General

กรมชลฯ ปรับลดระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ‘อุบลฯ’ น้ำลดต่อเนื่อง

กรมชลประทาน  ทยอยปรับลดการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา หลังปริมาณน้ำที่ไหลหลากลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ มีแนวโน้มลดลง ขณะสถานการณ์น้ำท่วมที่อุบลราชธานีเริ่มดีขึ้น  ระดับน้ำลดลงต่อเนื่อง คาดอีก 4-5 วัน ประชาชนกลับบ้านเรือนได้

70405360 3330544903685193 8683247635588448256 n

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน ได้ติดตามสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน(15 ก.ย. ) สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 11,758 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 47% ของความจุอ่างฯ รวมกันทั้งหมด
มีปริมาณน้ำใช้การได้ 5,062 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 28 สามารถรองรับปริมาณน้ำได้รวมกันอีกกว่า 13,000 ล้าน ลบ.ม.

ด้านสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในวันนี้(15 ก.ย. 62)ปริมาณน้ำทางตอนบนที่สถานี C.2 อำเภอเมืองนครสวรรค์ มีน้ำไหลผ่าน 1,198 ลบ.ม. ต่อวินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 5 เมตร มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่น้อยลง

70459531 3330544907018526 5033055252564148224 n

ปริมาณน้ำไหลต่อมายังเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งได้มีการปรับลดการระบายน้ำในช่วงเช้าที่ผ่านมาเหลือ 750 ลบ.ม.ต่อวินาที จากเดิม 800 ลบ.ม.ต่อวินาที ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างลดลง ซึ่งการปรับลดการระบายน้ำนั้นจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำน้อย บริเวณบ้านบางหลวงโดดและบ้านบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลดลงประมาณ 10 เซนติเมตร ในช่วงเวลาเที่ยงวันของวันพรุ่งนี้(16 ก.ย.)  ปัจจุบันระดับน้ำบริเวณดังกล่าวยังคงต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 2 เมตร

70420813 3324800974259586 1537806103960616960 o

นายทวีศักดิ์ เปิดเผยด้วยว่า  สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดอุบลราชธานีนั้น ลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้มีการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มที่ อำเภอโขงเจียม อีก 100 เครื่อง จากเดิม 100 เครื่อง และที่บริเวณแก่งสะพือ อำเภอพิบูลมังสาหาร 60 เครื่อง รวม 260 เครื่อง ทำให้ปริมาณน้ำลดลงเฉลี่ยชั่วโมงละ 1 เซนติเมตร

70879188 3325504380855912 1207146042244464640 n

ช่วงเช้าวันนี้ที่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี สถานีวัดน้ำ M7 ระดับน้ำอยู่ที่ 10.86 เมตร จากเดิมระดับสูงสุด 10.97 เมตร ลดเกือบ 11 เซนติเมตร ซึ่งการเพิ่มเครื่องผลักดันน้ำส่งผลการระบายน้ำได้มากขึ้น 30% เป็นวันละ 500 ล้านลบ.ม. คาดว่าภายใน 4-5 วัน ประชาชนสามารถกลับเข้าบ้านเรือนได้ และสิ้นเดือนกันยายนนี้ ปริมาณน้ำจะเข้าสู่ระดับตลิ่ง รวมทั้งน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่การเกษตร จะดำเนินการสูบออก พร้อมกับหารือกับท้องถิ่น และเกษตรกร ว่าพื้นที่ใดจะกักเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงฤดูแล้ง เช่น ลำห้วย แก้มลิง

70723250 3328048837268133 2585963374714028032 n

รองอธิบดีกรมชลฯ กล่าวด้วยว่า สาเหตุที่น้ำท่วมภาคอีสานลดระดับลงได้เร็วตามที่คาดการณ์ จากการจัดการปริมาณน้ำ ลุ่มน้ำชีลดระบายเขื่อนวังยาง และลำน้ำมูล ลดระบายเขื่อนราษีไศล ที่สำคัญคือลดอัตราการระบายเขื่อนใหญ่ๆ เช่น เขื่อนลำปาว เขื่อนอุบลรัตน์ และหยุดการระบายเขื่อนขนาดกลางใน สาขาลำน้ำชี เพราะฝนลดลง ต้องเก็บน้ำไว้ ที่สำคัญที่สุดการเร่งอัตราการระบายน้ำ ปลายน้ำ อำเภอโขงเจียม กับ อำเภอพิบูลมังสาหาร ตรงนี้ทำให้อัตราการลดระดับน้ำทำได้ดีมาก

69746666 3325506000855750 4600112490313940992 n

“ถ้าไม่มีอิทธิพลฝนตกเพิ่มเข้ามา จะเข้าสู่ภาวะปกติสิ้นเดือนกันยายนนี้ ปริมาณน้ำค้างทุ่งเหลือเพียง1 พันกว่าล้าน ลบ.ม. ที่จะไหลลงไปที่ราบลุ่มแอ่งกะทะของ อุบลราชธานี ก่อนไหลออกแม่โขง คือ อำเภอวารินชำราบ และเคลื่อนตัวไป พิบูลมังสารหาร สว่างวีระวงศ์ และโขงเจียม ในระหว่าง 2 สัปดาห์ พื้นที่เหล่านี้น้ำท่วมจะลดลงไปเรื่อยๆ มวลน้ำอยู่ก้อนท้ายสุด ไม่เกินสิ้นเดือน เพราะลักษณะกายภาพของแม่น้ำมูล ไหลออกสู่แม่โขง ที่จุดเดียว คือ ที่โขงเจียม” นายทวีศักดิ์ กล่าว

Avatar photo