COLUMNISTS

หมดห่วง! คอเลสเตอรอลสูงจัดการได้

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ
2622

เบอร์เกอร์1

คงต้องขอยอมรับว่า เทรนด์การดูแลสุขภาพกำลังฮิตติดอันดับสังคมไทยกันมากขึ้น ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวคือ อาหารเพื่อสุขภาพ อุปกรณ์ลดอุบัติเหตุเพื่อสุขภาพ (สำหรับผู้สูงวัย) หรือแม้กระทั่ง ฟิตเนสดัง ๆ ในบ้านเราตอนนี้ ก็จัดโปรเอาใจคนรักสุขภาพ แบบว่าเลือกวัน เวลา ที่ตัวเองสะดวกไปออกกำลังกาย แถมจัดเทรนเนอร์ให้เฉพาะบุคคลในราคาพิเศษอีกด้วย แต่บางครั้ง สิ่งที่ใกล้ตัวเรา จนเราบางทีก็เผลอลืมไป นั่นคือ การเช็คสุขภาพประจำปี หลายครั้งที่ดิฉัน เจอะเจอคนใกล้ตัว หรือรุ่นพี่ที่รู้จักกัน ส่วนใหญ่ก็จะคุยเกี่ยวกับสุขภาพ จนบ่อยครั้งมันคล้ายๆ กับคำถามว่า “ทานข้าวยัง ?” แต่เป็น “คอเลสเตอรอลพี่เท่าไหร่” หรือ “เวลาว่างพี่ชอบออกกีฬาประเภทไหน ?” หลายครั้ง คนที่ถูกถาม คิดนานนิดนึง ก่อนตอบว่า “จำไม่ค่อยได้ ครั้งสุดท้ายตรวจเลือดวัดคอเลสเตอรอล ได้เท่าไหร่ รู้แต่ว่า สูง แต่จำไม่ได้แล้วค่ะ” โห้..ดิฉันเอง ก็คิดในใจนะคะว่า จริง ๆ เรื่องสุขภาพตัวเราเองหน่ะ สำคัญที่สุด…

มีรายงานจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า คนไทยไขมันในเลือดสูงมีมากถึง 26 ล้านคน! ผู้ชายพบ 41% และ ผู้หญิงพบ 47% (โห้..ไม่ธรรมดาเลยนะคะ) อย่างที่จั่วหัวข้อด้านบนคอเลสเตอรอลสูงจัดการได้ เพียงแค่เราต้องเลือกทานไขมันให้ถูกวิธี เพราะเอาเข้าจริง ๆ ถ้าจะต้องเลิกทานอาหารทุกชนิดที่มีไขมัน นั่นเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องนัก ทีนี้ เรามาทำความเข้าใจกัน เรามาดูกันค่ะ …..

ง่าย ๆ เลยค่ะ ก่อนอื่นถามตัวเราเอง ตรวจสุขภาพครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ถ้าตอบว่า ไม่เคยเลย หรือ เคยแต่นานแล้ว มากกว่า 1 ปี ดิฉันขอแนะนำให้รีบจัดเวลาไปตรวจคอเลสเตอรอลในร่างของเราดู และแน่นอน บ้างตอบว่า “ตรวจแล้ว คอเลสเตอรอลสูงเชียว แต่เพราะผมไม่ค่อยระวังในการทานอาหาร และระวังยากพี่ เอนเตอร์เทนแยะ และอาหารที่หมอให้ลด ก็เป็นของชอบทั้งนั้น” ถือเป็นคำตอบยอดฮิตที่ได้ฟังกันบ่อย และอีกอย่าง เอาเข้าจริง ๆ เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า นอกจากระดับคอเลสเตอรอลแล้ว สิ่งที่เราต้องใส่ใจ คือ ระดับของไขมันดี และ ไขมันเลว ในเลือด ต่างหากค่ะ

2A3A6281 FBEA 40C7 9F5B 9AD23AAE80C8

ไขมัน มีกี่ชนิด

เราแบ่งประเภทไขมันในร่างกาย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

• ไขมันดี HDL ย่อมาจากคำว่า High Density Lipoprotein คือ ไขมันที่มีความหนาแน่นสูง เป็นไขมันที่ดีสำหรับหลอดเลือดแดง เพราะมันจะช่วยป้องกัน ไม่ให้ไขมันไม่ดี คือ คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไปพอกสะสมในหลอดเลือดแดง ถ้าเรามี HDL ต่ำ ก็จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว เช่น โรคหลอดเลือดสมอง และ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ไขมัน HDL ได้ไขมันที่มี Polyunsaturated fats มีมากในน้ำมันทานตะวัน ข้าวโพด ถั่วเหลือง และพวกปลาทะเลน้ำลึก ที่นอกจากจะมีไขมันดี HDL แล้วยังมี โอเมก้า 3 ช่วยบำรุงหัวใจอีกด้วย

• ไขมันไม่ดี LDL ย่อมาจาก Low Density Lipoprotein คือ ไขมันที่มีความหนาแน่นต่ำ และแน่นอน เป็นไขมันที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว และไขมันไม่ดี ก็ยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1) ไขมันอิ่มตัว Saturated fats เป็นไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น ไขมันจากเนื้อสัตว์ หนังสัตว์ อาหารทะเลบางประเภท เช่น (กุ้ง ปลาหมึก) นม เนย และที่ได้จากพืช ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว กะทิ อาหารเหล่านี้ จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลสูง

2) ไขมันทรานส์ Trans fatty acid ถือเป็นไขมันที่ได้จาก น้ำมันพืช น้ำมันที่ใช้ทอดอาหาร อาหารฟาสฟู้ด และแน่นอน ไขมันชนิดนี้ จะทำให้คอเลสเตอรอลสูงกว่าไขมันอิ่มตัว (Saturated fats)

อ่านมาถึงตรงนี้ สามารถเข้าใจได้ว่า ถ้าเรามีปัญหาคอเลสเตอรอลสูง การแก้ไขคือ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และอาหาร Trans fat ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงจากโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้น เพียงเท่านี้ เราก็สามารถเลือกทานอาหารง่ายขึ้น และดีต่อสุขภาพอีกด้วย เพราะช่วงนี้ โรคแปลก ๆ เกิดขึ้นเยอะค่ะ ตามที่เราเห็นจากสื่อต่าง ๆ และแท้จริงแล้ว คอเลสเตอรอลสูง เกิดจาก You Are What You Eat นั่นเอง ช่วงนี้ อากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตกกันเกือบทุกเย็น รักษาสุขภาพกันทุกท่านนะคะ ฉบับหน้า หัวข้อน่าสนใจ ถือเป็นคำถามที่คุณผู้อ่านถามกันมาเยอะ เจอกันฉบับหน้า โชคดีวันฝนตกนะคะ

(credit : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข)
#KINN_Biopharma
www.kinn.co.th