Marketing Trends

เทรนด์ ‘ที่ทำงานทางเลือก’ มาแรง! ตอบโจทย์คนทำงานรุ่นใหม่

จากภาพที่ทำงานที่เป็นอาคารสำนักงานแบบเดิมๆ สำหรับพนักงานประจำ เมื่อโจทย์ทางธุรกิจและการทำงานที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันทำให้บริษัทขนาดใหญ่หันมาให้ความสนใจกับการหาพื้นที่นั่งทำงานให้พนักงานภายนอกสำนักงานมากขึ้น จนเกิดเป็นเทรนด์ Alternative Workplace หรือพื้นที่ทำงานทางเลือกขึ้นทั่วโลก

ทั้งนี้ 5 เหตุผลหลักๆ ที่บริษัทขนาดใหญ่เหล่านั้นหันมาให้ความสำคัญกับการมีพื้นที่ทางเลือกสำหรับนั่งทำงานให้พนักงาน ได้แก่

Meeting

1.การเข้าสู่ตลาดแรงงานของมิลเลนเนียล และเจนเนอเรชั่นแซด (GEN Z) ที่เพิ่มมากขึ้น เพราะคนกลุ่มสองกลุ่มนี้กำลังเพิ่มบทบาทในองค์กรมากขึ้น โดยเป็นกลุ่มที่เพิ่งเรียนจบ และเริ่มต้นทำงานไปจนถึงกลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่

การมี Alternative Workplace ได้เข้ามาเป็นตัวช่วยในการตอบสนองและเพิ่มความพึงพอใจในการทำงานของคนกลุ่มนี้ที่ชอบความแปลกใหม่ และให้ความสำคัญกับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมการทำงาน ทั้งยังคาดหวังให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพและทรงประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต เครื่องพิมพ์เอกสาร และห้องประชุมที่รองรับการประชุมทางไกล เป็นต้น

นอกจากนี้ คนสองกลุ่มดังกล่าว ยังต้องการที่ทำงานที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ระหว่างวันสอดคล้องกับรูปแบบการทำงานที่ไม่ยึดติดกับสถานที่ใดที่หนึ่ง ดังนั้นการเช่าพื้นที่สำหรับเป็น Alternative Workplace ในลักษณะ Hot Desk ซึ่งไม่มีที่นั่งตายตัว จึงตอบโจทย์องค์กรที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความพึงพอใจให้แก่บุคลากรเหล่านี้

2. แนวคิดการทำงานใหม่แบบ Agile ที่เน้นประสิทธิภาพ ความรวดเร็ว และการทำงานร่วมกัน

หลายองค์กรมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเพื่อรับมือกับสภาพการแข่งขันและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยยึดหลักการทำงานแบบ Agile เป็นการทำงานด้วยกันระหว่างบุคลากรแผนกต่างๆ ที่มีบทบาทแตกต่างกัน ขณะที่องค์กรขนาดใหญ่บุคลากรเหล่านี้มักแยกกันทำงานอยู่ในพื้นที่ต่างๆ

ดังนั้นพื้นที่ทำงานที่สะดวกสบายสำหรับทุกฝ่ายภายใต้บรรยากาศที่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์ หลุดพ้นจากกรอบเดิมๆ ขององค์กรจึงเป็นส่วนผสมสำคัญในการทำงานของ Agile Team ซึ่ง Alternative Workplace ก็ตอบสนองความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้เลยทันทีที่ตกลงเช่า

Nice atmosphere

3. คอนเน็กชั่นใหม่ เป็นสิ่งสำคัญ

Alternative Workplace ในพื้นที่ที่มีผู้คนและธุรกิจหลากหลายช่วยให้องค์กรสามารถขยายเครือข่ายความร่วมมือออกไปได้กว้างขวางมากขึ้น บริษัทขนาดใหญ่จำนวนไม่น้อยที่ได้รู้จักกับสตาร์ทอัพที่มีนวัตกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทและลูกค้ากลุ่มใหม่ผ่านโอกาสที่ได้เน็ตเวิร์กกิ้งกับคนอื่นๆ ที่ใช้ Alternative Workplace แห่งเดียวกัน

4. ความยืดหยุ่นในการขยับขยายธุรกิจ

ในยุคสมัยที่ธุรกิจแข่งกันที่ความเร็ว การมีพื้นที่ทางเลือกอย่าง Alternative Workplace ยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ด้านความสามารถในการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์และพร้อมตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว เพราะบริษัทสามารถขยับขยายทีมงานและจัดสรรพื้นที่ทางเลือกนี้ให้เป็นจุดนัดพบปะและประชุมร่วมกับลูกค้าได้อีกด้วย

ขณะที่สำนักงานให้เช่าปกติมักต้องทำสัญญาเช่าระยะยาว ค่าเช่าคิดตามจำนวนพื้นที่การใช้งาน และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการตกแต่งและเข้าใช้งาน อีกทั้งค่าเช่าพื้นที่สำนักงานในย่านธุรกิจใจกลางเมืองมักมีราคาสูง การจัดให้มี Alternative Workplace จึงช่วยให้บริษัทบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. ช่วยแก้ปัญหาการจราจรและการเดินทางของพนักงาน

รถติดเป็นปัญหาใหญ่ของคนทำงานในกรุงเทพฯ การมีพื้นที่ทำงานทางเลือกให้พนักงาน ไม่เพียงแต่จะช่วยลดความเครียดจากการเดินทาง เพิ่มระยะเวลาให้พนักงานได้มีเวลาทำงานมากขึ้น และช่วยลดปัญหาการจราจรโดยรวมเท่านั้น แต่ยังช่วยให้บริษัทสามารถดึงดูดบุคลากรคุณภาพที่คำนึงถึงสถานที่ทำงานที่เดินทางสะดวกได้อีกทางหนึ่งด้วย

Thanasorn Jaidee
ฐนสรณ์ ใจดี

นายฐนสรณ์ ใจดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทรู ดิจิทัล พาร์ค กล่าวว่า บริษัทขนาดใหญ่ของไทยเริ่มหันมาให้ความสนใจพื้นที่ทำงานทางเลือกสำหรับพนักงานมากขึ้น ซึ่งทรู ดิจิทัล พาร์ค ศูนย์กลางนวัตกรรมดิจิทัลแห่งแรกในไทยและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี โค-เวิร์กกิ้ง สเปซ ที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์การทำงานของคนยุคดิจิทัล

ปัจจจุบัน บริษัทส่วนใหญ่ให้ความสนใจเข้ามาเป็นสมาชิกสำหรับการใช้งาน Hot Desk ซึ่งนอกจากพนักงานของบริษัทที่เป็นสมาชิกจะได้มีพื้นที่นั่งทำงานในบรรยากาศที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกันและความคิดสร้างสรรค์แล้ว ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่พร้อมสำหรับการทำงานยุคใหม่ครบครัน สมาชิกสามารถจองห้องประชุมผ่านแอปพลิเคชันได้เองอย่างง่ายๆ สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนยุคปัจจุบัน

Avatar photo