Business

‘เอ็มไอ’ปรับลดตัวเลขโฆษณาปีนี้เหลือโต4%

นีลเส็น ประเทศไทย รายงานงบโฆษณาผ่านสื่อ 5 เดือน  (มกราคม-พฤษภาคม) ปี 2561 มีมูลค่ารวม 4.2 หมื่นล้านบาท ติดลบ 4.2%  เปรียบเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีมูลค่า 4.4 หมื่นล้านบาท  ตัวเลขดังกล่าวเป็นการสำรวจจากราคาโฆษณาเสนอขาย (rate card)  ของสื่อต่างๆ

โฆษณา

ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ เอ็มไอ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด ธุรกิจมีเดีย เอเยนซี กล่าวว่าจากการวิเคราะห์เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อของเอ็มไอ จากฐานข้อมูลของนีลเส็น และ DAAT  คำนวณโดยหักส่วนลดราคาโฆษณาที่ใกล้เคียงตัวเลขจ่ายเงินจริง ประเมินเม็ดเงินโฆษณา 5 เดือนแรกปีนี้ อยู่ 3.54 หมื่นล้านบาท ลดลง 6% เปรียบเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีมูลค่า 3.77 หมื่นล้านบาท

pawat MI
ภวัต เรืองเดชวรชัย

ช่วงมกราคมปีนี้ เอ็มไอประเมินอุตสาหกรรมโฆษณากลับมาเติบโตที่ 10%  เดือนมีนาคม ปรับตัวเลขเหลือทั้งปีเติบโต 6% แต่หลังจาก 5 เดือนแรกภาพรวมโฆษณายังติดลบ 6%  เนื่องจากเศรษฐกิจและกำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวสู่ภาวะปกติ

ปรับลดตัวเลขโฆษณาปีนี้เหลือโต4%

ดังนั้นปีนี้ประเมินว่าภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาคาดว่าจะเติบโต 4% มูลค่า 8.96 หมื่นล้านบาท เป็นการปรับลดตัวเลขเป็นครั้งที่2 นับจากต้นปี เนื่องจากหลายปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมโฆษณา เช่น โฆษณาช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018  เม็ดเงินโฆษณาไม่คึกคัก เนื่องจากโฆษณาจำกัดอยู่แค่ 9 สปอนเซอร์ที่ลงขันซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดเท่านั้น  ปีนี้่จึงมีสินค้าและบริการต่างๆ จัดแคมเปญบอลโลกไม่มากเท่า 4 ปีก่อน รวมทั้งกำลังซื้อยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ

โฆษณา

สำหรับงบโฆษณาเดือนพฤษภาคม 2561 เทียบปี 2560 รายสื่อ กลุ่มสื่อที่เม็ดเงินโฆษณา “ติดลบ” ประกอบด้วย  ฟรีทีวีรายเดิม ติดลบ 19% ,เคเบิล/ทีวีดาวเทียม ติดลบ 24% , หนังสือพิมพ์  ติดลบ 27%  ,นิตยสาร ติดลบ 38%

ส่วนสื่อโฆษณา ที่มีอัตรา“เติบโต“ในเดือนพฤษภาคมปีนี้  คือ สื่ออินเทอร์เน็ต เติบโต 16% ,สื่อโฆษณานอกบ้าน  เติบโต 1%  ,วิทยุ เติบโต 5%  และสื่อในโรงภาพยนตร์ เติบโต 17%

โฆษณา

ทีวีดิจิทัลช่องใหม่ยึดงบ 42%

สํานักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. รายงานมูลค่าการโฆษณาในช่องรายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในเดือนพฤษภาคม 2561 มียอดรวม 5,736 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าโฆษณาช่องรายการเดิมจำนวน 3,341 ล้านบาท หรือ 58% ของมูลค่าโฆษณาทั้งหมด และทีวีดิจิทัลช่องใหม่จำนวน 2,395 ล้านบาท หรือ 42% ของมูลค่าโฆษณาทั้งหมด

หากเปรียบเทียบมูลค่าการโฆษณาของเดือนพฤษภาคม 2561 กับเดือนเมษายน 2561 พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้นประมาณ 141 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.5% และหากเปรียบเทียบมูลค่าการโฆษณาของช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า พบว่า เดือนพฤษภาคม 2560 มีมูลค่าโฆษณาในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินประมาณ 5,571 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่ามูลค่าโฆษณาของเดือนพฤษภาคม 2561 ประมาณ 165 ล้านบาท

โฆษณา พ.ค. 2561

Avatar photo