Travel

‘แหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเลไทย’ ภารกิจสุดท้าย ‘เรือหลวง’

ปัญหาที่เกิดขึ้นใต้ท้องทะเลอาจดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน การฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศน์ทางทะเลอย่างยั่งยืนนั้นยิ่งดูเป็นไปได้ยาก

advertorial เรือหลวง5

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ดูจะใหญ่เกินกำลังนี้ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าทำได้จริง “โครงการแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทยใต้ทะเล” เกิดขึ้นท่ามกลางความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ซึ่งนอกจากจะประสบความสำเร็จ คืนความสมบูรณ์กลับสู่ท้องทะเลได้อย่างยั่งยืนแล้ว ยังส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน และอนุรักษ์ธรรมชาติไปพร้อมกันได้อีกด้วย

ย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2553  น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงเกิน 30.5 องศาเซลเซียสติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ “ปะการังฟอกขาว” (coral bleaching) ขึ้นมา

23331469 2087529008200201 2438546910850595666 o

เมื่อน้ำทะเลร้อน ปะการังตาย ผลกระทบจึงส่งต่อเป็นลูกโซ่แก่ชีวิตอื่น ๆ เพราะแนวปะการังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน และแหล่งหลบภัยของสัตว์ทะเล ซึ่งเกี่ยวพันอย่างยิ่งกับความอุดมสมบูรณ์และระบบนิเวศของธรรมชาติใต้ท้องทะเล มาจนถึงมนุษย์  ที่ต้องพึ่งพาทะเลทั้งการประมงและการท่องเที่ยว เป็นอาหาร อาชีพ และรายได้ของคนจำนวนมาก

23215528 2087529078200194 6185562005778658551 o

หนึ่งในแนวคิดที่นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ประชุมร่วมกันที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในปีนั้น คือ “การสร้างแหล่งดำน้ำโดยมนุษย์” (man-made dive site) เพราะจากการศึกษาพบว่า หากแนวปะการังบริเวณใดได้รับความนิยมในการดำน้ำมาก ผลกระทบต่อปะการังย่อมสูงตามไปด้วย ส่วนการปิดจุดดำน้ำหรือประกาศห้ามการท่องเที่ยวตามแนวปะการังก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของคนในท้องถิ่น และธุรกิจท่องเที่ยวด้วย

ดังนั้น การสร้างจุดดำน้ำแห่งใหม่ให้กับนักท่องเที่ยว เพื่อลดความหนาแน่นของนักท่องเที่ยว จะช่วยให้แหล่งดำน้ำอื่นๆ มีโอกาสฟื้นตัว

23215555 2087529101533525 8331245024282442607 o

ปตท.สผ. ในฐานะองค์กรหนึ่งที่เป็นผู้ดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย ซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สนับสนุนให้เกิดการนำเรือหลวงมาใช้ เพื่อทำแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเล บริเวณจังหวัดชุมพร และสุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทยใต้ทะเล โดยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กองทัพเรือ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตัวแทนผู้ประกอบการและชุมชนในพื้นที่ และภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

advertorial เรือหลวง2

กองทัพเรือได้สนับสนุนเรือหลวง 2 ลำ คือ “เรือหลวงปราบ” และ “เรือหลวงสัตกูด” ด้วยเกียรติภูมิ และขนาดของเรือเหมาะสมสำหรับการสร้างเป็นแหล่งดำน้ำ ซึ่งกติกาสำคัญของการเลือกพื้นที่วางเรือ คือต้องช่วยลดผลกระทบที่เกิดกับแนวปะการังได้จริง อยู่ในตำแหน่งที่นักดำน้ำสามารถเดินทางมาได้สะดวก ไม่ไกลจากแนวปะการังธรรมชาติ ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวเดิมมากนัก สภาพกระแสน้ำ ความขุ่น ลักษณะพื้นท้องทะเล และจำนวนชนิดของสัตว์น้ำต่างๆ  จนมาลงเอยที่ “เกาะเต่า” และ “เกาะง่ามน้อย” ที่ได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่วางเรือหลวงทั้ง 2 ลำ

การวางเรือที่เกาะเต่า ได้เลือกตำแหน่งบริเวณใกล้กองหินขาว จุดดำน้ำสำคัญทางทิศตะวันตกของเกาะ และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์เกาะติดจำนวนมาก เช่น ปะการัง เห็ดทะเล ดอกไม้ทะเล กัลปังหา ปะการังดำ ฟองน้ำ ฯลฯ

advertorial เรือหลวง1

ส่วนเกาะง่ามน้อย เป็นเกาะสัมปทานนกนางแอ่นมีผาหินปูนสูงชัน เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาจำนวนมหาศาล และเป็นแหล่งดำน้ำตื้นที่มีชื่อเสียงในพื้นที่ โดยได้มีการวางเรือทั้ง 2 ลำในปี 2554

หลังจากนั้น ได้มีการศึกษาวิจัยความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศใต้ท้องทะเล และความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ทะเลที่เข้ามาอาศัย ทั้งก่อน และหลังการวางเรือหลวงทั้ง 2 ลำ ได้แก่ การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล เพื่อติดตามปริมาณตะกอนฟุ้งกระจาย ซึ่งผลการศึกษายืนยันว่าไม่พบผลกระทบต่อพื้นท้องทะเล สัตว์เกาะติดและปลาทะเลยังคงมีสภาพเดิม รวมทั้ง ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสัตว์เกาะติดและประชากรปลา พบฝูงปลามงเข้ามาว่ายวนเวียน

23213351 2087528998200202 6582008076220320599 o

ผ่านไป 1 ปี มีปลาเพิ่มมากกว่า 40 ชนิด และปีต่อๆ มา เพิ่มเป็นมากกว่า 60 ชนิด รวมถึงปลาหายาก อย่างเช่น ปลาเก๋าดอกหมาก ปลาหมอทะเล และปลาสาก โดยเฉพาะบริเวณเรือหลวงปราบ จะพบฉลามวาฬได้อย่างสม่ำเสมอ

สำหรับสัตว์เกาะติด มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น ฟองน้ำเคลือบ และปะการังดำ ซึ่งเป็นสัตว์พันธุ์เด่น (Dominant Species)

ในด้านการศึกษาด้านการใช้ประโยชน์และการจัดการแหล่งดำน้ำเรือหลวง พบว่าการใช้เรือหลวงเป็นแหล่งดำน้ำแทนแนวปะการังนั้นได้ผลดีมาก เป็นการเพิ่มที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล และเพิ่มพื้นที่ลงเกาะแก่ตัวอ่อนปะการัง รวมทั้ง มีเรือและนักดำน้ำแวะเวียนมาดำน้ำในบริเวณดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบัน บริเวณดังกล่าวได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งใหม่ใต้ทะเล ที่ทั้งชาวไทยและต่างชาติต่างมาดำน้ำเพื่อสัมผัสคุณค่าความงดงาม

23331116 2087529014866867 4758352182542532862 o

นอกจากความอุดมสมบูรณ์ใต้ท้องทะเลที่เกิดขึ้นแล้ว ในด้านผลตอบแทนทางสังคม (Social Return of Investment หรือ SROI) ของโครงการนี้ พบว่าสามารถสร้างผลตอบแทนทางสังคมได้สูงถึง 5.34:1 ซึ่งหมายความว่า ความสำเร็จจากการวางเรือหลวงปราบ และเรือหลวงสัตกูดให้เป็นแหล่งดำน้ำแห่งใหม่นี้ สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ได้ถึง 5.34 เท่า หากเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ ปตท.สผ. ดำเนินโครงการดังกล่าว

ในระยะแรก พบว่าชุมชนและผู้ประกอบการมีรายได้จากกิจกรรมดำน้ำ การสอนดำน้ำ โรงแรมและที่พัก และอื่น ๆ ปีละกว่า 59 ล้านบาท จนถึงปัจจุบัน สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและผู้ประกอบการกว่า 413 ล้านบาท

นับเป็นความภาคภูมิใจของ ปตท.สผ. ที่ผลลัพธ์โครงการที่ไม่ได้เพียงฟื้นฟูและรักษาทะเลไทยได้ตามความมุ่งหมายเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ชุมชนโดยรอบเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อม ๆ กันได้อีกด้วย

advertorial เรือหลวง3

รางวัลระดับนานาชาติของโครงการแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทยใต้ทะเล 

  • รางวัลระดับทอง ประเภทโครงการด้านสิ่งแวดล้อมดีเด่น (Best Environmental Excellence Award) ในงาน The 10th Annual Global CSR Summit and Awards and the Global Good Governance Awards 2018  อินโดนีเซีย
  • รางวัลชนะเลิศ ประเภทผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม (Green Leadership) ในงาน Asia Responsible Enterprise Awards 2018 ฟิลิปปินส์
  • รางวัลระดับเงินด้าน Innovation in Community Relations ในงาน Asia – Pacific Stevie Awards 2019 สิงคโปร์
  • รางวัล Best CSR Campaign ในงาน Global Good Governance (3G) Awards 2019  อินโดนีเซีย

Avatar photo