World News

‘ดาว’ จับมือ ‘ฟิวนิกซ์’ ผลิตเม็ดพลาสติกบริสุทธ์ จากขยะพลาสติก

“ดาว” เลือก “ฟิวนิกซ์ เอโคจี กรุ๊ป” จัดส่งวัตถุดิบประเภทน้ำมันไพโรไลซิส จากขยะพลาสติกรีไซเคิล ให้กับโรงงานผลิตของบริษัทในเมืองแทร์นอยเซน เนเธอร์แลนด์ เพื่อใช้ผลิตโพลิเมอร์ใหม่

0518 dow logo down

 

ข้อตกลงดังกล่าวถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการรีไซเคิลพลาสติกกลับเป็นวัตถุดิบใหม่มากขึ้น โดยนำเอาขยะพลาสติกหลากประเภทมาผ่านกระบวนการเพื่อให้กลับไปเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกใหม่  โดยผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกที่ผลิตจากน้ำมันไพโรไลซิส  จะเหมือนกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบดั้งเดิมทุกประการ จึงสามารถนำไปใช้งานแบบเดียวกันได้ รวมถึงนำไปใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารได้อย่างปลอดภัย

การเคลื่อนไหวข้างต้น ยังเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ดาว ในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติก โดยเน้นที่การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนการนำวัสดุรีไซเคิล  และวัตถุดิบหมุนเวียน กลับเข้าสู่ระบบการผลิตอีกครั้ง อันเป็นกระบวนการที่จะช่วยให้พลาสติกใช้แล้วมีคุณค่า และอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

188381

นอกจากนั้น ข้อตกลงที่จัดทำขึ้นล่าสุดนี้ยังสนับสนุนพันธกิจของดาวที่มุ่งนำพลาสติกรีไซเคิลอย่างน้อย 1 แสนตัน มาใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สำหรับจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าในสหภาพยุโรป (อียู) ภายในปี 2568

ดิเอโก โดโนโซ ประธานฝ่ายธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษของดาว  แสดงความเชื่อมั่นว่า พลาสติกมีคุณค่ามากเกินกว่าจะถูกทิ้งเป็นขยะ และควรเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

ดาวสนับสนุนการพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลสำหรับโรงเรียน ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรในอเมริกาใต้ อีกทั้งยังได้สร้างถนนที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เม็กซิโก และสหรัฐ ซึ่งการเป็นพันธมิตรกับฟิวนิกซ์ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะผลักดันให้บริษัทเข้าใกล้เป้าหมายในอนาคต ที่คาดหวังไว้ นั่นก็คือการผลิตเม็ดพลาสติกหมุนเวียนได้อย่างยั่งยืน

Smile 01 05 1517937 e1436360628203
เซิร์ต เมลเลมา

ทางด้าน เซิร์ต เมลเลมา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฟิวนิกซ์ แสดงความเชื่อมั่นว่า การจับมือเป็นพันธมิตรครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทได้ต่อยอดเทคโนโลยีที่มีอยู่ ให้แข็งแกร่งขึ้น โดยเป้าหมายของบริษัท คือการสร้างมูลค่าให้ขยะพลาสติกด้วยการนำไปใช้ผลิตพลาสติกชนิดหมุนเวียนใหม่ ๆ ควบคู่ไปกับการลดการใช้วัตถุดิบแบบดั้งเดิมและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก

Avatar photo