CEO INSIGHT

‘เอสซีจี’ ฟันธง ‘โลจิสติกส์’ ธุรกิจ ‘Burn Cash’

ปัจจุบัน มูลค่าอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยปี 2562 คาดว่าจะสูงถึง 3.2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธุรกิจเกี่ยวเนื่องเติบโตตามไปด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ธุรกิจโลจิสติกส์ ที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เห็นได้จากการที่มีผู้เล่นรายใหม่ๆ เข้ามาในตลาดนี้อย่างต่อเนื่องทั้งผู้ประกอบการสายพันธุ์ไทยและยักษ์ข้ามชาติ ไปจนถึงสตาร์ทอัพ

การเติบโตที่สวยหรูในธุรกิจโลจิสติกส์ ที่มีมูลค่าตลาดรวมแตะ 2 ล้านล้านบาทไปแล้ว ทำให้กลายเป็นก้อนเค้กหอมหวานที่ใครๆ ต่างหมายปองเข้ามาร่วมชิงเค้ก แต่ในมุมของผู้ประกอบการที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในขาใหญ่ในธุรกิจนี้ อย่างบริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัดในเครือเอสซีจี มีมุมมองที่แตกต่าวและน่าขบคิดทีเดียว

ไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์

นายไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจโลจิติกส์ในประเทศไทยมีผู้ประกอบการในตลาดกว่า 2 หมื่นราย มูลค่าตลาดรวมกว่า 2 ล้านล้าน หรือคิดเป็น 14% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทย (จีดีพี)

“ถ้าต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยยังอยู่ในมูลค่าสูงขนาดนี้ การแข่งขันทั้งผู้นำเข้า ส่งออก รวมถึงในประเทศก็จะดุเดือดและเหนื่อย เพราะส่วนใหญ่ต้นทุนโลจิสติกส์อยู่ที่ต้นทุนการขนส่ง หรือประมาณ 10% และส่วนใหญ่จะเป็นโลจิสติกส์ทางบก ที่มีมูลค่าประมาณ 1.7 ล้านล้าน”

นอกจากนี้ ธุรกิจโลจิสติกส์ ยังเป็นธุรกิจที่ชกกันดุเดือด เป็นตลาดเรดโอเชียนจนทะเลเดือด หากพิจารณาตัวเลขผลกำไรแล้ว เปรียบเทียบกับกระดาษทิชชู มีสองแผ่น แต่ธุรกิจโลจิสติกส์กำไรเหมือนกระดาษทิชชูแผ่นเดียว ซึ่งบางมาก แต่ก็ยังมีรายใหม่เข้ามาตลอดเวลา เพราะเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเจริญเติบโตและเป็นธุรกิจที่รัฐบาลให้การส่งเสริม

SCGL 0edfaa13b8e9c7eeff9b327a4627bfa9

ปัจจัยสำคัญคือ ตลาดอีคอมเมิร์ซโตในประเทศไทยโตค่อนข้างเร็วและเยอะมาก สาขาที่เติบโตมากคือ Last mile หรือการขนส่งขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นการขนส่งจากสินค้าไปถึงลูกค้าที่เป็น บีทีซี หรือ ซีทูซี เป็นตลาดที่เติบโตสูง ในขณะที่คู่แข่ง และการแข่งขันก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยปัจจุบันในตลาดลาสต์ ไมล์ มี “เคอรี่” เป็นเอกชนรายใหญ่อันดับ 1

แต่ธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นธุรกิจที่ต้องมองในระยะยาว เพราะเห็นได้จาก เคอรี่เอง เข้ามาทำตลาดในไทยกว่า 10 ปีแล้ว แรกๆ ก็ขาดทุน แต่ปัจจุบันสร้างผลกำไรแล้ว ส่วนคนที่เข้ามาในธุรกิจนี้หลังจากเคอรี่ ขาดทุนทั้งหมด

เป็นธุรกิจที่เรียกว่า “Burn Cash” มีเงินสดมาเผาเล่นกัน เพียงแต่ใครจะอยู่ได้ยาวกว่ากัน

“เป็นธุรกิจที่เรียกว่า “Burn Cash” มีเงินสดมาเผาเล่นกัน เพียงแต่ใครจะอยู่ได้ยาวกว่ากัน ใครจะกระเป๋าลึกกว่ากัน เคอรี่กำไรไปแล้ว ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นของจีนเข้ามา ใครมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ก็ขาดทุน  ขาดทุนเยอะ เพราะต้องสร้างเน็ตเวิร์ก ทำให้การขนส่งไปทั่วประเทศได้  ต้องสร้างแวร์เฮ้าส์ สร้างสาขา ฮับทั้งหมด เป็นการ Burn Cash”

นายไพฑูรย์ กล่าวต่อว่าทั้งนี้เพราะโลจิสติกส์ เป็นธุรกิจที่ผู้เล่นพอเข้ามาเล่นแล้ว โอกาสจะออกไปจากธุรกิจค่อนข้างยาก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนค่อนข้างสูง ทั้งเรื่องของแวร์เฮ้าส์ รถ สาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ  ดังนั้นเมื่อเข้ามาเล่นแล้วก็ต้องอยู่กันไปแบบนี้ จนกระทั่งอยู่ไม่ได้ก็หายไป บางคนเข้ามาเอาราคามาดัมพ์กันก่อน แล้วก็กลับประเทศไปสองสามรายแล้ว

ในส่วนของเอสซีจี โลจิสติกส์ฯ ปีนี้คาดว่าจะมียอดขาย 22,000 ล้านบาท รวมทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยรายได้จากในประเทศอยู่ที่ 15,000 – 16,000 ล้านบาท ขณะที่ในต่างประเทศ ได้ขยายหลายแพลตฟอร์ม ทั้ง บีทูบี บีทูซี บีทูบีใหญ่มาก และครอบคลุมในประเทศภูมิภาคอาเซียน 7 ประเทศ ทั้งใน เมียนมา ลาว เขมร เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน  มีทั้งการขนส่งทางบกและน้ำ

SCG Logistics

“หลายคนคิดว่าเอสซีจีใหญ่ เอสซีจีใหญ่แล้วยังต้องปรับตัวขนาดนี้เลยหรือ ทุกท่านก็เห็น “การเปลี่ยนแปลงเป็นนิรันดร์” ถ้าอยู่แบบเดิมๆ อยู่ไม่ได้ ผมเคยพูดกับน้องๆ ลูกน้องว่า เราอยากจะเป็นไดโนเสาร์ หรือ แมลงสาบ ที่เป็นสัตว์โลกล้านปีทั้งคู่ ถ้าอยากอยู่รอดต้องเป็นแมลงสาบที่เปลี่ยนแปลงตามโลกได้ แต่ไดโนเสาร์ไม่เปลี่ยนแปลงตามโลก”

ดังนั้น เอสซีจีฯ เองก็ต้องเปลี่ยนแปลง เพราะแม้จะเติบโตจนยอดถึง 20,000 ล้านบาท แต่หากมีโอกาสโตถึง 40,000 – 50,000 ล้าน แล้วไม่เปลี่ยนแปลง ก็อาจต้องอยู่แค่ 20,000 ล้านแล้วตายไปเพราะมีคู่แข่งเกิดใหม่เพิ่มขึ้นมาก

ก้าวเดินของเอสซีจีในธุรกิจโลจิสติกส์ จะเป็นการก้าวยุคใหม่ ที่เรียกว่า ดิจิทัล ไดรเว่น โลจิสติกส์ หรือการนำดิจิทัลเทคโนโลยี เข้ามาขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างรายได้และผลกำไร ถือได้ว่าเป็นนิวเคิร์ฟของโลจิสติกส์ ทำให้รายได้และกำไรดีขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันในตลาดเรดโอเชียน ไปหาตลาดบลูโอเชียนด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้

นอกจากนี้ ล่าสุด ยังต่อจิ๊กซอว์ธุรกิจโลจิสติกส์ ด้วยการกระโดดเข้าสู่การให้บริการ ฟูล ฟิลเม้นต์ (Fulfillment) วิธีการคือ ผู้ผลิคสามารถเอาของมาวางไว้ที่เรา ระบบจะยิงมาที่เอสซีจี เพื่อแพคสินค้าแล้วส่งถึงผู้บริโภค ซึ่งธุรกิจนี้ยังถือว่าเป็นบลูโอเชียน มีผู้เล่นยังไม่มาก

11

ดังนั้น สิ่งที่เอสซีจีตั้งปรัชญาการทำธุรกิจจากนี้ไปคือ สิ่งที่เราเก่งเราจะทำ สิ่งที่เราไม่เก่ง เราจะให้ที่อื่นที่เก่งเข้ามาทำ เราจึงอยากให้มีสตาร์ทอัพเก่งๆ เยอะๆ เรามีนโยบายสนับสนุนสตาร์ทอัพ ประเทศข้างเคียงเรามียูนิคอร์นเยอะ คือ มีมูลค่าบริษัทเกิน พันล้านยูเอาดอลลาร์แต่ไทยยังไม่มี องค์กรใหญ่ๆ ควรสนับสนุน“นายไพฑูรย์ กล่าวปิดท้าย

Avatar photo