Business

สรุปดีล ‘ทีเอ็มบี-ธนชาต’ รวมกันแล้วใหญ่ขนาดไหน 

ปิดจ๊อบเป็นที่เรียบร้อยสำหรับบิ๊กดีลแห่งปีระหว่าง “ธนาคารทหารไทย (TMB)” และ “ธนาคารธนชาต (TBANK)” กับแผนควบรวมกิจการเป็นธนาคารเดียว ซึ่งมีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการแล้วว่า TMB จะใช้เงินทุนราว 1.3 – 1.5 แสนล้านบาท เข้าซื้อหุ้น TBANK ภายในเดือนธันวาคมนี้ และกระบวนการทั้งหมดคาดจะเสร็จสิ้นราวกลางปี 2564 

เนื่องจากนี้เป็นดีลธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน เพื่อสรุปกระบวนการต่างๆ แบบเข้าใจง่ายๆ การปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นครั้งนี้ จะเป็นธนาคารธนชาติที่ต้องเป็นฝ่ายปรับโครงสร้างธุรกิจ เพราะมีขนาดสินทรัพย์มากกว่า 

tmbtbank

ลำดับแรก บมจ. ทุนธนชาต (TCAP) ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน TBANK จะทำการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ ด้วยขายหุ้น TBANK ที่ถืออยู่ 51.01% ให้กับ TMB

ขณะเดียวกัน TMB ต้องเตรียมหาเงินทุนผ่านการออกหุ้นกู้ ออกตราสารหนี้ หรือการเสนอขายหุ้นสามัญ เพื่อนำเงินมาซื้อหุ้น TBANK จาก TCAP จบครบทั้งหมด จากนั้น TCAP ถึงจะนำเงินส่วนที่ได้กลับมาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ TMB เพื่อร่วมเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่นั่นเอง

แปลว่าเมื่อเกิดธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ขึ้นมา เบื้องต้นโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ จะมีหน้าตาเป็นดังนี้ 

  1. ING (ผู้ถือหุ้นเดิมจาก TMB) จำนวน 21.3%
  2. ทุนธนชาต หรือ TCAP (ผู้ถือหุ้นเดิมจาก TBANK) จำนวน 20.4%
  3. กระทรวงการคลัง (ผู้ถือหุ้นเดิมจาก TMB) จำนวน 18.4%
  4. สโกเทียแบงก์ หรือ BNS (ผู้ถือหุ้นเดิมจาก TBANK) จำนวน 5.6%
  5. ผู้ถือหุ้นรายย่อย จำนวน 34.3%

TMB รวมกับ TBANK แล้วจะใหญ่ขนาดใหญ่ 

สิ่งที่หลายคนให้ความสนใจก็คือ หากเกิดการรวมกัน (Synergy) สำเร็จแล้ว จะส่งผลต่ออะไรบ้าง ทั้งในแง่ธุรกิจของธนาคารเองและธนาคารพาณิชย์คู่แข่งอื่นๆ ที่อยู่ในตลาด เพื่อให้เห็นภาพกันแบบชัดๆ เราจึงขอสรุปตัวเลขสำคัญของทั้ง 2 ธนาคารมาฝากไว้เป็นข้อมูลกัน

tmb111                                                                                                      *ข้อมูลจากผลดำเนินงานช่วงครึ่งปีแรก 2562 

เมื่อการควบรวมธนาคารจบลง เราคงจะได้เห็นธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมแบบ Double Size ด้วยขนาดสินทรัพย์แตะระดับ 2 ล้านล้านบาทได้ไม่ยาก ซึ่งจะใหญ่เป็นอันดับ 6 รองจากธนาคารไทยพาณิชย์, กสิกรไทย, กรุงเทพ, กรุงไทย และกรุงศรีอยุธยา 

การรวมกันครั้งนี้ยังสร้างความแข็งแกร่ง ที่มากขึ้นทั้งจำนวนลูกค้าและโอกาสทางการตลาด เนื่องจากธนาคารทหารไทยมีความเชี่ยวชาญในการระดมเงินฝากและแพลตฟอร์มดิจิทัลการเงิน ขณะที่ธนาคารธนชาตก็เองก็มีจุดเด่นในตลาดสินเชื่อ จึงน่าจะทำให้ทั้งคู่สามารถนำจุดแข็งมาเกื้อหนุนธุรกิจกันได้มากทีเดียว 

ส่วนคำถามที่ว่าธนาคารแห่งใหม่จะใช้ชื่อว่าอะไรนั้น ประเด็นนี้คงต้องรอให้คณะกรรมการพิจารณาพิจารณาอีกสักพัก ซึ่งผู้บริการของทั้ง 2 ฝั่ง ก็ออกมายืนยันแล้วว่า ชื่อใหม่จะต้องสะท้อน Brand Values ที่ชัดเจนของทั้ง 2 ธนาคารได้อย่างชัดเจน 

Avatar photo