Branding

จับตาอนาคต ‘DTAC’ หลัง Telenor ควบรวมกิจการ Axiata

แวดวงธุรกิจโทรคมนาคมมีประเด็นสำคัญให้จับตามองอีกครั้ง เมื่อกลุ่ม Telenor บริษัทโทรคมนาคมจากประเทศนอร์เวย์ ตัดสินใจควบรวมกิจการกับ Axiata กลุ่มบริษัทโทรคมนาคมจากประเทศมาเลเซีย เพื่อการทำธุรกิจในทวีปเอเชียร่วมกัน ผ่านบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า “MergedCo” ซึ่ง Telenor ถือหุ้น 56.5% และ Axiata ถือหุ้น 43.5%

MergedCo

แน่นอนว่าประเด็นดังกล่าวนอกจากจะส่งผลต่อภาพรวมธุรกิจโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียเปลี่ยนไปแล้ว อีกเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจก็คืออนาคตของ DTAC หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพราะปัจจุบัน Telenor เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน DTAC ถึง 42.62%

dtac 4g2
Telenor จับมือ Axiata จะส่งผลอะไรบ้าง 

ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าการควบรวมกิจการครั้งนี้ของ 2 บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ จะเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เรื่องแรกเลยก็คือ MergedCo บริษัทตั้งใหม่ของ Telenor และ Axiata จะกลายเป็นกิจการโทรคมนาคมที่มีขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ของโลกทันที 

Axiata Group

ด้วย Telenor มีฐานลูกค้าจำนวนมากที่เปิดให้บริการในยุโรปและอีกหลายประเทศในเอเชีย ขณะที่ Axiata เองก็เป็นโอเปอเรเตอร์อันดับ 1 ของมาเลเซีย และมีการลงทุนในประเทศอื่นๆ เช่นกัน 

ดังนั้น หลังควบรวมกิจการแล้วเสร็จ จะส่งผลให้ MergedCo มีฐานลูกค้าในเอเชียรวมกว่า 300 ล้านราย ครอบคลุม 9 ประเทศ ได้แก่ ไทย, มาเลเซีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, เมียนมา, กัมพูชา, เนปาล, ศรีลังกา และอินโดนีเซีย

นอกจากนี้ คาดว่ากิจการจะมีมูลค่าสูงถึง 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าใกล้เคียงกับ Singtel ผู้เล่นรายใหญ่จากประเทศสิงคโปร์ (ปัจจุบันถือหุ้นใน ADVANC 23.32%) ที่มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ 

axiata 1 20180516210043 axiata.com

ทิศทางอนาคตของ DTAC

คำถามสำคัญที่หลายคนจับตามองเป็นพิเศษคงหนีไม่พ้นอนาคต DTAC ว่าหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร เมื่อตั้งบริษัท MergedCo แล้วเสร็จ โดยคาดว่าจะเรียบร้อยภายในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ 

ลำดับแรกเรามองว่าทิศทางการดำเนินธุรกิจของ DTAC น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น เพราะหากย้อนไปช่วง 2 -3 ปีมานี้ บริษัทประสบปัญหาเรื่องความคลุมเครือเกี่ยวกับแผนธุรกิจอย่างมาก บวกกับการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้ DTAC หล่นจากตำแหน่งเบอร์ 2 ในประเทศไทยไปเรียบร้อยแล้ว

Chamchuri Square 2009 09 04

ทั้งนี้ ก็เนื่องจากมีกระแสลือหนาหูว่า Telenor มีโอกาสที่จะถอนทุนออกจาก DTAC แล้วหันไปโฟกัสตลาดใหม่ๆ แทน อย่างไรก็ดี การควบรวมกิจการครั้งนี้ เป็นสัญญาณบวกที่ดีว่ากลยุทธ์ของ Telenor จะกลับมาเน้นตลาดเอเชียมากขึ้น ด้วยการผนึกกำลังกับบริษัทยักษ์ใหญ่ของภูมิภาค

เรื่องต่อมาคืองบลงทุนในอนาคตของ DTAC น่าจะคล่องตัวมากขึ้น เพราะนอกจากบริษัทใหม่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแล้ว MergedCo ยังสามารถทำ IPO ใหม่อีกรอบเพื่อระดมทุนมารุกตลาดได้อีกด้วย ซึ่งน่าจะช่วยลดความกังวลสำหรับแผนธุรกิจของ DTAC ได้พอสมควร ประกอบกับล่าสุด DTAC เพิ่งยื่นขอใบอนุญาตคลื่น 700 MHz อายุ 15 ปี โดยมีต้นทุนอยู่ที่ 17,600 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นก้าวแรกสู่การพัฒนาบริการเทคโนโลยี 5G อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป

w644

ด้านนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มองว่า การคว้าคลื่น 700 Mhz จะช่วยเติมเต็ม และทำให้ DTAC ขยายโครงข่ายครอบคลุมพื้นที่เท่ากับคู่แข่งขันในอีก 1 – 2 ปีข้างหน้า แต่อย่างไรก็ตาม คลื่น 700 Mhz อาจยังไม่เพียงพอต่อการให้บริการ 5G เพราะฉะนั้นบริษัทยังมีภาระใช้เงินในการลงทุนคลื่นอื่นต่อไป เพื่อรองรับบริการ 5G ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์ทิศทางอนาคตของ DTAC หลัง Telenor ควบรวมกิจการในเอเชียเท่านั้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อบริษัทมากน้อยแค่ไหน เราคงได้เห็นความชัดเจนในข่วงครึ่งหลังของปีนี้แน่นอนnor

Avatar photo