Economics

โมเดลจัดการขยะ ‘Orgafeed’ คว้าอันดับ 1 ‘Waste Runner’

ปิดฉากแล้วสำหรับโครงการ Waste Runner 100 Days Challenge ” การแข่งขันสร้างโมเดลจัดการขยะในประเทศไทย ที่คุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งบริษัท  พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือจีซี ร่วมมือกับโครงการ OUR Khung BangKachao

โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 80 ทีม ผ่านการคัดเลือกเหลือ 3 ทีมสุดท้าย และวันนี้ ( 24 ส.ค.) เป็นการแข่งขันรอบสุดท้าย เพื่อให้แต่ละทีมนำเสนอ และสรุปภาพรวมของโครงการ และให้คณะกรรมการได้ซักถาม

IMG 20190824 162622ทีม Orgafeed โมเดลเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย เพื่อลดขยะอินทรีย์ และลดค่าใช้จ่ายอาหารสัตว์ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ได้รับการคัดเลือกเป็นทีมชนะเลิศอันดับ 1

ส่วนอันดับ 2 เป็นของทีม Zero Journey โมเดลสร้างเส้นทางท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงเครือข่ายร้านค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง และโฟมในแหล่งท่องเที่ยว

อันดับ 3 เป็นของทีม TRASH โมเดลแพลตฟอร์มส่งเสริมการคัดแยกขยะ และบริการกำจัดขยะครบวงจรในชุมชน โดยนำขยะมาเพิ่มมูลค่าผ่านกระบวนการ Upcycling

IMG 20190824 152247

นางวราวรรณ ทิพพาวนิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกิจการองค์กร จีซี ระบุว่านับจากวันแรกที่เรากังวลว่าจะมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันในโครงการนี้หรือไม่ และชุมชนจะร่วมมือหรือไม่ แต่เมื่อเราเดินหน้าโครงการกลับไม่เป็นอย่างนั้นเลย เราได้เห็นพลังของทุกภาคส่วนที่ต้องการมีส่วนร่วมจัดการขยะของประเทศ

โดยเฉพาะพลังคนรุ่นใหม่ ที่เห็นความสำคัญของการจัดการขยะ ทำให้เข้ามาร่วมสร้างโมเดลใหม่ๆถึง 80 ทีม สะท้อนความหวังในการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย

มาถึงการคัดเลือกเหลือ 3 ทีมสุดท้าย ก็ได้พบศักยภาพ ความใส่ใจ และความมุ่งมั่นของพวกเขา และยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ภาคส่วนต่างๆมากมายอย่างต่อเนื่อง และเมื่อคนในชุมชนเห็นว่ามีคนตั้งใจจริงเข้ามาช่วยจัดการขยะในพื้นที่ ก็ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่

และหลังจากนี้เราเชื่อว่าการจัดการขยะจะไม่จบที่โครงการนี้ แต่คาดหวังว่าแต่ละทีมที่เข้าร่วม รวมถึงคนที่ติดตาม โครงการWaste Runner 100 Days Challenge ” จะได้นำโมเดลจัดการขยะต่างๆไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆต่อไป

สำหรับจีซีเอง ซึ่งไม่ได้ดำเนินธุรกิจจัดการขยะโดยตรง แต่สนับสนุนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เห็นความสำคัญของการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะขยะพลาสติก แต่จีซีไม่สามารถทำได้ตามลำพัง ทุกภาคส่วนต้องเข้ามาร่วมมือ โดยมีเราเป็นผู้เชื่อมโยงและร้อยเรียงให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มาเจอกัน และร่วมกันจัดการขยะ มีคุ้งบางกะเจ้าเป็นพื้นที่ตัวอย่าง

“ 100 วันที่เราทำโครงการ  Waste Runner  พบว่ามีผู้สนใจต้องการแก้ปัญหาขยะจำนวนมาก แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร จึงหวังว่าสิ่งที่เราทำจะจุดประกาย เป็นโมเมนตัม ต่อไปยังภาคส่วนอื่นๆให้ก้าวเดิน ซึ่งหัวใจสำคัญของการจัดการขยะ อยู่ที่ความร่วมมือของทุกภาคส่วนนั่นเอง ”

IMG 20190824 165917 ปก

นายอิทธิกร เทพมณี ผู้ก่อตั้ง Orgafeed ทีมที่ชนะเลิศ บอกว่า เราตั้งใจทำโครงการนี้ขึ้น เพราะค้นพบว่าหนอนแมลงวันลาย จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ได้ในหลายเรื่องพร้อมกัน ทั้งการย่อยสลายขยะอินทรีย์ ซึ่งเป็นขยะหลักของชุมชน

ขณะเดียวกันก็สามารถนำมาทำเป็นอาหารสัตว์ โดยขณะนี้กำลังต่อยอดโครงการกับเกษตรกรเจ้าของฟาร์มไก่ และเป็ดในพื้นที่ เพื่อนำหนอนแมลงวันลาย ไปทำอาหารสัตว์ต่อไป  ซึ่งโปรตีนจากหนอนแมลงวันลาย เป็นโปรตีนที่เป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรได้อย่างดี ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากการซื้ออาหารสัตว์

IMG 20190824 150658

นายอรรถวิทย์ โกวิทวที อาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทย์ มหาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในทีม Orgafeed  เล่าว่าในต่างประเทศมีการใช้หนอนแมลงมาผลิตเป็นอาหารสัตว์กันมานานแล้ว

ในประเทศไทย หนอนแมลงวันลายมีอยู่แล้วตามสวนและป่า รวมถึงบางกะเจ้า เราสามารถนำมาช่วยย่อยขยะอินทรีย์ได้อย่างดี และยังสามารถนำหนอนแมลงวันลาย มาทำเป็นอาหารสัตว์ จากในปัจจุบันอาหารสัตว์มาจากข้าวโพด และปลาป่น ซึ่งไม่ยั่งยืนแน่นอน โดยเฉพาะข้าวโพด เพราะการปลูกทำลายสิ่งแวดล้อม

และขณะนี้เพิ่งได้รับทุนวิจัยร่วมกับทีมมหาวิทยาลัยนเรศวร เกี่ยวกับหนอนแมลงวันลาย ซึ่งหลังจากวิจัยแล้วเสร็จ เชื่อว่าหนอนแมลงวันลายจะถูกนำมาต่อยอดได้มากมาย เพราะสามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้มากมาย เช่น เครื่องสำอาง

นายชยุตม์ สกุลคู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแทคท์ โซเชียล คอนซัลติ้ง จำกัด กลุ่มคนรุ่นใหม่ ผู้บริหารโครงการ “ Waste Runner 100 Days Challenge ” มีความหวังว่า 100 วันที่เกิดขึ้นมาในโครงการ จะไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่จะกระตุ้นให้หลายๆคน มีความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม ได้ออกมาเริ่มต้น สร้างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเส้นทางของตนเอง

IMG 20190824 161947

Avatar photo