Business

‘จุรินทร์’ ขอแรงสมาชิก ‘อาร์เซ็ป’ ผลักดันการเจรจาจบสิ้นปีนี้

“จุรินทร์” ประธานประชุมรัฐมนตรีการค้าอาเซียนกับ  6 ประเทศ เจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจสำคัญ ประกาศดันเจรจาให้จบสิ้นปีนี้ 

ภายหลังจาก Hu Chunhua, Deputy Prime Minister of China (หู ชุนหวา รองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน)  เปิดการประชุมรัฐมนตรีพาณิชย์ทุกประเทศในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership) RCEP คืออาเซียน 10 ประเทศบวกกับประเทศสมาชิกอีก 6 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดียแล้ว

จุรินทร์455

เมื่อเวลา10.00 น.วันนี้ (3 ส.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานการประชุมได้แจ้งเป้าหมายของเวทีการประชุมวันนี้ โดยขอให้ทุกประเทศร่วมสนับสนุนข้อเสนอในการผลักดันเป้าหมายการเจรจาให้บรรลุความสำเร็จภายในสิ้นปีนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการประชุม ตามข้อตกลงอาร์เซ็ป คือเป็นความตกลงฉบับล่าสุด ที่มีความทันสมัยและมีมาตรฐานสูงครอบคลุมทุกมิติ ทางการค้ายุคใหม่ ที่หลากหลาย ช่วยให้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเข้มแข็ง และสร้างสภาวะแวดล้อมทางการค้าการลงทุนที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาของภูมิภาค หากความตกลงอาเซ็ป มีผลบังคับใช้จะกลายเป็นความตกลงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 

จุรินทร์457

เห็นได้จากข้อมูลปี 2561 ที่เป็นข้อเท็จจริงว่าประเทศอาเซ็ป 16 ประเทศมีมูลค่าจีดีพีกว่า 27.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 32.3% ของจีดีพีโลก มีมูลค่าการค้ารวมกว่า 11 .4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 30.9% ของมูลค่าการค้าโลก

สำหรับประเทศไทยให้ความสำคัญกับข้อตกลงอาร์เซ็ป ในการขับเคลื่อนหรือเป็นเครื่องมือการขยายการค้า และการลงทุนในภูมิภาค จะช่วยให้ไทยเป็นฐานการผลิตและมีการลงทุนมากขึ้นโดยเฉพาะการลงทุนจากต่างชาติ และเกิดการขยายเครือข่ายภาคการผลิตและการกระจายสินค้าของไทย ผู้ประกอบการไทยจะสามารถสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่มีความหลากหลายทั้งเชิงคุณภาพและราคามากขึ้น จากเดิมที่สรรหาวัตถุดิบเพียง 10 ประเทศในอาเซียน ก็จะขยายเป็น 16 ประเทศ รวมทั้งจะเป็นการเพิ่มช่องทางให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น

จุรินทร์454
.
นอกจากนี้ ยังช่วยลดความซ้ำซ้อนเรื่องกฎถิ่นกำเนิดสินค้า ประสานกฎระเบียบและมาตรการทางการค้า ส่งผลให้มีการยอมรับกฎเกณฑ์ด้านมาตรฐานต่างๆ ระหว่างกันมากขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การขยายตัวทางการค้าและการลงทุนของไทยตลอดจนภูมิภาคด้วย  สินค้าที่ไทยคาดว่าจะได้รับประโยชน์เพิ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับเอฟทีเอไทย ที่มีอยู่ เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติกและเคมีภัณฑ์ ยานยนต์และชิ้นส่วนยางล้อ เส้นใย สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลัง และกระดาษ เป็นต้น

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight