกิจที่มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น

  • อุตสาหกรรมขายปลีก เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมักจะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเพื่อที่จะรองรับลูกค้าที่มีโอกาสสัมผัสกับสินค้าได้ตลอด 24/7 สิ่งที่เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนคือการเกิดขึ้นของ Online shopping ต่างๆ รวมถึงการปรับตัวของ Traditional trade ในการที่จะดำเนินการในรูปแบบ Online shopping กันมากขึ้น e-Commerce อย่าง Amazon, Alibaba, Lazada ที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดจากธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิม เนื่องจากความสามารถในการเข้าถึงผู้บริโภคได้มากกว่า ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงและไม่จำกัดสถานที่
  • กลุ่มธนาคาร ที่เดินหน้าเข้าสู่ Digital Banking เห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อเกิดการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทาง ระบบอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือหรือ Mobile Banking ที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด โดยธนาคารเองต้องเร่ง Digital Transformation ตัวเองให้สามารถทัดเทียมกับกลุ่ม fintech (ผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร) ที่เข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ โดยทางรัฐบาลมีการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างชัดเจน เช่น โครงการ Promtpay ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินมากขึ้น
  • อุตสาหกรรมการผลิต หรือที่ได้ยินกันอย่างกว้างขวางในประเทศไทยว่า “ประเทศไทย 4.0” เป็นการเปลี่ยนแนวคิดในการผลิตโดยยึดหลัก “ทำน้อย ได้มาก” แม้กระทั่งบริษัทผู้ผลิตรถยนต์อย่าง FORD ในช่วงก่อนปี 2006 มีลักษณะการดำเนินงานที่แยกส่วนกัน ขาดความร่วมมือและเชื่อมโยงกันในองค์กร จนกระทั่งตัดสินใจนำ Digital Transformation มาใช้กับโครงสร้างองค์กร โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ ลดความซับซ้อนของสายการผลิต รวมถึงปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดความร่วมมือและเชื่อมโยงกัน ในด้านไอที โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้ FORD กลายเป็นองค์กรที่ Agile (สามารถปรับตัวได้รวดเร็ว) และประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรม อย่าง Ford SYNC และ MyFord Touch

จากตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น Digital Technology สามารถเข้าไปเพิ่มศักยภาพให้กับทุกองค์ประกอบของธุรกิจได้ ดังนั้น เราจึงเห็นว่ามี Digital Transformation เกิดขึ้นได้ในธุรกิจทุกประเภท เพราะฉะนั้น เราจะต้องเริ่มต้นจากการเข้าใจธุรกิจของตนเองอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะสร้างสรรค์และมอบคุณค่าให้กับผู้บริโภคหรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงความต้องการ ผ่านการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงาน และแนวคิดขององค์กร และแบบแผนการทำงาน อย่างชัดเจนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและผลักดันขีดความสามารถให้องค์กรก้าวเข้าสู่ธุรกิจชั้นนำได้ในที่สุด

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.wired.com/insights/2014/04/digital-darwinism-disruptive-technology-changing-business-good/
https://enterprisersproject.com/what-is-digital-transformation#q2
http://www.nbtc.go.th/getattachment/News/Information/28909/Digital-Transformation.pdf.aspx
http://www.theeleader.com/digital-transformation/digital-revolutionize/
http://www.itpro.co.uk/strategy/28047/what-is-digital-transformation
https://www.peerpower.co.th/blog/sme/management/digital-transformation-for-business/
https://blog.ourgreenfish.com/th/what-is-digital-transformation-business-world