The Bangkok Insight

‘สบพน.’ ขอพบ ‘สนธิรัตน์’ ด่วน! ถกพรบ.กองทุนน้ำมันฯ

“วีระพล”ผอ.สบพน.ขอเข้าพบ “สนธิรัตน์” ด่วน! ถกประเด็นเดินหน้าพ.ร.บ.กองทุนน้ำมันฯฉบับใหม่ ตีกรอบใช้เงินชดเชยราคาน้ำมัน ย้ำกฎหมายให้ใช้เฉพาะช่วงวิกฤติ ต้องเลิกอุดหนุนแก๊สโซฮอล์-ไบโอดีเซลทั้งหมด ระบุมีเวลาทำงานจำกัด ถึงก.ย.62 เท่านั้น

thumbnail 6 กกพ.วีระพลนายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน(องค์การมหาชน) หรือ สบพน. กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงาน เพื่อเข้าหารือเป็นการเร่งด่วน กับนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้สนับสนุน และเร่งรัดขั้นตอนต่างๆ ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 กันยายน 2562

 

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีผลทำให้ สบพน.ต้องยุบเลิก และเปลี่ยนไปเป็นสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่เป็นนิติบุคคลและไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมาย อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

เมื่อนับแล้วมีเวลาไม่ถึง 3 เดือนที่ต้องดำเนินการร่างกฎหมายลูกให้แล้วเสร็จรวม 17 ฉบับ เพื่อทำการโอนทรัพย์สิน อำนาจหน้าที่ และบุคลากรจากสบพน.ไปยังสำนักงานกองทุนฯ ตามกฎหมายใหม่ โดยจะมีการขยายโครงสร้างเจ้าหน้าที่ เพื่อมาปฏิบัติงานอีกประมาณ 20-30 ตำแหน่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับกรมบัญชีกลาง

และกระบวนการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนฯต้องให้แล้วเสร็จโดยเร็วด้วย เพราะตนเองมีเวลาจำกัดในการทำหน้าที่ผู้อำนวยการสบพน.ที่กำหนดคุณสมบัติผู้อำนวยการต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปี ขณะที่ตนเองจะครบอายุ 65 ปีในเดือนเมษายน 2563

ที่สำคัญการจัดตั้งกลไกการทำงาน นอกจากสำนักงานกองทุนฯที่จะทำหน้าที่บริหารจัดการแล้ว จะต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนน้้ามันเชื้อเพลิงที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นรองประธานกรรมการ และกรรมการโดยต้าแหน่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน อธิบดีกรมบัญชีกลาง และผู้อ้านวยการส้านักงานนโยบายและแผนพลังงาน รวมถึงกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง

สำหรับกรอบบริหารกองทุนน้ำมันภายใต้พ.ร.บ.ฉบับใหม่ นายวีระพล ระบุว่า ต้องปรับอย่างมากเช่นเดียวกัน เพราะพ.ร.บ.นี้ต้องการให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทำงานภายใต้กรอบภารกิจที่ชัดเจน

LINE P20190430 175511262ตามที่กำหนดในมาตรา 5 ให้ “กองทุนน้้ามันเชื้อเพลิง มีวัตถุประสงค์ เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้้ามันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านน้้ามันเชื้อเพลิง” เท่านั้น

ทั้งหมดนี้จึงมีเรื่องที่จะต้องทำหลายประการ โดยเฉพาะการกำหนดนิยามชัดเจนว่า “วิกฤติการณ์พลังงาน” คืออะไร และกองทุนฯจะดำเนินการอะไรได้บ้าง เช่น ราคาน้ำมันไปถึง 30 บาทต่อลิตรเรียกว่า “วิกฤติ” หรือไม่ เรื่องนี้ได้มอบให้สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ศึกษาให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา

“เมื่อกฎหมายกำหนดชัดเจน ให้กองทุนน้ำมันฯจะใช้ได้ต่อเมื่อเกิดวิกฤติการณ์พลังงานเท่านั้น นั่นหมายความว่า การใช้เงินกองทุนน้ำมันฯต้องเปลี่ยนไป จะใช้อุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพไม่ได้ ทั้งแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล เรื่องนี้จึงต้องมีการหารือเพื่อความชัดเจนในระดับนโยบาย เพราะภายใต้พ.ร.บ.นี้ เราต้องปรับวิธีการใช้เงินกองทุนฯใหม่ ” 

นอกจากนี้จะต้องวางทิศทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในมาตรา 26 ด้วย ที่ให้กองทุนน้ำมันฯมีเงินไม่เกินจำนวน 40,000 ล้านบาทรวมภาระเงินกู้ และให้ส้านักงานฯโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ และโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอ้านาจกู้ยืมเงินเป็นจ้านวนไม่เกิน 20,000 ล้านบาท ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีก้าหนด

ปัจจุบันสถานะกองทุนน้ำมันฯ ณ 21 กรกฎาคม มีเงิน 36,811 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมัน 43,158 ล้านบาท บัญชีก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ติดลบ 6,347 ล้านบาท

ส่วนการใช้เงินกองทุนน้ำมันฯชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพในปัจจุบัน ประกอบด้วย ชดเชยแก๊สโซฮอล์อี 20 อยู่ 0.79 บาทต่อลิตร อี 85 ชดเชย 6.38 บาท ดีเซลบี 10 ชดเชย 0.65 บาท ดีเซล บี 20 ชดเชย 4.5 บาท

ขอบคุณภาพปก จาก www.industry.go.th

 

Avatar photo