COLUMNISTS

การทำงานร่วมกัน หรือ การประสานพลังกัน

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด
6626

ภาษาอังกฤษคำว่า Synergy นี้พจนานุกรมแปล อังกฤษ-ไทย NECTEC’s Lexitron Dictionary ให้ความหมายว่า “การทำงานร่วมกัน การประสานกำลังกัน หรือ การเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน” เรื่องนี้ปัจจุบันเราควรให้ความสำคัญให้มาก เพราะอาศัยพลังหรือจุดแข็งของเราคนเดียวคงไม่สามารถทำอะไรได้สำเร็จทุกอย่างโดยเฉพาะเรื่องที่ต้องแข่งขัน เรื่องเชิง Strategy ต่างๆ ในแวดวงจริงๆ นั้น

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ Ansoff (1965) ได้พูดแนวคิดของ Synergy กับการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ โดยให้ความหมายไว้ว่า Synergy เป็นการที่ผลที่ได้จากการร่วมกันนั้นเกิดส่วนที่เพิ่มพูลขึ้นมากกว่าการรวมกันธรรมดา (The effect that the combined return of a whole is greater than the sum of the returns from the individual parts) หรือสามารถเขียนเป็นคำอธิบายในลักษณะของสมการง่ายๆ ว่า 1+1 = 3 หรือ 2+2= 5 เป็นต้น

จึงเห็นได้ว่าการมี Synergy นั้นทำให้เกิดความได้เปรียบขึ้น อย่างไรก็ตาม Synergy นั้นมีต้นทุน ค่าใช้จ่ายเช่นกัน ดังนั้นจากศักยภาพของประโยชน์ที่อาจได้รับทั้งหมดของการ Synergy ก็จะต้องถูกหักไปด้วยต้นทุน ค่าใช้จ่าย ของการที่มา Synergy กันด้วย ผลที่ได้จึงน้อยกว่าศักยภาพที่ควรจะได้เต็มๆ ดังแสดงให้เห็นในแผนภาพด้านล่าง (Knoll 2008)

323ซึ่งต้นทุน ค่าใช้จ่าย ของการ Synergy นี้มีทั้งต้นทุน ค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อม ประกอบด้วย ต้นทุน ค่าใช้จ่ายของการประสานร่วมมือกัน (Coordination Costs) ต้นทุน ค่าใช้จ่ายของการควบคุมดูแลในการดำเนินการ (Control Costs) ต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่คู่ความร่วมมืออาจได้รับประโยชน์ที่ไม่เท่าเทียมระหว่างกัน (Costs of Compromise) และ ต้นทุน ค่าใช้จ่าย ของการที่ขาดความยืดหยุ่น เนื่องจากทรัพยากรของกิจการหรือองค์การที่ Synergy กันนั้น ส่วนหนึ่งจะถูกใช้ไปในการ Synergy ทำให้ขาดความเป็นอิสระจึงอาจเกิดผลข้างเคียงตามมาคือการขาดความยืดหยุ่นได้ (Costs of Inflexibility)

เจ้าตัว Synergy นี้เราสามารถเห็นได้ในอีกมุมมองหนึ่งของกิจการ คือ การควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition, M&A) ในมุมมองของการเป็นพันธมิตรระหว่างกัน (Alliance) หรือ ในมุมมองของกิจการของกลุ่มธุรกิจ (Multi-Business Firm) ก็ได้ จะเห็นได้ว่าสำหรับการใช้ทรัพยากรและความร่วมมือระหว่างกันของภาครัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจนั้น มุมมองของการเป็นพันธมิตรระหว่างกัน (Alliance) และ มุมมองของกิจการของกลุ่มธุรกิจ (Multi-Business Firm) จะเป็นมุมมองที่ใกล้เคียงและเกี่ยวข้องได้มากกว่า การควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition) และ การเป็นพันธมิตรระหว่างกัน (Alliance) นั้นในปัจจุบันเราเห็นกันมากขึ้นและแนวโน้มก็น่าจะยังคงมีมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม อยากจะเน้นว่าเราไม่ควรจะลืมหรือมองข้ามการ Synergy อีกรูปแบบที่เหลือ คือในลักษณะของกิจการของกลุ่มธุรกิจ (Multi-Business Firm) ซึ่งเป็นการ Synergy ภายในกลุ่มของเรานั่นเอง