Branding

4 เหตุุผล ทำไม ‘Makro’ ถึงยังโตได้อีก 

พูดถึงธุรกิจโชว์ห่วยในเมืองไทย สิ่งที่คู่กันคงหนีไม่พ้น “Makro” หรือ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีกราคาถูกแบบครบวงจรที่เปรียบดั่งเป็น “มิตรแท้โชห่วย” มาอย่างยาวนาน  

Capture 19

กิจการของ Makro แม้จะเน้นขายของราคาถูก ทำให้อัตรากำไรไม่ได้สูงมากมากนัก โดยมี GPM ประมาณ 11 – 12% และ NPM ประมาณ 3 – 3.5% เท่านั้น อย่างไรก็ดี ในแง่มูลค่ากิจการแล้ว Makro อาจจะใหญ่กว่าที่หลายคนคิด 

เพราะนับว่าเป็นหุ้นค้าส่งและค้าปลีกระดับต้นๆ ของประเทศที่มีมูลค่ากว่าแสนล้านบาท ส่วนถ้ามองเรื่องรายได้แล้ว พวกเขาคือ 1 ใน TOP 10 ของหุ้นทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์เลยทีเดียว

การเงิน 4 ปีย้อนหลัง 

ปี 2558 ยอดขาย 155,917 ล้านบาท กำไร 5,378 ล้านบาท

ปี 2559 ยอดขาย 172,790 ล้านบาท กำไร 5,412 ล้านบาท

ปี 2560 ยอดขาย 186,754 ล้านบาท กำไร 6,178 ล้านบาท

ปี 2561 ยอดขาย 192,930 ล้านบาท กำไร 5,941 ล้านบาท

เห็นว่ายอดขายเติบโตมาโดยตลอด เพียงแต่กำไรมาสะดุดเล็กน้อยปี 2561 อาจเป็นเพราะมีการลงทุนหรือขยายสาขาจำนวนมาก แต่เมื่อเทียบไปที่ยอดขายต่อสาขา หรือ SSSG กับบริษัทอื่นในธุรกิจคล้ายคลึงกัน กลับพบว่า Makro มีการเติบโตที่โดดเด่นทีเดียว โดยไตรมาสล่าสุดเพิ่มมาถึง 5% เพิ่มมากที่สุดในตลาด 

และนี่คือ 4 เหตุุผลว่าทำไม Makro ถึงยังโตได้อีกและน่าจะมีทิศทางที่สดใสในอนาคต 

S 12099593

1.มิตรแท้โชห่วย

“ราคา” และ “ความสะดวก” คือจุดแข็งของ Makro อยู่แล้ว ในการเป็นร้านค้าส่งให้แก่กลุ่มลูกค้าโชห่วยทั่วประเทศ ซึ่งมีกลุ่มผู้ประกอบการและสมาชิกกว่า 3 ล้านราย นี่จึงเป็นจุดเด่นที่คงไม่มีใครสามารถโค่นลงได้ง่ายๆ แน่นอน 

2.ต่อยอดธุรกิจด้วยแพลตฟอร์มใหม่ๆ

แม้ยังคงรักษาคอนเซ็ปต์ค้าส่งเพื่อโชห่วยเป็นอันดับหนึ่ง แต่ปัจจุบัน Makro ได้เพิ่มแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่ในอดีตไม่เคยมี เช่น รูปแบบสาขาขนาดเล็ก “สยามโฟรเซ่น” ที่เน้นขายแช่แข็งเป็นหลัก หรือ “แม็คโคร ฟู้ดเซอร์วิส” ที่ป็นสาขาขนาดเล็กเน้นขายอาหารและของสด เจาะทำเลชุมชนที่มีร้านอาหารเยอะๆ 

รูปแบบนี้ทำให้ขยายสาขาง่ายขึ้น ตรงกลุ่มเป้าหมายมากกว่า แถมลูกค้าทั่วไปก็สามารถเข้ามาซื้อของได้แบบสะดวกสบาย โดยไม่ต้องสมัครสมาชิกเหมือนแต่ก่อน

แมคโครฟู้ด

ปัจจุบัน Makro มีสาขาในไทยเปิดบริการแล้ว 129 สาขา แบ่งเป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าแบบคลาสสิก 79 สาขา แม็คโคร ฟู้ดเซอร์วิส 25 สาขา อีโค พลัส 13 สาขา แม็คโคร ฟู้ดช้อป 5 สาขา และสยามโฟรเซ่น 7 สาขา

69304

3.ขยายสาขาในต่างประเทศ

เมื่อรายได้ในไทยเริ่มอิ่มตัว หากยังอยากเติบโตระยะยาว การออกไปสู่ตลาดต่างประเทศคือคำตอบ เช่นกัน Makro ก็มองหาโอกาสนี้อยู่เสมอ โดยที่ผ่านมาได้ลองเชิงไปเปิดสาขาแรกในกัมพูชาแล้ว ส่วนแผนอนาคตบริษัทตั้งงบไว้ประมาณ 2,700 ล้านบาท บุกตลาดใหม่ในประเทศอินเดีย จีน และเมียนมา

4.เกมต่อยอดธุรกิจของ CP  

188,000 ล้านบาท คือเม็ดเงินที่ “เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์” นำ CPALL เทคโอเวอร์ Makro เมื่อ 6 ปีก่อน เป็นตัวเลขที่หลายมีคำถามว่าแพงเกินไปหรือเปล่า ? 

01 พี่น้องเจียรวนนท์
ธนินท์ เจียรวนนท์

อย่างไรก็ตาม เจ้าสัวธนินท์ เคยให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ว่า “เราไม่ได้ซื้อ Makro ในราคาแพงอย่างที่ใครคิด เพราะการซื้อครั้งนี้เหมือนเป็นการซื้อเครื่องพิมพ์ธนบัตรที่พิมพ์ได้จำนวนมาก แถมพิมพ์เร็ว เครื่องไม่เสีย”

ซึ่งนี่คงเป็นเสียงสะท้อนได้ว่า CPALL มอง Makro เป็น Growth Stock ระยะยาว และเป็นตัวเสริมธุรกิจต่างๆ ในเครือให้โตไปพร้อมๆ กัน แม้จะใช้เวลาคืนทุนไกลถึง 10 ปีด้วยกัน 

ดังนั้น ทั้งในแง่ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งที่ครบวงจรของกลุ่ม และต้นทุน Economy of Scale ที่ได้เปรียบจากการเข้ามาควบรวมของซีพี จึงเป็นสาเหตุว่าทำไม Makro ถึงมีแรงหนุนให้เติบโตได้อีกมากทีเดียว

Avatar photo