Branding

เปิดพอร์ตลงทุนในมือ ‘WORKPOINT’ มีอะไรบ้าง 

เมื่อพูดถึง บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น WORK สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึงคงเป็นเรื่องการผลิตสื่อบันเทิงชั้นนำและธุรกิจทีวีดิจิทัลช่องเวิร์คพอยท์ 23  

“ปัญญา นิรันดร์กุล” และ “ประภาส ชลศรานนท์” คือ 2 ผู้ก่อตั้งเวิร์คพอยท์เมื่อปี 2532 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 2 ล้านบาท โดยหวังให้เวิร์คพอยท์เป็นผู้นำในการสร้างสรรค์เนื้อหาบันเทิงแบบครบวงจรของเมืองไทย 

คุณปัญญา 01

เวทีทอง เป็นรายการเกมโชว์แรกของเวิร์คพอยท์ ออกอากาศเมื่อปี 2532 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก ก่อนที่จะมีรายอื่นๆ ประสบความสำเร็จตามมาอีกมากมาย อาทิ ชิงร้อยชิงล้าน, เกมทศกัณฐ์, SME ตีแตก, ปริศนาฟ้าแลบ และ The Mask Singer เป็นต้น 

ก่อนที่ในปี 2554 พวกเขาจะเริ่มทำช่องทีวีเป็นของตัวเอง เริ่มด้วยธุรกิจทีวีดาวเทียม จากงบลงทุน 100 ล้านบาท จนกระทั่งปลายปี 2556 เวิร์คพอยท์ ตัดสินใจร่วมประมูลช่องทีวีดิจิทัล 1 ช่อง นั่นก็คือช่องเวิร์คพอยท์ 23 ที่เรารู้จักอย่างในปัจจุบัน  

อย่างไรก็ดี หลายคนอาจไม่รู้ว่านอกจากธุรกิจผลิตสื่อและทีวีดิจิทัลแล้ว เวิร์คพอยท์ ยังมีการแตกไลน์ไปยังธุรกิจอื่นๆ อีกไม่น้อยเลย วันนี้เราจึงสรุปมาให้ดูกันชัดๆ ว่าปัจจุบัน เวิร์คพอยท์ ลงทุนในธุรกิจอะไรบ้าง

เวิร์คพอย555

1.ธุรกิจผลิตรายการ

บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด สัดส่วนถือหุ้น 100%

บริษัท โต๊ะกลมโทรทัศน์ จำกัด สัดส่วนถือหุ้น 50%

บริษัท บีเอ็นเค โปรดักชั่น จำกัด สัดส่วนถือหุ้น 50%

2.ธุรกิจเพลงและบันทึกเสียง

บริษัท กราว จำกัด สัดส่วนถือหุ้น 60%

ดดดดดดดดด

3.ธุรกิจโรงละคร

บริษัท สยามพิฆเนศ จำกัด สัดส่วนถือหุ้น 96.57%

4.ธุรกิจรับจ้างจัดงาน

บริษัท กรุงเทพ เอ็กซิบิชั่น จำกัด สัดส่วนถือหุ้น 100%

5.ธุรกิจผลิตภาพยนตร์

บริษัท เวิร์คพอยท์ พิคเจอร์ส จำกัด สัดส่วนถือหุ้น 100%

6.ธุรกิจสวนสนุก

บริษัท เอฟดับเบิ้ลยูอาร์ จำกัด ถือหุ้นผ่านบจ. กรุงเทพ เอ็กซิบิชั่น 30%

สินค้า11

7.ธุรกิจจำหน่ายสินค้า

บริษัท นาโนนีเซีย จำกัด สัดส่วนถือหุ้น 100%

8.ธุรกิจการเงิน

บริษัท โกลบอล ไพร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด ถือหุ้นผ่านบจ. ไทย บรอดคาสติ้ง 30% 

ล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 เวิร์คพอยท์ ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ ด้วยการลงทุน 40 ล้านบาท ในธุรกิจ Payment Gateway รับชำระเงินในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสื่อหรือวงการบันเทิงที่ตัวเองถนัดเลย

โดยจะเปิดบริการที่ชื่อว่า “GB Prime Pay” ระบบชำระเงินรองรับบัตรทุกชนิดและธุรกิจหลากหลายประเภท ทั้งระบบตะกร้าบนเว็บไซต์ การขายของผ่าน Facebook Line และ Instagram พร้อมทั้งบริการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อขาย เทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภครายบุคคล

เรียกว่าเป็น “บิ๊กสเต็ป” ที่สำคัญของเวิร์คพอยท์ก็ว่าได้ ในการพยายามเชื่อมโยง Ecosystem ไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ เพราะท่าใกลางความเปลี่ยนแปลงที่ดุเดือดของวงการสื่อที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว คนที่ปรับตัวไวกว่า ย่อมได้เปรียบเสมอ  

ภาพ:www.workpoint.co.th

Avatar photo