World News

ดาวเทียมยุโรปพบสภาพอากาศเหนืออินเดีย-ไทย เสี่ยงปัญหามลพิษ

india satellite

พบภาพถ่ายทางอากาศเกิดปรากฏการณ์น่าสนใจ โดยสภาพอากาศเหนือประเทศอินเดีย รวมถึงไทย และประเทศเพื่อนบ้านมีค่าของก๊าซฟอร์มาดีไฮด์จนจับภาพได้อย่างเด่นชัด

ดาวเทียมที่จับภาพดังกล่าวนี้ได้คือดาวเทียม Sentinel-5P ที่สหภาพยุโรปยิงขึ้นไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อตรวจสอบสภาพอากาศโดยเฉพาะ ซึ่งทางอิสซาเบล เดอ สเม็ดท์ (Isabelle De Smedt) นักวิจัยสภาพอากาศ จากสถาบัน the Royal Belgian Institute for Space Aeronomy (BIRA-IASB) เผยว่า ก๊าซที่พบนั้นถือว่ายังปะปนในอากาศในปริมาณน้อย (หนึ่งหน่วยต่อพันล้านหน่วย) แต่ก็เป็นสัญญาณได้ดีว่า ในประเทศที่พบสัญญาณเหล่านั้นกำลังเกิดปัญหาด้านมลพิษ โดยเฉพาะอินเดียที่เธอเชื่อว่า มีการเผาป่าเพื่อการเกษตร หรือการเกิดควันพิษจากการทำอาหารที่ชาวอินเดียยังนิยมใช้เตาถ่านหุงต้มอยู่นั่นเอง

สำหรับก๊าซฟอร์มาดีไฮด์ (Formaldehyde) ข้อมูลจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติระบุว่า เป็นก๊าซไม่มีสี จัดเป็นพิษที่ปนเปื้อนในอากาศที่เป็นปัญหาสุขภาพของมนุษย์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยทั่วไปสารชนิดนี้นิยมใช้ในอุตสาหกรรมสี กาว และสารเคลือบเฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม้อัด และไม้แปรรูปอื่น ๆ ไอระเหยของสารฟอร์มาลดีไฮด์ที่แฝงอยู่สิ่งเหล่านั้นซึ่งถือว่าเป็นภัยในที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงในน้ำยาทาเล็บ และผ้าม่านและเสื้อประเภทที่โฆษณาว่ารีดง่ายแต่ยับยาก มักมีสารฟอร์มาลดีไฮด์แอบแฝงอยู่ด้วย

สำหรับภาพที่เผยแพร่ออกมานั้น เป็นการเก็บข้อมูลระหว่าง พฤศจิกายน 2560 – มิถุนายน 2561 ดาวเทียมดังกล่าวยังสามารถตรวจจับก๊าซอื่น ๆ เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซโอโซน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ และละอองของเหลวได้ด้วย

 

Avatar photo