Technology

‘โตชิบา’ พัฒนา ‘หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า’ ตัวช่วยอัจฉริยะตอบโจทย์โลจิสติกส์

อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่มีการขยายตัวก้าวกระโดดไปทั่วโลก อันเป็นผลมาจากการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงห่วงโซ่อุปทานที่คาดว่าจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ฉลาดขึ้น และยั่งยืนมากขึ้นในการรองรับการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกระแสเงินทุนและข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อตอบโจทย์การขยายตัวที่เกิดขึ้น ทำให้บริษัทและองค์กรทั้งหลายต้องมองหาหนทางรับมือกับความท้าทายด้านโลจิสติกส์และการขนส่งให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โตชิบาได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยรับมือกับปัญหาต่างๆ ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยเฉพาะการปฏิบัติงานในคลังสินค้า เช่น การขนถ่ายสินค้า การยกของและการโหลดสินค้า ด้วยการใช้ประโยชน์จากระบบเซนเซอร์ขั้นสูงสำหรับการรับรู้ภาพ (Image Recognition) แบบจำลองเสมือนจริงสำหรับจำลองสภาวการณ์ที่มีเงื่อนไขซับซ้อน และฟังก์ชันหุ่นยนต์เคลื่อนย้ายของอัตโนมัติ เครือข่ายการบริการของโตชิบาจึงเป็นโซลูชันที่ช่วยลดขั้นตอนที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก และส่งผลให้การทำงานของระบบโลจิสติกส์รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

Toshiba De Palletizer Robot LogisticsSolutionsTechnology 00

หนึ่งในเทคโนโลยีที่โตชิบาพัฒนาขึ้นก็คือ De-Palletizer Robot หรือ หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยจัดการคลังสินค้าตามไซต์งานโลจิสติกส์ ที่ส่วนใหญ่ไซต์งานเหล่านี้ในประเทศญี่ปุ่น มักตั้งอยู่ใกล้กับทางแยกต่างระดับเพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้า ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ไม่ค่อยมีระบบขนส่งสาธารณะเข้าถึงจึงทำให้เกิดปัญหาด้านกำลังคน

นอกจากนี้ ยังเป็นงานที่ใช้แรงงานหนัก เนื่องจากสินค้าที่เดินทางมาถึงไซต์งานจากบรรดาโรงงานและคลังสินค้ามักจะมีน้ำหนักมาก การคัดแยกสินค้าและจัดเรียงตามจุดหมายปลายทางจึงเป็นงานที่ต้องใช้แรงงานมาก

นายฮิเดโตะ ยูอิ หัวหน้าหน่วยธุรกิจหุ่นยนต์และโซลูชั่นโลจิสติกส์ แผนกระบบอัตโนมัติและความปลอดภัย บริษัท โตชิบา อินฟราสตรักเจอร์ ซิสเต็มส์ แอนด์ โซลูชั่น กล่าวว่า จากความท้าทายทั้งหมดที่กล่าวมานี้ โตชิบาจึงได้ริเริ่มพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยขนถ่ายสินค้าตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยหุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้าของโตชิบาสามารถจัดการสินค้าน้ำหนักสูงสุดถึง 30 กิโลกรัมได้อย่างไร้ข้อบกพร่อง ตัวหุ่นยนต์มีขนาดเล็กกะทัดรัด กว้าง 2.2 เมตร ยาว 3.4 เมตร และสูงเพียง 2.7 เมตร จึงสามารถนำไปติดตั้งกับอุปกรณ์อื่นได้อย่างง่ายดาย

Toshiba De Palletizer Robot LogisticsSolutionsTechnology 02
ฮิเดโตะ ยูอิ

หนึ่งในคุณสมบัติที่เยี่ยมยอดที่สุดของหุ่นยนต์ตัวนี้ก็คือ มันไม่จำเป็นต้องได้รับการสอน ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) และการเรียนรู้ของเครื่องยนต์ (แมชชีน เลิร์นนิ่ง) หุ่นยนต์จึงสามารถจัดการพัสดุหลากหลายขนาดได้อย่างง่ายดาย เพราะมันสามารถเรียนรู้สภาพกล่องสินค้าและตัดสินใจดำเนินงานได้เองโดยอัตโนมัติ  สามารถขนถ่ายสินค้าได้มากกว่า 8 กล่องต่อนาที และในทางทฤษฎีก็สามารถทำงานต่อเนื่องได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ขณะเดียวกัน หุ่นยนต์ยังสามารถตรวจจับและวัดระยะห่างระหว่างกล่องแต่ละกล่อง สามารถระบุได้ว่าด้านบนของกล่องวางติดกันในรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร และยังสามารถรับรู้ได้อย่างอัตโนมัติว่ากล่องวางซ้อนกันแบบไหน แม้ว่ากล่องสินค้าเหล่านั้นจะไม่ได้วางเรียงตามรูปแบบใดชัดเจน หรือแม้ว่ากล่องแต่ละชั้นจะถูกจัดเรียงในแพทเทิร์นที่ต่างกันก็ตาม

อีกหนึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่นของหุ่นยนต์ตัวนี้คือวิธีที่มันขนย้ายกล่องมาวางบนสายพาน โดยตัวหุ่นยนต์จะมีฟังก์ชันมือจับสองด้าน (กลไกมุมฉาก) อันประกอบด้วยมือจับ และตัวดูด ซึ่งจะทำหน้าที่ดูดติดด้านบนและด้านข้างของกล่อง ฝั่งที่ใกล้ตัวหุ่นยนต์ขณะที่มันทำการเคลื่อนย้ายสิ่งของ ด้วยการกระจายน้ำหนักทั้งด้านบนและด้านข้าง หุ่นยนต์จึงสามารถเคลื่อนย้ายได้ แม้กระทั่งกล่องที่ทำจากวัสดุเปราะบาง เช่น กล่องที่มีช่องปรุด้านบน ได้อย่างมั่นคงและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ

Toshiba De Palletizer Robot LogisticsSolutionsTechnology 03

หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า หรือ De-Palletizer Robot จากโตชิบาเริ่มถูกนำมาใช้งานตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561 ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมาก โดยมีรายงานว่าการใช้ระบบอัตโนมัติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้จริง และในอนาคตข้างหน้า โตชิบามีแผนการที่จะรวมเอาเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) และเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์ให้ดียิ่งขึ้น

ความนิยมที่เพิ่มสูงขึ้นของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ทำให้อุปสงค์ของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เพิ่มขึ้นตามมา ซึ่งแม้จะเป็นเทรนด์ที่สร้างความสะดวกสบาย แต่ก็ทำให้เห็นได้ชัดถึงความจำเป็นของบรรดาไซต์งานโลจิสติกส์ ในการหาโซลูชันเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้าจากโตชิบา จึงเป็นตัวช่วยที่สามารถเข้ามาตอบโจทย์ความท้าทายนี้ได้โดยตรง

Avatar photo