World News

ทั่วโลกนัดชุมนุมใหญ่ สร้างการตระหนัก ‘ภาวะโลกร้อน’

บรรดานักเคลื่อนไหวเพื่อสภาวะภูมิอากาศโลก ไล่ตั้งแต่กรุงลอนดอน อังกฤษ ไปจนถึงนคร นิวยอร์ก ในสหรัฐ และจากเมืองเพิร์ท ในออสเตรเลีย ไปจนถึงกรุงปารีสของฝรั่งเศส จัดชุมนุมครั้งใหญ่ “โกลบอล ไคลเมท สไตรค์” ในวันนี้ (20 ก.ย.) ซึ่งคาดว่าจะกลายเป็นการชุมนุมเพื่อโลกร้อนครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์

gettyimages

EE4mpO3VUAAHUKw

การชุมนุมที่เริ่มต้นขึ้นใจกลางเมืองเมลเบิร์น ของออสเตรเลีย ได้รับความสนใจมีผู้เข้าร่วมการชุมนุมจำนวนมาก ซึ่งนายอดัม บานท์ ส.ส.พรรคกรีน ของเมืองเมลเบิร์น ทวีตข้อความว่า การชุมนุมที่เกิดขึ้นมีขนาดใหญ่มาก มีคนมาเข้าร่วมมากกว่า 100,000 คน พร้อมติดแฮชแท็ก #climatestrike

“โกลบอล ไคลเมท สไตรค์” เป็นการนัดชุมนุมทั่วโลกครั้งที่ 3 ของการชุมนุมเพื่อสร้างการตระหนักเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และภาวะโลกร้อน โดยมีกลุ่มเด็กนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ เป็นผู้จัดขึ้น โดยมีเด็กนักเรียนหญิงวัย 16 ปี “เกรตา ธุนเบิร์ก” เด็กนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ผู้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก จากการที่เธอไปนั่งประท้วงโลกร้อนด้านหน้ารัฐสภาสวีเดนทุกๆ วันศุกร์ เป็นแกนนำเคลื่อนไหวในเรื่องนี้

000 1JI4ZS
เกรตา ธุนเบิร์ก ใช้เวลา 15 วัน ในการเดินทางมายังนครนิวยอร์ก สหรัฐ ด้วยวิธีการล่องเรือใบ ที่ไม่มีการปล่อยมลพิษ มาจากเมืองพลิมัท อังกฤษ เพื่อลดผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อมจากการเดินทางของเธอ

การชุมนุมที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเฉพาะเด็กนักเรียน หรือคนหนุ่มสาวเข้าร่วมเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มเคลื่อนไหวด้านแรงงาน และมนุษยธรรม องค์กรสิ่งแวดล้อม และพนักงานของบริษัทชั้นนำของโลก รวมถึง อเมซอน ดอท คอม และไมโครซอฟท์ ต่างเข้าร่วมด้วย

ธุนเบิร์ก เด็กนักเรียนหญิงชาวสวีเดน  ซึ่งกำลังอยู่ในนครนิวยอร์ก สหรัฐ เพื่อเข้าร่วมในการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ของสมัชชาสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในวันที่ 23 กันยายนนี้ บอกว่า มีการจัดชุมนุมดังกล่าวขึ้น 4,638 แห่ง ใน 139 ประเทศทั่วโลก

climate

EE38v6eXkAIKAeh

ในการชุมนุมวันนี้ และที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 กันยายน ในบางประเทศนั้น บรรดาผู้ชุมนุมต่างหวังที่จะกดดันนักการเมือง และเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายในแต่ละประเทศ และดินแดน ให้มีการเคลื่อนไหวในด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกด้วย

ขณะที่ “เคที่ เอเดอร์” ผู้ร่วมก่อตั้ง และผู้อำนวยการบริหาร “Future Coalition” หรือ กลุ่มพันธมิตรแห่งอนาคต วัย 19 ปี เขียนบทความให้กับซีเอ็นเอ็น โดยระบุว่า การประท้วงในวันนี้จะเป็นการทำข้อตกลงสีเขียวครั้งใหม่ เพื่อการยุติโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลในดินแดนอธิปไตยต่างๆ โดยทันที เป็นการประท้วงเพื่อความยุติธรรมสำหรับสิ่งแวดล้อม เพื่อการปกป้อง และฟื้นฟูธรรมชาติ และเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน

“เราประท้วงเพื่อตัวของเราเอง เพื่อเพื่อนๆ และครอบครัวของเรา เพื่อเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ข้างบ้านพวกเรา เราประท้วงก็เพราะเป็นเรื่องที่เราต้องทำ”

EE40abVUwAM2ev

EE41JStU4AU1Hc2

ส่วนที่นครนิวยอร์กนั้น ทางการได้เปิดทางให้เด็กนักเรียน 1.1 ล้านคน หยุดเรียนในวันนี้ได้ โดยประกาศว่าจะไม่มีการลงโทษเด็กนักเรียนโรงเรียนรัฐบาล ที่เข้าร่วมในการประท้วง แต่ก็ระบุอย่างชัดเจนไว้ว่า เด็กๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองด้วย

ทางด้านนายบิล เด บลาซิโอ นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก ทวีตข้อความว่า เขาสนับสนุนความเคลื่อนไหวนี้ นครนิวยอร์กจะอยู่เคียงข้างกับคนรุ่นใหม่ของเมือง ที่เขาเรียกว่าเป็น “จิตสำนึก” ของนครนิวยอร์ก

Avatar photo