Technology

ไทย ใช้จ่ายด้าน ‘ไอทีเซอร์วิส’ ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียนรองจาก สิงคโปร์

บริษัทไอดีซี ที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลก คาดการณ์ตลาดไอทีเซอร์วิส (IT Services) ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2561 มีมูลค่าสูงถึง 47,000 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโต 9.3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่งผลให้มูลค่าตลาดรวมของทั้งปี 2561 อยู่ที่ 92,000 ล้านบาท โดยประเทศไทยมีมูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีเซอร์วิส ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของภูมิภาคอาเซียนรองจากประเทศสิงคโปร์

นำแคสเปอร์สกี้1

ปัจจัยที่ขับเคลื่อนให้มีการใช้จ่ายด้านไอทีเซอร์วิสในประเทศนั้นมีหลายปัจจัย ครอบคลุมในแทบทุกอุตสาหกรรม อาทิเช่น การมีบริการใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อคเชน หรือคริปโตเคอเรนซี ในภาคธุรกิจการเงิน การลงทุนและการพัฒนาด้านไอโอที โรโบติกส์ ออโตเมชัน และ โลเคชันเบสเซอร์วิสสำหรับการจัดการด้านโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้นในภาคโรงงานอุตสาหกรรม การริเริ่มใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการปรับปรุงพัฒนาการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในประเทศ

ยกตัวอย่างเช่น แผนการลงทุนในเทคโนโลยีตรวจสอบและจดจำใบหน้าออนไลน์ (online facial recognition system) ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ที่มีวัตถุประสงค์ในการลดขั้นตอนและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการลดโอกาสการเกิดข้อผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น

ตลาดไอทีเซอร์วิสในภาพรวม สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่

– Project-oriented market จะมีสัญญาการจ้างงานระยะสั้น ข้อเสนอและงานบริการปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า ความเป็นเจ้าของด้านสินทรัพย์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโอนย้ายระหว่างลูกค้าและผู้ให้บริการ และมีการสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นเป็นผลสำเร็จของงานที่คาดหมายไว้

20170725 L MEDIA

– Managed services market จะมีสัญญาการจ้างงานระยะยาว ข้อเสนอและงานบริการปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า สินทรัพย์บางส่วนจะมีผู้ให้บริการเป็นเจ้าของและรับผิดชอบดูแลแทนลูกค้า และการรักษามาตรฐานการให้บริการ (on-going service level agreement – SLA) และการปรับใช้ให้เหมาะสมถือเป็นผลสำเร็จของงานที่คาดหมายไว้

– Support services market จะมีสัญญาการจ้างงานระยะยาว ข้อเสนอและงานบริการเป็นรูปแบบมาตรฐานไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ความเป็นเจ้าของด้านสินทรัพย์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโอนย้ายระหว่างลูกค้าและผู้ให้บริการ และมีการแก้ปัญหาที่ตกลงไว้ได้สำเร็จถือเป็นผลงานที่คาดหมายไว้

ด้านปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการขยายตัวของตลาดไอทีเซอร์วิสในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2561 คือการริเริ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำดิจิทัลทรานสฟอร์มเมชัน ในด้านที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมเทคโนโลยี บิ๊กดาต้า เอไอ บล็อกเชน และการพัฒนาคลาวด์เบสแอปพลิเคชัน

นอกจากนั้นยังมีการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีขนาดใหญ่ ขับเคลื่อนโดยโครงการต่าง ๆ หลากหลาย อาทิเช่นโครงการสมาร์ทซิตี้ ที่ช่วยเพิ่มความต้องการงานไอทีเซอร์วิสในด้านงานที่ปรึกษา และงานรวมระบบ ให้กับอุตสาหกรรมการขนส่งและการก่อสร้าง ในขณะที่ธุรกิจการบริการส่วนบุคคลจะมีความต้องการการพัฒนาในเรื่องของแอปพลิเคชันในแบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้น

8970064388015

ในด้านฝั่งธุรกิจภาคการเงินการธนาคารก็มีความต้องการพัฒนาปรับใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับเอไอและบล็อกเชนสูงมากขึ้น และภาคโรงงานอุตสาหกรรมมีความต้องการใช้งานเทคโนโลยีด้านไอโอที ส่งผลต่อการเติบโตที่มีนัยยะของงานไอทีเซอร์วิสด้านงานที่ปรึกษาด้านเน็ตเวิร์คและงานรวมระบบ

หลาย ๆ องค์กรที่ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยน ทรานสฟอร์มองค์กร ให้ตอบรับกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และมีการวางแผนด้านเงินลงทุนรายปี โดยเฉพาะเพื่อการพัฒนาในด้านดิจิทัลนั้น มีความพยายามในการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น และเน้นในเรื่องของนวัตกรรม ทำให้งานด้านไอทีบางส่วนที่มีลักษณะงานประจำ ทำซ้ำ ๆ ภายในองค์กรเหล่านี้ถูกโอนย้ายไปจัดการโดยผู้ให้บริการภายนอก ซึ่งมีต้นทุนถูกกว่าการจ้างพนักงานเพื่อมาดูแลงานประจำเหล่านั้นโดยเฉพาะ และยังสามารถใช้ประโยชน์จากแรงงานด้านไอทีที่มีอยู่เพื่อบริหารจัดการงานที่ซับซ้อนมากขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามาในองค์กรได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ จากแนวโน้มของการย้ายโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีมาที่ระบบคลาวด์ส่วนตัวแบบออนพรีมิส (on-premise private cloud) ขององค์กรต่าง ๆ ทำให้เกิดความต้องการอัพเกรดระบบอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ให้ตอบสนองต่อการทำงานที่เปลี่ยนไปด้วย รวมไปถึงการเก็บรวบรวม คัดแยก และใช้ประโยชน์จากดาต้าหลากหลายที่มาและหลากหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มที่มาของแหล่งรายได้ให้กับองค์กรนั้น ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ มีการลงทุนในฮาร์ดแวร์จำพวก SOL server และ stimulation systems ตลอดไปจนถึงซอฟท์แวร์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และ อนาไลติกส์ เพิ่มมากขึ้น

Avatar photo