Economics

รอยัล ดัตช์ เชลล์ ย้ำ ‘ก๊าซ’ ทางออกแก้ปัญหามลพิษระยะยาว

เชื้อเพลิงฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากก็น้อย แต่ภายใต้ความเจริญเติบโต การไม่ใช้เลยดูจะเป็นเรื่องยาก  อะไรที่จะส่งผลกระทบน้อยที่สุดต่างหากที่จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด “รอยัล ดัตช์ เชลล์” ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของโลก ย้ำเทรนด์ “ก๊าซธรรมชาติ” ซึ่งกำลังเป็นทางเลือกสำคัญของหลายประเทศทดแทนถ่านหิน

Mr. Maarten Wetselaar ใหม่
นายมาร์เทน เวทเซลาร์

นายมาร์เทน เวทเซลาร์ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจก๊าซ และพลังงานใหม่ และกรรมการบริหาร รอยัล ดัตช์ เชลล์ ได้เล่าถึง “มลพิษทางอากาศ ปัญหาเร่งด่วนที่ไม่อาจมองข้าม” พร้อมเสนอทางออกแก้ปัญหาระยะยาว

มองปัญหามลพิษทางอากาศในเอเซีย

ในทุกปี ประชากรทั่วโลกถึง 7 ล้านคนโดยจำนวน 4 ล้านคนเป็นชาวเอเชีย เสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากมลพิษทางอากาศ นับเป็นตัวเลขที่สูงมาก มลพิษทางอากาศยังเป็นสาเหตุหลักทางธรรมชาติ ที่ส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆ ด้วย และผลกระทบในวงกว้างนี้เอง องค์การสหประชาชาติ จึงได้เรียกร้องให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการปัญหามลพิษทางอากาศ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปีนี้

เป็นที่ทราบดีว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ไม่ได้นิ่งนอนใจ และพยายามแก้ปัญหานี้ เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศแถบเอเชีย กำลังเติบโตตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของเมือง และความต้องการพลังงานที่สูงขึ้น ตัวอย่างของความพยายาม เช่น แผนปฏิบัติการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของรัฐบาลจีน ที่มีการตั้งเป้าคุณภาพอากาศในเมืองสำคัญในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยพบว่าวิธีการนี้สามารถลดปริมาณมลพิษอันตรายในบริเวณเมืองอุตสาหกรรมหลักในภูมิภาคต่าง เช่น ปักกิ่ง-เทียนจิน-เหอเป่ย รวมถึงพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เช่นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ลและแม่น้ำแยงซี

อย่างไรก็ดี สถานการณ์มลพิษทางอากาศในภูมิภาคเอเซียโดยรวม ยังไม่ดีขึ้นนัก และอาจแย่ลงในปีหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้มีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่กว่าเศรษฐกิจของทั่วโลกรวมกัน

ทั้งนี้ ประเทศในทวีปเอเเชีย สามารถบรรเทาปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยเร่งการเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทน พร้อมทั้งใช้ก๊าซธรรมชาติ และควบคุมจำกัดการพึ่งพลังงานจากถ่านหิน ซึ่งปล่อยมลพิษทางอากาศที่อันตราย เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สสารฝุ่นละออง และไนโตรเจนออกไซด์

“การลดมลพิษในอากาศนับเป็นภารกิจอันใหญ่หลวง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยภาครัฐบาล และผู้วางนโยบายเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและเมือง รวมถึงภาคประชาชนด้วย”

ปั๊มเชลล์ 1

วิธีการแก้ไขปัญหา

หนึ่งในตัวอย่างการแก้ปัญหา คือ การใช้เครือข่ายเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities Network) ซึ่งริเริ่มโดยประชาคมอาเซียน เพื่อช่วยเมืองต้นแบบทั้ง 26 เมือง ในการชี้ให้เห็นถึงปัญหาด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการขยายเมืองอย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างของแผน อยู่ภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างนิคมอุตสาหกรรมชลบุรี ซึ่งเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว และธุรกิจ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพ ร่วมมือกับเมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ในการพัฒนา โครงข่ายเมืองที่ยั่งยืนด้วยการใช้พลังงานทดแทนสำหรับผลิตไฟฟ้า

ทั้งนี้ในภาพรวมแล้ว ต้องการเสนอให้ ประชาคมอาเซียนจัดการ และเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคาดว่าในปี 2573 ประชาชนกว่า 90 ล้านคน จะย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเมือง โดยอาเซียนได้ตั้งเป้าหมาย สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเป็น 23% ในปี 2568 หรือเพิ่มขึ้นถึง 250% จากปี 2557

พลังงานทางเลือกหลัก

การใช้พลังงานทดแทนแก้ไขปัญหาได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะส่วนใหญ่ ใช้พลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้า คิดเป็น 20% ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของทั่วโลก

อุตสาหกรรมอย่างซีเมนต์ เหล็ก พลาสติก การขนย้ายสินค้าด้วยรถบรรทุก ทางเรือ และทางอากาศ ยังไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าได้ เพราะยังต้องใช้ไฮโดรคาร์บอนอยู่

ดังนั้น ก๊าซธรรมชาติจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพราะก๊าซธรรมชาติ ปล่อยมลพิษทางอากาศน้อยกว่าถ่านหิน 10 เท่า เมื่อนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า ซึ่งหลายประเทศในเอเชียต่างรับทราบเกี่ยวกับข้อมูลนี้

ยกตัวอย่าง ประเทศจีน แม้จะเป็นประเทศที่ใช้ถ่านหินมากถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณการใช้ถ่านหินทั่วโลก แต่ กรุงปักกิ่ง ก็ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติแล้วสำหรับการทำความร้อน ทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้นมากกว่า 70% ในช่วงเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณที่ดี จากประเทศอินเดียอีกด้วย จากแผนที่จะลดการทำงานของโรงผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน และใช้ก๊าซธรรมชาติภายในปี 2567 ในปีที่ผ่านมา สัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ของประเทศอินเดียคิดเป็น 50% ของพลังงานผสมผสานทั้งหมดในประเทศ

และคาดว่าความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในปีนี้ จะสูงขึ้น 9–11% โดยมีภาคอุตสาหกรรมขับเคลื่อนความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้อในปัจจุบัน ประเทศอินเดียมีคลังแอลเอ็นจีทั้งหมด 4 แห่ง และวางแผนขยายเพิ่มจำนวนคลังแอลเอ็นจีเป็น 11 แห่งภายใน 7 ปีข้างหน้านี้ โดยคาดว่าสามารถเริ่มดำเนินการคลังแอลเอ็นจี 2 แห่ง ได้ในปีนี้

ไทย เป็นอีกหนึ่งประเทศ ที่มุ่งหน้ารักษาสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติในพลังงานผสมผสานทั้งหมดของประเทศ ให้อยู่ที่ 50% ด้วยการลงทุนในท่อขนส่ง และคลังก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพลังงานแห่งชาติใน ระยะเวลา 5 ปี

prelude boat
เรือผลิตแอลเอ็นจีลอยน้ำ

ภารกิจที่ต้องดำเนินการ

สำหรับเชลล์ ก๊าซธรรมชาติ นับเป็นครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เชลล์ผลิต และเป็นแกนหลักของกลยุทธ์ในการผลิตพลังงานสะอาดยิ่งขึ้นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นให้แก่โลก เราตระหนักดีถึงคุณประโยชน์ที่ได้รับ อย่างไรก็ดี เชลล์ จะต้องทำงานให้หนักขึ้น เพื่อให้ก๊าซเป็นทางเลือกที่น่าสนใจของทุกประเทศทั่วโลก

การทำงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการฟุตพริ้นท์ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุม ถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างก๊าซมีเทน โดยเมื่อปีที่แล้ว เชลล์ ประกาศเป้าหมายควบคุมความเข้นข้มการปล่อยก๊าซมีเทน สำหรับน้ำมันและก๊าซให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 0.2% ภายในปี 2568

นอกจากนี้ เชลล์ ยังต้องทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติ เข้าถึงได้โดยลดต้นทุนตลอดทั้งห่วงโซ่ธุรกิจ ทั้งจากผลิตภัณฑ์ของเชลล์ ผู้ขุดเจาะ ผู้ผลิตจัดหาอุปกรณ์ และการขนส่ง

สำหรับความต้องการก๊าซธรรมชาติของทั่วโลกเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วยิ่งขึ้นตั้งแต่ปี 2553 โดยสัดส่วนความต้องการก๊าซธรรมชาติคิดเป็นประมาณเกือบ 45% ของความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นที่สูงที่สุดของเชื้อเพลิงทุกประเภท

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของความต้องการก๊าซธรรมชาติ ยังไม่เพียงพอที่จะทดแทนความต้องการใช้ถ่านหิน โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเซีย จากความเจริญรุ่งเรืองที่มาพร้อมกับสิ่งของเครื่องใช้หรูหราฟุ่มเฟือยมากมาย ทั้งบ้านใหม่ รถใหม่ และเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่คนในเอเซียต้องการ อย่างไรก็ตาม ความเจริญรุ่งเรืองนี้ จะไม่ยั่งยืนหากประชากรไม่มีสุขภาพที่ดี ดังนั้น อากาศที่สะอาด จึงไม่จัดเป็นความหรูหราฟุ่มเฟือย แต่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิต

:ขอบคุณภาพประกอบจากรอยัล ดัตช์ เชลล์

Avatar photo