Digital Economy

เฟซบุ๊กชี้โครงการตรวจสอบข่าวปลอมสำเร็จ ลด Fake News ได้ 80%

twitter 292994 1280

ออกมาประกาศความสำเร็จกันอีกครั้งหลังเปิดโครงการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลบนแพลตฟอร์มมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 โดยเฟซบุ๊กเผยว่า สามารถลด Fake News ได้ 80%  ล่าสุดมีพาร์ทเนอร์แล้ว 25 องค์กรใน 14 ประเทศโดยโครงการการตรวจสอบข้อเท็จจริงบนแพลตฟอร์มของเฟซบุ๊กนั้นมีขึ้นเพื่อสกัดการแพร่กระจายของ Fake News หลังตกเป็นเป้าโจมตีที่ปล่อยให้เอเจนซีจากรัสเซียปั่นหัวชาวอเมริกันผ่านแคมเปญต่าง ๆ จนทำให้หลายคนเชื่อว่า เป็นปัจจัยที่ทำให้ “โดนัลด์ ทรัมป” ชนะการเลือกตั้งและได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกา

โครงการตรวจสอบข้อมูลของเฟซบุ๊กนี้จะใช้หน่วยงานอิสระที่ได้รับการรับรองจากเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับสากลที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในการประเมินคอนเทนต์ แบ่งออกเป็น 6 ระดับได้แก่

  • เท็จ: คำกล่าวอ้างหลักในบทความมีข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง โดยทั่วไปแล้วบทความเช่นนี้จะได้รับการประเมินเป็น “เท็จ” หรือ “เท็จเป็นส่วนใหญ่” บนเว็บไซต์ของผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง
  • ทั้งจริงและเท็จ: คำกล่าวอ้างในบทความมีข้อมูลทั้งจริงและเท็จ หรือบทความชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือไม่สมบูรณ์
  • จริง: คำกล่าวอ้างหลักในบทความมีข้อเท็จจริงถูกต้อง โดยทั่วไปแล้วบทความเช่นนี้จะได้รับการประเมินเป็น “จริง” หรือ “จริงเป็นส่วนใหญ่” บนเว็บไซต์ของผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง
  • ไม่มีการประเมิน: สถานะการประเมินนี้จะเป็นค่าเริ่มต้นก่อนที่คุณจะตรวจสอบข้อเท็จจริงของบทความ หากการประเมินยังคงอยู่ในสถานะนี้ (หรือกลับมาอยู่ในสถานะนี้หลังผ่านการประเมินอีกอย่างหนึ่ง) แสดงว่าเราไม่ควรดำเนินการใดๆ โดยอ้างอิงจากการประเมินของคุณ
  • ไม่เข้าเกณฑ์: ข้อมูลในบทความไม่เข้าเกณฑ์การตรวจสอบข้อเท็จจริงแต่อาจยังคงได้รับประโยชน์จากบริบทเพิ่มเติม (เช่น การเหน็บแนม ความเห็น โพลล์ ชุดคำถาม ฯลฯ)
  • เว็บสร้างข่าวหลอก: เว็บไซต์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างข่าว “หลอก” เพื่อแชร์ลงบนโซเชียลมีเดีย

โดยตัวเลขความน่าเชื่อถือที่สะท้อนออกมานั้นมีความแม่นยำค่อนข้างสูง และนั่นทำให้เฟซบุ๊กสามารถอ้างสิทธิในการจัดการกับคอนเทนต์ และเพจที่แชร์ข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างชอบธรรมมากขึ้น สำหรับแนวทางในการจัดการกับเพจที่แชร์คอนเทนต์เหล่านี้จะถูกลดระดับการเข้าถึงลงไม่ให้มาปรากฏบนนิวส์ฟีดมากนัก และจะปรากฏร่วมกับบทความที่เกี่ยวข้องจากผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง หากมีคนพยายามแชร์เนื้อหาดังกล่าวด้วย

นอกจากนั้น เพจที่มีการกระทำผิดซ้ำๆ จะถูกตัดสิทธิ์ในการสร้างรายได้และโฆษณา จนกว่าจะเลิกแชร์ข่าวปลอมเป็นระยะเวลาหนึ่งจึงจะกลับมาสร้างรายได้จากโฆษณาได้ใหม่อีกครั้ง โดยเฟซบุ๊กอ้างว่า ระบบตรวจสอบใหม่นี้ช่วยลดการแพร่กระจายของ Fake News ได้มากถึง 80%

สำหรับพาร์ทเนอร์ของเฟซบุ๊กใน 14 ประเทศนั้นประกอบด้วย ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา, บราซิล, เม็กซิโก, อินเดีย, อาร์เจนตินา, โคลัมเบีย, เยอรมนี, เนเธอร์แลนด์, อิตาลี, ฟิลิปปินส์, ตุรกี, ไอร์แลนด์ และอินโดนีเซีย

Avatar photo