Economics

ใกล้ส่งอัตราค่าโดยสารให้ ‘ศักดิ์สยาม’ ตัดสิน คาดสิ้นปีนี้ได้ใช้ ‘รถไฟฟ้า’ ราคาถูก

“กรมราง” แจกการบ้าน “4 หน่วยงานรถไฟฟ้า” ไปสรุปแนวทางลดค่าโดยสารภายใน 2 สัปดาห์ ก่อนชงเรื่องให้ “ศักดิ์สยาม” ตัดสินปลายเดือนนี้ คาดเริ่มใช้ราคาใหม่ได้เร็วสุดสิ้นปี 62

MOT 2562 6 17 ปกค.ประชุมโอนทรัพย์สิน ขร. By Pramote 82

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารการขนส่งทางราง ครั้งที่ 1/2552 เพื่อพิจารณาแนวทางการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 4 สาย วันนี้ (6 ก.ย.) ว่า วันนี้ทุกหน่วยงานรับทราบหลักการการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า และจะนำกลับเรื่องไปหารือเป็นการภายใน เพราะบางหน่วยงาน เช่น บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะต้องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณาด้วย

จากนั้นทุกหน่วยงานต้องนำเรื่องกลับเสนอที่ประชุมคณะกรรมการฯ อีกครั้งภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อสรุปอัตราค่าโดยสารที่เป็นไปได้ แนวทางดำเนินการ ระยะเวลาที่จะเริ่มใช้ค่าโดยสารอัตราใหม่ และวงเงินที่ต้องชดเชยให้ผู้บริหารรถไฟฟ้า

“แนวทางการปรับลดค่าโดยสารแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ 1. การจัดทำตั๋วเดือนที่มีส่วนลดให้ผู้โดยสาร เช่น รถไฟฟ้า BTS ปกติจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 29 บาทต่อเที่ยว แต่เมื่อเป็นตั๋วเดือนก็มีค่าโดยสารลดลงเหลือ 26 บาทต่อเที่ยว ซึ่งตอนนี้มีแต่ BTS เท่านั้นที่มีตั๋วเดือน และ 2. การปรับลดเพดานค่าโดยสารในช่วงที่มีคนน้อย (Off Peak) เช่น รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ซึ่งปกติมีอัตราค่าโดยสาร 15-45 บาทต่อเที่ยว แต่ในช่วง Off Peak ก็จะเปลี่ยนอัตราเริ่มต้นเป็น 20 บาทต่อเที่ยว ส่วนเพดานอาจจะอยู่ที่ 25-30 บาทต่อเที่ยว โดยเชื่อว่าทั้ง 2 มาตรการจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้โดยสารให้ระบบรถไฟฟ้าได้ 10%” นายสราวุธกล่าว

S 85680146

ลดราคาได้ปลายปี 62

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ตั้งเป้าว่าจะสเนอตัวเลขและแนวทางที่เป็นไปได้ให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาในสิ้นเดือนนี้ โดยหากมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น ก็ต้องเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาด้วย จากนั้นจะต้องใช้เวลาลงทุนระบบประมาณ 2 เดือน จึงคาดว่าจะเริ่มปรับลดอัตราค่าโดยสารได้ในเดือนธันวาคม 2562 เป็นต้นไป

ส่วนวงเงินที่ภาครัฐจะต้องอุดหนุนให้ผู้ประกอบการรถไฟฟ้า เนื่องจากการปรับลดอัตราค่าโดยสารในครั้งนี้นั้น นายสราวุธกล่าวว่า ขณะนี้ยังเปิดเผยรายละเอียดไม่ได้ แต่คงไม่ถึง 1,000 ล้านบาทต่อปี

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาข้อมูลแล้วพบว่า ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีอัตราการใช้รถไฟฟ้าเพียง 40,000 เที่ยวต่อวัน เพราะวงเงินการเดินทางในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีเพียง 500 บาทต่อเดือน ซึ่งใช้เดินทางทั้งในระบบรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) และรถไฟฟ้า ที่ประชุมจึงขอให้กระทรวงการคลังไปพิจารณามาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้รถไฟฟ้ามากขึ้นด้วย

รถไฟฟ้า ความปลอดภัย 236

“แอร์พอร์ตลิงก์-MRT” เพิ่มตั๋วเดือน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับแนวทางการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 4 ทั้งสาย เบื้องต้นมีรายละเอียดดังนี้

1.รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ปัจจุบันเก็บค่าโดยสารอยู่ที่ 15 – 45 บาทต่อเที่ยวและมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ย 31 บาทต่อเที่ยว หากเปลี่ยนมาเป็นตั๋วรายเดือน ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 25 บาทต่อเที่ยว ส่วนราคาช่วง Off Peak จะเริ่มต้นที่ 15 บาทต่อเที่ยวและสูงสุด 25-30 บาทต่อเที่ยว

2.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)  ปัจจุบันมีค่าโดยสารอยู่ที่ 14 – 42 บาทต่อเที่ยวและมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ย 21 บาทต่อเที่ยว หากจัดทำเป็นตั๋วรายเดือน ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 15 – 20 บาทต่อเที่ยว ส่วนราคาช่วง Off Peak อยู่ที่ 14 – 25 บาทต่อเที่ยว

3.รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-บางหว้า ของ รฟม. ปัจจุบันมีค่าโดยสารอยู่ที่ 16 – 42 บาทต่อเที่ยวและมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ย 25 บาทต่อเที่ยว หากจัดทำเป็นตั๋วรายเดือน ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 20 – 25 บาทต่อเที่ยวและราคาช่วง Off Peak อยู่ที่ 16 – 30 บาทต่อเที่ยว

4. รถไฟฟ้า BTS ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ปัจจุบันมีค่าโดยสารอยู่ที่ 16 – 44 บาทต่อเที่ยวและมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ย 29 บาทต่อเที่ยว ปัจจุบันรถไฟฟ้า BTS มีการจัดทำตั๋วรายเดือน ซึ่งค่าโดยสารจะอยู่ที่ประมาณ 26 บาทต่อเที่ยว หรือต่ำกว่าอัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 3 บาทต่อเที่ยว

S 85680155

นอกจากนี้ คณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารการขนส่งทางรางจะมีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาเพิ่มวงเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยหรือลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยให้ซื้อบัตรโดยสารรายเดือนที่มี 300 บาท หรือ 20 เที่ยวการเดินทาง รวมถึงดำเนินมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โดยให้นำใบกำกับภาษีจากการซื้อบัตรโดยสาร เช่น ตั๋วเดือน ตั๋วเที่ยว บัตรเติมเงิน มาใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

Avatar photo