Politics

โพลนิด้าชี้ ‘นักการเมือง’ ตอบโต้ในสภา ดีกว่าใช้ ‘สื่อโซเชียล’

วันนี้ (27 ก.ค.) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “นักการเมืองแสดงความคิดเห็นตอบโต้กันผ่านสื่อโซเชียล” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23 – 25 กรกฎาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,279 หน่วยตัวอย่าง ในเรื่องที่เกี่ยวกับนักการเมืองที่ชอบแสดงความคิดเห็นตอบโต้กันผ่านสื่อโซเชียล เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม

ความรู้สึกของประชาชนต่อนักการเมืองที่ชอบแสดงความคิดเห็นตอบโต้กันผ่านสื่อโซเชียล

  • ร้อยละ 37.53 ระบุว่า น่าเบื่อ เมื่อไรจะเลิกสักที
  • ร้อยละ 19.16 ระบุว่า เป็นการพยายามเอาชนะทางการเมืองกันต่อหน้าสาธารณะ
  • ร้อยละ 17.36 ระบุว่า เป็นการใช้สื่อโซเชียลให้เป็นประโยชน์ทางการเมือง
  • ร้อยละ 9.85 ระบุว่า เป็นพวกที่พยายามทำตัว เป็นเน็ตไอดอล สร้างกระแสเรียกร้องความสนใจ และเป็นแค่ละครการเมืองน้ำเน่าฉากหนึ่ง
  • ร้อยละ 9.15 ระบุว่า เป็นความพยายามสื่อสารกับสาธารณะโดยตรง
  • ร้อยละ 6.41 ระบุว่า เป็นการเพิ่มบทบาททางการเมืองนอกสภาฯ
  • ร้อยละ 5.47 ระบุว่า เป็นพวกที่ไม่ทุ่มเทกับงานในสภาฯ
  • ร้อยละ 4.14 ระบุว่า เป็นพวกที่กลัวการเผชิญหน้า ขาดความกล้าหาญ
  • ร้อยละ 2.66 ระบุว่า เป็นการป้องกันความรุนแรงที่ไม่จำเป็นจากการเผชิญหน้า
  • ร้อยละ 4.46 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ รู้สึกเฉย ๆ ถือว่า เป็นเรื่องปกติ เป็นสิทธิส่วนบุคคล ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม และเป็นการใช้สื่อโซเชียลที่ไม่ถูกต้อง
  • ร้อยละ 11.88 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

a1 1

ความสนใจของประชาชนต่อการแสดงความคิดเห็นตอบโต้กันของนักการเมืองผ่านสื่อโซเชียล

  • ร้อยละ 38.16 ระบุว่า ไม่ค่อยให้ความสนใจ
  • ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ไม่สนใจเลย
  • ร้อยละ 24.78 ระบุว่า ค่อนข้างให้ความสนใจ
  • ร้อยละ 7.04 ระบุว่า ให้ความสนใจมาก
  • ร้อยละ 0.78 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ช่องทางที่นักการเมืองควรแสดงความคิดเห็นตอบโต้กัน

  • ร้อยละ 66.07 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็นตอบโต้กันอย่างเป็นทางการในสภาฯ
  • ร้อยละ 22.67 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็นตอบโต้กันผ่านสื่อกระแสหลัก เช่น ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ
  • ร้อยละ 16.34 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็นตอบโต้กันซึ่งหน้า
  • ร้อยละ 12.90 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็น ตอบโต้กันในเวทีสาธารณะต่าง ๆ เช่น งานสัมมนา เวทีปราศรัย ฯลฯ
  • ร้อยละ 9.07 ระบุว่า ควรแสดงความคิดเห็นตอบโต้กันผ่านสื่อโซเชียล
  • ร้อยละ 0.08 ระบุว่า ควรเเสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์สำหรับให้นักการเมืองมาแสดงความคิดเห็นโดยเฉพาะ
  • ร้อยละ 4.85 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

a2

Avatar photo