Economics

สงครามการค้าสะเทือน! ฉุดดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร่วงเดือนที่ 4

สงครามการค้าสะเทือน! ฉุดดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. 62 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ระดับ 100.58 ลดลง 4.4%

อดิทัต วะสีนนท์249622

นายอดิทัต วะสีนนท์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ Manufacturing Production Index – MPI ประจำเดือนสิงหาคม 2562 ว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ระดับ 100.58 หดตัวลง 4.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักจากผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและสงครามการค้าโลกจีนและสหรัฐและขยายตัวออกไปในวงกว้าง รวมทั้งผลจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น 5.8% ส่งผลที่ทำให้การค้าโลกชะลอตัวต่อเนื่อง ส่งผลกระทบทำให้คำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศชะลอตัวลง ส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ไม่รวมทองคำ หดตัวลง 9.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ส่วนปัจจัยที่จะส่งผลต่อดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2562 ยังคงเป็นผลจากสงครามการค้า ค่าเงินบาท ภาวะการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ

ทั้งนี้ เชื่อว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 316,000 ล้านบาท ซึ่งรวมทั้งมาตรการ “ชิปช้อปใช้” จะช่วยให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรฐษกิจได้ประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท ก็จะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นไม่ให้ชะลอตัวลงไปมากกว่านี้ สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมภาคอีสานส่งผลกระทบ 2 ล้านไร่ กรณีนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารเนื่องจากพืชที่ได้รับผลกระทบหลักคือ ข้าว

1569302983049

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลลบต่อดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2562 ได้แก่ รถยนต์และเครื่องยนต์ ลดลง 8.21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวลง 4.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เช่นถุงมือยางถุงมือตรวจลดลง 21.26% เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และน้ำตาล

อุตสาหกรรมที่การผลิตยังขยายตัวดีได้แก่ ฮาร์ตดิส ไดร์ท เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น 12.66% จากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา เพราะฐานการผลิตในประเทศมาเลเซียปิดตัวลง อาหารทะเลแช่แข็ง ขยายตัวเพิ่มขึ้น 14.04% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ปลา กุ้งและปลาหมึกแช่แข็ง มีคำสั่งซื้อจากตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้ผลิตได้ขยายตลาดไปสู่ตลาดการค้าขายปลีกสมัยใหม่และร้านอาหารขนาดใหญ่ รวมถึงเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายในตลาดออนไลน์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานมากขึ้น เป็นต้น

ภาพจาก สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม – OIE และ kasikornresearch

 

Avatar photo