Business

ปั้นโมเดล ‘สร้าง ซื้อ ยืม ช่วยเหลือ’ สร้างแรงงานทักษะสูง อุดช่องโหว่ขาดแคลนแรงงาน

จากสถานการณ์แรงงานปัจจุบัน พบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถสูงมากที่สุดในรอบ 12 ปี รวมถึงบุคลากรที่มีทักษะใหม่ โดยมีปัจจัยจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ, การดึงข้อมูลจำนวนมหาศาลมาต่อยอดในธุรกิจ หรือ บิ๊กดาต้า ส่งผลให้ทักษะการทำงานแบบเก่าสูญหายและต้องปรับตัวให้รองรับกับทักษะใหม่

express entry Canada 08

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ในฐานะที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดแรงงานได้จัดทำกลยุทธ์การสร้างบุคลากรที่มีความสามารถสูง โดยกำหนด 4 ส่วนหลัก ได้แก่ “สร้าง ซื้อ ยืม ช่วยเหลือ” อันเป็นกลไกในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร ถือเป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์ขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพและผลลัพธ์รองรับการปฏิวัติทักษะ 4.0

จากการสำรวจนายจ้างกว่า 19,000 คน กว่า 94% ใช้กลยุทธ์การสร้างบุคลากรที่มีความสามารถสูง เพื่อมั่นใจว่าองค์กรจะมีบุคลากรที่มีทักษะตามความต้องการ และสามารถวางแผนที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มจำนวนบุคลากรได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

สำหรับกลยุทธ์การสร้างบุคลากรที่มีความสามารถสูง แบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบหลัก “สร้าง ซื้อ ยืม ช่วยเหลือ” ซึ่งการ “สร้าง” เป็นการลงทุนการเรียนรู้และการพัฒนา ส่วนการ “ซื้อ” คือไปยังตลาด เพื่อดึงดูดบุคคลที่มีความสามารถสูง ที่ไม่สามารถสร้างได้ภายในองค์กร ในส่วนของการ “ยืม” เป็นการสร้างชุมชนของผู้มีความสามารถสูงเหนือระดับองค์กร และ “ช่วยเหลือ” คือ การช่วยให้บุคลากรก้าวต่อไปข้างหรือก้าวสูงขึ้นในตำแหน่งงานใหม่ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

Chinas blue collar workers

เมื่อเจาะลึกในรายละเอียด เริ่มจากกลยุทธ์การ “สร้าง” เป็นการเพิ่มทักษะที่เป็นกระแสทำให้หลายองค์กรวางแผนสร้างบุคลากรที่มีความสามารถสูงภายในกลุ่มพนักงานของตนมากขึ้นกว่าเดิม และประมาณ 84% วางแผนที่จะเพิ่มทักษะของพนักงานของตนภายในปี 2563 จะเพิ่มขึ้นจาก 21% \และในปี 2564 บริษัทต่าง ๆ จะไม่สามารถคาดหวังได้ว่าจะพบบุคลากรที่มีความสามารถสูงได้ทันเวลา ถึงแม้จะยอมจะค่าตอบแทนสูงก็ตาม

ในส่วนของกลยุทธ์การ “ซื้อ” หลายองค์กรจะคุ้นชินกับการจ่ายเงินเพื่อหาบุคลากรที่มีทักษะตามที่ต้องการ แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากในตลาดแรงงานมีการแข่งขันสูง บุคลากรที่มีทักษะที่นายจ้างต้องการปรับเปลี่ยนรวดเร็วกว่าในอดีต บุคลากรที่มีความสามารถสูงที่เป็นที่ต้องการสามารถเรียกร้องสิทธิประโยชน์ค่าตอบแทนได้มากขึ้น

ขณะที่มีการพูดถึงว่าสถานการณ์การปรับค่าจ้างและค่าแรงงานขั้นต่ำไม่สามารถปรับเพิ่มค่าแรงของตนได้ หลายองค์กรยินดีที่จะจ่ายมากขึ้นเพื่อจ้างพนักงานที่มีทักษะความสามารถอย่างที่ต้องการและตอบโจทย์ธุรกิจที่สุด กว่า 29% เสนอให้เงินเดือนที่สูงขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการสรรหาบุคลากร และ 46% ยอมจ่ายในอัตราที่มากกว่าเพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานที่ตนมีอยู่

ทั้งนี้ปัญหาจะเกิดเพิ่มมากขึ้นเมื่อบุคลากรที่มีทักษะดังกล่าวไม่เพียงพอในตลาด ดังนั้นทางเลือกเดียวที่จะมาแก้ไขได้ คือ การสร้างบุคลากรเหล่านั้นขึ้นมา

employee

กลยุทธ์การ “ยืม” การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลได้สร้างวิธีการทำงานแบบใหม่และพนักงาน ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่สะดวกกับการทำงานแบบบางเวลา ทำงานเป็นสัญญาจ้างหรือเป็นรายโครงการมีจำนวนมากขึ้น และกำลังมองหารูปแบบแรงงานที่เป็นตัวเลือกแบบอื่น ๆ ซึ่ง 87% ของคนทำงานกล่าวว่าพวกเขาเปิดใจรับวิธีการทำงานของคนรุ่นใหม่เหล่านี้ แต่มีนายจ้างเพียง 32% ที่เสนอวิธีการทำงานที่เป็นทางเลือก

สุดท้ายกลยุทธ์การ “ช่วยเหลือ” ผลสำรวจพบว่า 56% ขององค์กร กำลังช่วยให้พนักงานของตนก้าวต่อไปข้างหน้าและเติบโตสูงขึ้น หรือมีบทบาทใหม่ทั้งภายในและภายนอกองค์กร และ ราว 47% ของนายจ้างกลุ่มนี้โยกย้ายพนักงานไปในส่วนต่าง ๆ ขององค์กร ในขณะที่ 27% ช่วยเหลือพนักงานที่มีทักษะที่ไม่ต้องการให้ไปทำหน้าที่ที่เหมาะสมกับภายนอกองค์กร

11 2

ที่สำคัญคือ บริษัทหรือองค์กรต้องสามารถปรับเปลี่ยน สร้างบุคลากรที่มีความสามารถสูงให้รวดเร็วกว่าที่ผ่านมา อีกทั้งต้องสร้างทีมงานที่ว่องไวสามารถทำงานได้หลากหลายและมีทักษะรอบด้าน โดยบุคลากรที่ต้องทำงานใหม่ด้วยทักษะใหม่ ต้องอาศัยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ส่วนบุคลากรที่ไม่พัฒนาต้องได้รับการพัฒนาเกี่ยวกับงานหรือได้รับความช่วยเหลือให้ย้ายไปอยู่ในส่วนอื่น

การเปลี่ยนแปลงในอนาคตทำให้เกิดตำแหน่งงานใหม่ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่องค์กรและบุคลากรต้องตระหนักในการพัฒนาทักษะความสามารถ รวมถึงปรับเปลี่ยนบุคลากรให้ตรงเหมาะสมกับงาน นับเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรและแรงงานจะต้องปรับตัวเตรียมพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในวันนี้ แล้วในอนาคตหน่วยงานหรือองค์กรของคุณเตรียมพร้อมหรือยัง …

Avatar photo