Economics

‘คณิศ’ แจงความสำคัญจัดทำผังเมือง เชื่อมโยงพื้นที่อีอีซี

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). กล่าวถึงความสำคัญ ของการจัดทำผังการใช้พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)ว่า เนื่องจากผังเมืองเดิมนั้น เป็นผังเมืองจังหวัด ที่จัดทำขึ้นคนละเวลา และไม่มีความเชื่อมโยงกันทั้งพื้นที่ แต่เมื่อมีแผนการพัฒนาพื้นที่ร่วม 3 จังหวัด ในรูปแบบของอีอีซี  จึงจำเป็นต้องเตรียมการ เพื่อให้การใช้พื้นที่สอดคล้องกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยลดผลกระทบการใช้พื้นที่แบบตัวใครตัวมัน เพื่อนำไปสู่การทำผังเมืองทั้ง 3 เมืองในอนาคต

ka1
ดร.คณิศ แสงสุพรรณ

สำหรับการจัดทำผังการใช้พื้นที่อีอีซีดังกล่าว ได้ดำเนินการโดยใช้ พระราชบัญญัติ (พรบ.) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นกรอบการดำเนินการ โดยคำถึงถึงความเชื่อมโยงของระบบต่างๆ  ตามหลักวิชาผังเมือง และให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของประชาชน

รายละเอียดการดำเนินงานภายใต้พรบ.อีอีซี 

  • มาตรา  29  จัดทำนโยบายและแผนภาพรวม ให้ยึดหลัก คุ้มครอง เคารพ เยียวยา  ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เห็นชอบเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561
  • มาตรา 30  สกพอ.ร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมืองจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน  และแผนโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี โดยให้แผนโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ประกอบด้วย 8 ระบบ
    กพอ.เห็นชอบหลักการเมื่อวันที่  23 มกราคม 2562 โดยให้คำนึงถึงความสัมพันธ์กับชุมชน สุขภาวะของประชาชน สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ ให้สร้างความรับรู้ที่ถูกต้องกับประชาชนในพื้นที่ รับฟังความเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
  • มาตรา 31  ให้ดำเนินการตามหลักวิชาผังเมือง
  • มาตรา 32  แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตาม มาตรา 30 เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก กพอ. และ ครม.อนุมัติแล้ว ให้กรมโยธาธิการและผังเมือง จัดทำผังเมืองขึ้นใหม่ ให้สอดคล้องกับแผนผังดังกล่าว (ดำเนินการต่อ) ในระหว่างที่การจัดทำผังเมืองใหม่ให้ใช้ แผนผังที่ครม.อนุมัติเป็นผังเมืองรวมตามกฎหมาย

ร่างผังอีอีซี 11 0

การดำเนินการ

  • ดำเนินการตาม พรบ. ทุกมาตรา
  • มีการรับฟังความเห็นเรื่องผังการใช้พื้นที่รวม 40 ครั้ง  ในจำนวนนี้ แบ่งเป็น 25 ครั้งอย่างเป็นทางการครอบคลุมทุกอำเภอ  และการชี้แจงไม่เป็นทางการรวม 15 ครั้ง

ข้อสรุป

การทำงานได้ยึดหลักการเพื่อประโยชน์ของประชาชนในอนาคตเป็นสำคัญ ประกอบด้วย  ปกป้องพื้นที่ป่า (ไม่ให้พื้นที่ป่าเปลี่ยนแปลง หรือลดลงใน 20 ปี)  ลดผลกระทบระหว่างการพัฒนากับสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดพื้นที่โล่งเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (+2.93% 13,577 ไร่)   ยกระดับพื้นที่ชุมชุมชนบท (-8.13% 673,743 ไร่)  ให้เป็นชุมชนเมือง (+3.37% 279,008 ไร่) และพื้นที่อุตสาหกรรม (+1.99 % 165,085 ไร่)

แนวทางดำเนินการต่อไป

นำผังการใช้ที่ดิน ไปจัดทำผังเมืองทั้ง 3 จังหวัด

Avatar photo