The Bangkok Insight

วิจารณ์พลังงานหมุนเวียนมาช้าเกินเหตุ เปิดทางโรงไฟฟ้าใหญ่ทะลักเข้าแผน

แม้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี) 2018 จะผ่านคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)และคณะรัฐมนตรีไปเมื่อ 30 เมษายน 2562 แต่ก็อาจไม่จบ เป็นแผนที่ยังคงถูกวิจารณ์อย่างต่อเนื่อง ศุภกิจ นันทะวรการ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสุขภาวะ บอกว่า มีหลายเรื่องที่ต้องขอวิพากษ์

20181225 115645
ศุภกิจ นันทะวรการ

เรื่องที่ 1.แผนฉบับนี้ กำหนดพลังงานหมุนเวียน และการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานช้าเกินไป จึงมีโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นอีกมาก โดยพลังงานทดแทนเข้าระบบในช่วงปี 2561-2569 มีเพียง 2,822 เมกะวัตต์ ส่วน 11 ปีหลังมี 20,344 เมกะวัตต์ ซึ่ง 9 ปีแรก เปิดทางให้โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เข้าระบบถึง 14,883 เมกะวัตต์ ส่วน 11 ปีหลังเข้าระบบ 14,170 เมกะวัตต์ หากคิดเป็นมูลค่าการลงทุนโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ พบว่าต้องลงทุนอย่างน้อย 5 แสนล้านบาทในช่วงปี 2562 – 2569 โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ เข้าระบบในช่วง 9 ปีแรกถึง 10,356 เมกะวัตต์

ศุภกิจ 3

ต่อเนื่องจากประเด็นนี้เอง ความกังขาของศุภกิจ ยังรวมไปถึง การที่กระทรวงพลังงาน ดำเนินการผ่านคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานที่ประชุม อนุมัติให้บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่อาจจะมีการร่วมทุนกับกลุ่มเอกชนอื่นในอนาคต ได้รับสิทธิในการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ฝั่งตะวันตกถึง 1,400 เมกะวัตต์ โดยไม่ต้องมีการประมูล

ทดแทนโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอร์ยี่ 700 เมกะวัตต์ ของ บริษัท ราช ที่กำลังจะหมดสัญญาเดือนกรกฎาคม 2563 และให้อีก 1 โรงใหม่ 700 เมกะวัตต์ดำเนินการในพื้นที่ใกล้เคียงกัน กำหนดเข้าระบบปี 2567 และ 2568  เป้าหมายส่งไปเสริมความมั่นคงในภาคใต้

ซึ่งเรื่องนี้นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกมาระบุถึงเหตุผลว่า การอนุมัติดังกล่าว ได้ข้อตกลงที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศมากที่สุด  และได้ค่าไฟฟ้าในระดับต่ำ พร้อมทั้งมีความเหมาะสมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ตั้งในพื้นที่เดิมใน จังหวัดราชบุรี

นายศุภกิจ ย้อนกลับว่า การให้บริษัท ราช กรุ๊ป ดำเนินการ ถึง 1,400 เมกะวัตต์ โดยไม่ต้องมีการประมูล เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะจะรู้ได้อย่างไรว่า การไม่ต้องประมูลหมายถึงได้ค่าไฟฟ้าที่ต่ำที่สุด เหตุใดกระทรวงพลังงานจึงไม่ประมูล หรือ ไม่ตั้งเงื่อนไขให้ประมูลไว้ก่อน หากได้ราคาสูงกว่าที่บริษัทราช เสนอจึงค่อยให้บริษัทราชดำเนินการ

” หากจะทำเพื่อประโยชน์สูงสุดจริง ต้องคิดว่าทางไหนที่จะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลง เป็นภาระต่อระบบและประชาชนให้น้อยที่สุด ก็ควรต้องดำเนินการ มิใช้ให้เอกชนรายใดรายหนึ่งดำเนินการไปเลย ” 

เรื่องที่ 2.โซลาร์ภาคประชาชน ที่กำหนดรับซื้อ 1,000 เมกะวัตต์ใน 10 ปีหรือปีละ 100 เมกะวัตต์น้อยเกินไป และกำหนดราคารับซื้อที่ 1.68 บาทต่อหน่วยก็ต่ำเกินไป ขณะที่ประชาชนเสียค่าพลังงานไฟฟ้าถึง 1.8-3.9 บาทกว่าต่อหน่วย จึงเป็นสาเหตุให้ไม่เกิดการแรงจูงใจให้มีการสมัครเข้าโครงการเท่าที่ควร ประกอบกับประชาชนที่เข้าโครงการยังมีภาระต้องเปลี่ยนมิเตอร์กว่า 8,500 บาทอีกด้วย

ศุภกิจ 5

นายศุภกิจ ย้ำว่า หลายคนติดตามแผนพีดีพี เพราะแผนฉบับนี้ หากเป็นแผนที่ดี จะช่วยประเทศและประชาชนใน 4 เรื่องสำคัญ ประกอบด้วย

1.หากกระจายการจัดการและการผลิตพลังงานให้ท้องถิ่น จะทำให้ความเจริญ ลงไปสู่ระดับตำบลอย่างแท้จริง ทั้งการพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน การสร้างรายได้ และการจ้างงาน

2.ช่วยลดภาระโลกร้อน ลดการใช้น้ำ ลดการปล่อยฝุ่น และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3.ลดการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ได้ 60-80% ลดความขัดแข้งในพื้นที่ และลดปัญหาการโกงกิน ลดการผูกขาด และยังช่วยสร้างความเป็นธรรมให้สังคมได้ประโยชน์ร่วมกัน

4.เป็นการเสริมสร้างประชาธิปไตยด้านพลังงาน เพราะทุกภาคส่วนในสังคมจะมีส่วนช่วยในการผลิต และจัดการพลังงาน

ศุภกิจ 6

ศุภกิจ 7

ศุภกิจ 8

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight