Politics

เปิดแผนซูเปอร์ประชานิยม ‘พลังประชารัฐ’ รับเลือกตั้ง

ยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ 2 01

เปิดยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ  พบมีการกำหนดยุทธศาสตร์ไว้ทั้งหมด 11 ข้อ ซึ่งยุทธศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นการใช้งบประมาณเกือบทั้งสิ้น เป้าหมายส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มรายได้ให้กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล เป็นการเพิ่มเงินเดือนจากปัจจุบันที่ได้รับ

นอกจากนี้ ตามยุทธศาสตร์ของพรรคพลังประชารัฐ  ยังได้กำหนดเพิ่มค่าตอบแทนให้กับผู้นำศาสนาประจำหมู้บ้าน ผู้สูงอายุ เพิ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน  พร้อมเดินหน้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือบัตรคนจน โดยจะเพิ่มทั้งในส่วนของจำนวนคนจน จากปัจจุบัน 11.4 ล้านคน เป็น 15 ล้านคน

พร้อมกันนี้ยังได้เพิ่มวงเงินในบัตรจากเดิม 300 บาท เป็น 600 บาท ที่สำคัญยังได้ลดเงื่อนไขการใช้บัตรคนจน คือนอกจากนำบัตรไปซื้อสินค้าได้แล้วต่อไปสามารถนำไปรูดเป็นเงินสดได้ด้วย

สำหรับนโยบายด้านการช่วยเหลือเกษตรกรในการผลิต โดยมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว มันสำปะหลัง  โดยกำหนดการช่วยเหลือแบบครัวเรือน

ยอมกลุ่ม”สมศักดิ์”ดันโคแก้จนใส่นโยบาย

ขณะเดียวกันยังมีนโยบายการให้การช่วยเหลือในส่วนของกองทุนพัฒนาสตรีหมู่บ้าน กองทุนแก้ปัญหาหนี้สินหมู่บ้าน กองทุนโคแก้จนประชารัฐ สำหรับกองทุนโคแก้จนประชารัฐ นโยบายดังกล่าวเกิดจากการผลักดันของกลุ่มนายสมศักดิ์ เทพสุทิน  เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เดิมชื่อโครงการโคล้านตัว จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นโครงการส่งเสริมเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัว

นโยบายโคแก้จนประชารัฐ เป็นข้อเสนอที่กลุ่มนายสมศักดิ์ ผลักดันเข้ามา เพราะเชื่อว่าน่าจะเป็นโครงการที่สามารถพาไปเสียงและสามารถพูดกับประชาชนให้เข้าใจได้ ที่สำคัญนายสมศักดิ์ อาจจะมองว่าโครงการนี้สามารถจับต้องได้มากกว่าโครงการอื่นๆ

ยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ 3 01

เปิด 11 นโยบายพลังประชารัฐรับเลือกตั้ง

สำหรับยุทธศาสตร์ของพรรคพลังประชารัฐทั้ง 11 ข้อตามกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย

1.ค่าอำนวยการตามนโยบายของรัฐ ระดับจังหวัด  77 จังหวัดๆ ละ 1,000,000 บาท ใช้งบประมาณ 77 ล้านบาท ระดับอำเภอ 928 อำเภอๆ ละ 500,000 บาท รวมงบประมาณ 464 ล้านบาท รวมใช้งบประมาณ 541 ล้านบาท

เพิ่มเงินเดือนกำนัน -ผู้ใหญ่ถ้วนหน้า

2.เพิ่มเงินเดือนกำนัน 7,425 คน จากปัจจุบันเดือนละ 10,000 บาท เป็นเดือนละ 15,000 บาท ต้องใช้งบประมาณเพิ่มอีก 37.125 ล้านบาท

-เพิ่มเงินเดือนผู้ใหญ่บ้าน 74,935 คน จากปัจจุบันเดือนละ8,000 บาท เป็น12,000 บาท ต้องใช้งบประมาณเพิ่ม 299.74 ล้านบาท

-เพิ่มเงินเดือนสารวัตรกำนัน 14,850 คน จากปัจจุบันเดือนละ5,000 บาทเป็น 9,000 บาท ต้องใช้งบประมาณเพิ่ม 59.4 ล้านบาท

-เพิ่มเงินเดือนผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 149,870 คน จากเดือนละ 5,000 บาทเป็น 9,000 บาท ต้องใช้งบประมาณเพิ่ม 599.48 ล้านบาท

-เพิ่มเงินเดือนแพทย์ประจำตำบล 7,425 คน จากเดือนละ5,000 บาทเป็น 9,000 บาท ต้องใช้งบประมาณเพิ่มอีก29.7 ล้านบาท รวมงบประมาณที่ต้องใช้ในส่วนนี้ 1,025.445 ล้านบาท

ผู้สูงอายุรับเงินใหม่หัวละ1,000 บาท

3. เพิ่มเติมค่าตอบแทนผู้นำศาสนาประจำหมู่บ้าน 1,000 บาทต่อเดือน ต้องใช้งบประมาณปีละ 493.27 ล้านบาท โดยเป็นค่าตอบแทนของ มหานิกาย  37,308 วัด ใช้งบประมาณเดือนละ 37.30 ล้านบาท หรือปีละ 447.69 ล้านบาท เพิ่มค่าตอบแทนให้กับธรรมยุตินิกาย 3,798 วัด เดือนละ 3.79 ล้านบาท หรือปีละ  45.57 ล้านบาท

4.เพิ่มเงินผู้สูงอายุจำนวน 8,408,498 คน เดิมใช้งบประมาณ 6,726.79 ล้านบาท เพิ่มเป็นคนละ1,000 บาท งบประมาณที่ต้องใช้ 8,408.49 ล้านบาท ต้องใช้งบประมาณเพิ่ม 20,180.39 ล้านบาท

5.เพิ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน 2,689,997 งบประมาณที่ต้องใช้ 1,344.99 ล้านบาท

ยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ 6 01

รื้อเงื่อนไขบัตรคนจนเพิ่มเงิน-รูดเงินสด

6.บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปัจจุบันมีอยู่ 11.4 ล้านคนจะเพิ่มเป็น 15 ล้านคน พร้อมกันนี้ยังเพิ่มงบต่อหัวจาก 300 บาทเป็น 600 บาท ต้องใช้งบประมาณจาก 3,420 ล้านบาท เป็น 9,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังมีนโยบายที่จะลดเงื่อนไขการใช้บัตรคนจนโดยจำนวน 600 บาท สามารถซื้อสินค้าได้ 300 บาท รูดเงินสดได้อีก 300 บาท

7.เพิ่มค่าตอบแทนอสม.จำนวน 1,040,000 คน จากเดิมคนละ 600 บาท เป็นเงิน 624 ล้านบาท เป็นคนละ 1,000 บาท  ใช้งบประมาณ 1,040 ล้านบาท  ใช้งบเพิ่มอีก 416 ล้านบาท

ยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ 8 01

เพิ่มเงินอุดหนุนเกษตรกร 3สินค้า 

8.นโยบายช่วยเหลือเกษตรกรในการผลิต

1.ข้าวรัฐบาลช่วยชาวนา 5 ไร่/ครอบครัว 2,500 กิโลกรัม  งบประมาณใหม่ 2,500 กิโลกรัม x 5 บาท เท่ากับ 12.500 บาท

2.มันสำปะหลังครอบครัวละ 5 ไร่/ครอบครัว 5,000 กิโลกรัม งบประมาณใหม่25,000กิโลกรัม x 50 สตางค์ เท่ากับ 12,500 บาท

3.อ้อย ครอบครัวละ 5 ไร่/ ครอบครัวละ 5,000 กิโลกรัม งบประมาณ  50 ตัน x 200 บาท เท่ากับ 10,000 บาท

ยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ 10 01

“โคแก้จน” ก็มาแล้วครัวเรือนละ 2 ตัว

9.กองทุนพัฒนาสตรีหมู่บ้าน 74,935 หมู่บ้านๆละ100,000 บาท ต้องใช้งบประมาณ 4,493.5 ล้านบาท

10.กองทุนแก้ปัญหาหนี้สินหมู่บ้าน 74,935 หมู่บ้านๆละ100,000 บาท ต้องใช้งบประมาณ 74,935 ล้านบาท

11.กองทุนโคแก้จนประชารัฐ หมู่บ้านละ 500,000 บาท ครอบครัวละ 2 ตัว/สมทบตัวละ 5,000 บาท ต้องใช้งบประมาณ 37,468 ล้านบาท

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight