General

กรรมการมรดกโลกตีกลับ ‘แก่งกระจาน’ ให้เวลา 3 ปีพิจารณาใหม่

การเดินหน้าชี้แจง ของคณะผู้แทนไทยเป็นผลดี การพิจารณาของกรรมการมรดกโลก ยังให้โอกาสประเทศไทยได้จัดทำรายละเอียดประกอบการนำเสนอทางเทคนิค กลับมาอึกครั้งในช่วงเวลา 3 ปี

1984

ภายหลังที่ประชุมกรรมการมรดกโลกตั้งคณะทำงาน 6 ประเทศ ออสเตรเลีย นอร์เวย์ อินโดนีเซีย คิวบา ตูเนเซีย และคูเวต เพื่อหารือนอกรอบในกรณีกลุ่มป่าแก่งกระจาน แหล่งธรรมชาติของไทย นั้น

ล่าสุด เมื่อเวลา 16.40 น. ตามเวลาท้องถิ่น กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอใบจาน ที่ประชุมได้หยิบประเด็นกลุ่มป่าแก่งกระจานขึ้นมาพิจารณา โดยระบุว่า ให้ไทยไปทำข้อมูลเพื่มเติมอีก 3 อย่าง คือ

  1. ให้ดำเนินการเรื่องขอบเขต ระหว่างไทย และเมียนมา
  2. ให้ไปทำข้อศึกษาเปรียบเทียบเรื่องขอบเขตพื้นที่ที่ลดลงว่า ยังอยู่ภายใต้ข้อกำหนดตามระเบียบข้อที่ 10 ของการขึ้นแหล่งมรดกทางธรรมชาติ
  3. ให้ไปทำข้อกังวลเรื่องชุมชนในพื้นที่

1986

ทางด้านนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว หัวหน้าคณะผู้แทนไทย  กล่าวว่า ยังถือเป็นแนวทางที่ดีต่อประเทศไทย ที่ยังมีโอกาสได้ทำข้อเสนอทางเทคนิค เพื่อกลับมาขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกอีกครั้งในระยะเวลา 3 ปีนับจากนี้ ซึ่งคณะทำงานก็ต้องจัดทำเอกสาร และทำงานอย่างหนักเพื่อนำเสนอต่อสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (ไอยูซีเอ็น)  โดยจะต้องเสนอรายละเอียดต่างๆ ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563

นายสีหศักดิ์ บอกด้วยว่า การประชุมครั้งนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่มีข้อมติใหม่ๆ ให้ไทยไปจัดทำข้อเทคนิคต่างๆ  ทั้งการเจรจากับเมียนมาก็เป็นไปในทิศทางที่ดี ทำให้ในครั้งหน้าไทยมีแนวโน้มที่จะเสนอแก่งกระจานเป็นแหล่งมรดกโลกได้อีก

เรื่องที่ไทยต้องดำเนินการต่อไปคือ การขัอเสียงสนับสนุในการสรรหากรรมการมรดกโลก เพื่อให้ไทยมีโอกาสทำงานในเวทีนี้อย่างเต็มตัวต่อไป ซึ่งคณะทำงานให้ความสำคัญในทุกมิติ และไม่เร่งรีบจนเกินไป โดยคำนึงถึงชุมชนในพื้นที่ และผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่น่ายินดี คือ การขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น หรือ Tentative list มรดกทางวัฒนธรรมของไทย 2 แห่ง กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทปลายบัด จังหวัดบุรีรัมย์ และเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

1996

ทางด้านดร. รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กล่าวถึงรายละเอียดของการดำเนินงานนับจากนี้ว่า หากประเทศไทยต้องการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกจริง การขับเคลื่อนของทุกฝ่ายเป็นเรื่องจำเป็นต้องเร่งดำเนินการ

ขณะที่นายบวรเวท รุ่งรุจี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการเเห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก กล่าวว่า เรื่องที่น่ายินดีของไทยคือการขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น หรือ Tentative list มรดกทางวัฒนธรรมของไทย 2 แห่ง

นับจากนี้ประเทศไทยต้องดูเรื่องการอนุรักษ์ว่าครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ รวมถึง การบริหารจัดการที่ชุมชนต้องเข้ามามีบทบาท และจัดทำบทบัญญัติต่างๆ ภายใต้ชุมชนมีส่วนร่วม โดยไทยมีกำหนดที่จะต้องส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ สำหรับการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก ในเดือนกุมภาพันธ์  2564

Avatar photo