CEO INSIGHT

‘Save the World’ แบบ ดาว เคมิคอล

ในฐานะหนึ่งในบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านวัสดุศาสตร์ ซึ่งได้แยกธุรกิจออกจาก ดาวดูปองท์ เป็นที่เรียบร้อยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา วันนี้ “ดาว” พร้อมแล้วสำหรับการดำเนินธุรกิจ ที่จะมาตอบโจทย์ และเข้าถึงผู้บริโภคในกลุ่มบรรจุภัณฑ์ โครงสร้างพื้นฐาน และผลิตภัณฑ์ดูแลผู้บริโภค ภายใต้การคำนึงถึงความ “ยั่งยืน” เพื่อให้ธุรกิจขององค์กรและพันธมิตรทางธุรกิจและสังคมเติบโตไปด้วยกัน พร้อม ๆ กับการดูแลและใส่ใจสิ่งแวดล้อม “เจฟ วูสเตอร์” ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืน ของบริษัท ดาว ให้สัมภาษณ์กับ The Bangkok Insight ถึงสิ่งที่จะทำหลังจากนี้ทั้งในประเทศไทย และทั่วโลกอย่างน่าสนใจ

thumbnail Jeff Wooster Photo
เจฟ วูสเตอร์

หลังแยกกิจการออกจาก “ดาวดูปองท์

แม้ว่า ดาวดูปองท์ (DowDuPont) จะแยกออกมาเป็น 3 บริษัท ได้แก่ ดาว (Dow) ดูปองท์ (DuPont) และคอร์เทวา อะกริไซแอนซ์ (Corteva Agriscience) ดาว ก็ยังเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท ครอบคลุมตลาดที่มีอัตราเติบโตสูงในปัจจุบัน

สิ่งที่เราจะมุ่งเน้นยังคงเป็นเรื่องของนวัตกรรม โดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง โชคดีมากที่ตนเองเริ่มทำงานที่ดาวในฝ่ายวิจัยและพัฒนามานานนับสิบปี ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับตลาดพลาสติกประเภทต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน

เรื่องที่กำลังทำต่อไปคือ การคิดเอาสิ่งต่าง ๆ มารวมกัน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้คิดค้นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่มีความยั่งยืนที่สุด ไม่ใช่แค่สมบูรณ์แบบสำหรับลูกค้าเท่านั้น แต่ต้องสำหรับห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทั้งระบบที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา

“เราต้องการให้มั่นใจว่า เมื่อออกแบบ และผลิตออกมา ผลิตภัณฑ์ของเราจะตรงตามความต้องการของทุกคนในห่วงโซ่อุปทาน  แต่การจะทำแบบนั้นได้จะต้องมีพันธมิตร และทำงานร่วมกันกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจถึงความต้องการของพวกเขา เพื่อให้แน่ใจว่าได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้สำหรับทุกคน ” 

ทิศทางของ “ดาว” ที่อยากจะมุ่งไปในอนาคต 

ต้องการขับเคลื่อนโซลูชั่นที่เหมาะสมสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่จะทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานแล้ว กลับเข้ามาอยู่ในมือของบริษัทที่สามารถเอาไปรีไซเคิลได้ นั่นหมายถึง เราจะต้องออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ที่ง่ายต่อการรีไซเคิลมากขึ้นปัจจุบัน ดาวจึงมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมาย ที่ช่วยให้ผลิตผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานในรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกัน และนำกลับมารีไซเคิลได้ง่ายกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น “นวัตกรรมโพลิเอททิลีน ลามิเนต (Polyethylene Laminate)” ที่ใช้โพลีเอทิลีนเป็นวัสดุเพียงชนิดเดียว สามารถถูกนำไปรีไซเคิลได้ 100%

และเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเพียงแผน แต่เป็นสิ่งที่เรานำออกสู่ตลาดแล้วเมื่อต้นปี 2561 ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก และได้รับการยอมรับอย่างล้นหลาม ลาตินอเมริกาเป็นตลาดหมายเลขหนึ่ง รวมไปถึงตลาดอื่น ๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เอเชีย และยุโรปด้วย

Midland Michigan USA 1

“ดาว” สื่อสารเพื่อขยายตลาดนวัตกรรมอย่างไร  

ต้องบอกว่าการสื่อสารทำได้ค่อนข้างง่าย แต่สิ่งที่ยากกว่า คือ การทำให้คนเปลี่ยนจากวัสดุที่พวกเขาใช้อยู่ในปัจจุบัน มาใช้ของใหม่ ถือเป็นส่วนยากที่สุดของทุกนวัตกรรมใหม่ อย่างผลิตภัณฑ์ใหม่ของดาว เรามีนวัตกรรมมาก่อน 2-3 ปีกว่าจะทำให้ตลาดรับรู้ว่าเป็นพลาสติกที่ “นำไปรีไซเคิลได้” แต่หลังจากที่ลูกค้านำไปใช้ก็จะสนใจ เมื่อได้เห็นถึงความสามารถในการรีไซเคิลแล้วเท่านั้น

“เราสร้างและคิดค้นผลิตภัณฑ์โดยนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อจัดการกับความท้าทายที่โลกเผชิญอยู่ แต่ในการนำไปปรับใช้นั้น ต้องได้รับการสนับสนุน ไม่เพียงแต่จากลูกค้าโดยตรงของเรา แต่ยังรวมถึงอีกหลาย ๆ ภาคส่วนที่อยู่ตามห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ”

2017 09 16 ICC 4 1

การทำให้คนเข้าใจ เกี่ยวกับการรีไซเคิลในไทยต่างกับสหรัฐอเมริกาอย่างไร  

อย่างน้อยต้องใช้เวลา 2-3 ปี เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลากว่าจะได้รับการยอมรับ ไม่ใช่เพียงมาบอกว่าจะทำเรื่องนี้เพียง 3 เดือน ถ้ายังไม่ได้ผล ก็จะเลิกทำ แต่จะต้องมีเวลาที่นานกว่านั้น เพื่อรอเวลาการได้รับการยอมรับ ซึ่งนานกว่าเวลาที่คุณใช้ฝึกอบรมคน และต้องฝึกและทำซ้ำ ๆ ไปอีก สิ่งสำคัญจึงต้องใช้เวลาในการสื่อสาร และต้องบอกซ้ำ ๆ ตอกย้ำถึงสิ่งที่เราทำออกมา จนกว่าจะกลายเป็นความคุ้นชินในที่สุด

เมื่อลูกค้าหยิบบรรจุภัณฑ์ที่มีป้ายติดเอาไว้ว่า ” รีไซเคิลได้ “ และนำไปไว้ในจุดที่มีหน่วยงานมาเก็บของที่สามารถเอาไปรีไซเคิลได้ ครั้งแรกอาจต้องอาศัยจิตสำนึก แต่เมื่อคุ้นเคยกับการทำแบบนี้ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวกเขาก็จะทำแบบนี้ไปโดยอัตโนมัติ ดังนั้นเราจะต้องอยู่กับการให้ความรู้ไปเรื่อย ๆ

ดังนั้นกระบวนการนี้จะสำเร็จได้ ต้องไม่ใช้การให้รางวัลหรือสิ่งของจูงใจ แต่สำเร็จได้ด้วยกระบวนการของการรับรู้ว่า ผลิตภัณฑ์สามารถรีไซเคิลและนำไปทำเป็นสินค้าใหม่ได้  ไม่ได้ไปลงเอยอยู่ที่หลุมขยะ หรือในสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป

ในสหรัฐอเมริกา และทั่วโลกพบว่า ผู้บริโภครู้ว่าการรีไซเคิลเป็นเรื่องดีที่ควรจะทำ ไม่ว่าพวกเขาจะต้องการหรือไม่ต้องการก็ตาม เพียงแต่ขึ้นอยู่กับว่าการทำนั้นมันง่าย สะดวกแค่ไหน และกลายเป็นนิสัยของพวกเขามากน้อยอย่างไร

“ต้องทำให้เป็นเรื่องง่าย แม้ว่าการนำของมาไว้ที่ร้านที่เป็นจุดวางบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลที่ใช้แล้ว ไม่ง่ายเหมือนกับเอาทิ้งลงถังขยะ ต้องอาศัยการให้ความรู้มากขึ้น และให้พวกเขาได้ประโยชน์จากการรีไซเคิล การทำผลิตภัณฑ์ใหม่จากวัสดุรีไซเคิล หรือบอกพวกเขาให้รู้ว่าเราสามารถจัดการกับก๊าซเรือนกระจกได้ ด้วยการรีไซเคิลพลาสติกจำนวนเท่าไร”

ยกตัวอย่างแรงจูงใจในบราซิล ที่เราไปทำวิจัยตลาดเมื่อไม่กี่ปีก่อนพบว่า บรรดาผู้บริโภคชาวบราซิลต่างกังวลเกี่ยวกับขยะ เพราะขยะสามารถเข้าไปอยู่ในท่อระบายน้ำและทำให้เกิดน้ำท่วมได้ เขาเชื่อว่าถ้าไม่ทิ้งขยะ แถวบ้านของเขาจะมีโอกาสเกิดน้ำท่วมน้อยลง ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นสิ่งที่เจาะจง และเป็นประโยชน์ส่วนบุคคลจริง ๆ เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้คนในบราซิลมากทำให้เห็นได้ว่าจะต้องเข้าใจตลาดท้องถิ่น เป็นเหมือนกับการทำความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างความสำคัญของฤดูฝนกับฤดูแล้ง

ด้วยเหตุนี้อาจจำเป็นต้องสื่อสารในเรื่องความแตกต่างของผลประโยชน์ หรือวิธีการที่จะทำสิ่งต่าง ๆ เพราะมีความต้องการอย่างเจาะจงของแต่ละชุมชนที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นในการสื่อสาร หากสามารถจัดหาประโยชน์แบบเฉพาะเจาะจงสำหรับบุคคลที่เข้าร่วมโครงการ ก็มีแนวโน้มที่พวกเขาจะร่วมมือด้วย

แต่แน่นอนย่อมไม่ง่าย เพราะจากการทำงานกับองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก ที่มุ่งเน้นในเรื่องให้ความรู้กับผู้บริโภค และทุกคนต่างเจอกับเรื่องติดขัดทั้งสิ้น แม้ผู้บริโภคจะให้ความสนใจในเรื่องของรีไซเคิล และคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่พวกเขาก็มีเรื่องสำคัญอย่างอื่นด้วยเหมือนกันที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน

อาทิเช่น การซื้อของชำ ซักรีดเสื้อผ้า ดูลูกทำการบ้าน อาบน้ำให้ลูก ๆ และพาเข้านอน วางแผนวันพักผ่อน นัดพบแพทย์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาต้องทำทุกวัน อาจเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่า การมาเรียนรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่พวกเขาไม่คุ้นเคย หรือต้องมาคิดอีกว่าจะรีไซเคิลได้อย่างไร ต่อให้คิดว่าเรื่องรีไซเคิลมีความสำคัญก็ตาม แต่ก็ไม่อยากเสียเวลาไปทุ่มเทให้ จึงเป็นหน้าที่ของดาวที่จะสร้างบรรจุภัณฑ์ซึ่งสามารถรีไซเคิลได้ และสร้างระบบที่ทำให้ลูกค้ารีไซเคิลได้ง่าย

“เราไม่หวังให้ผู้บริโภคต้องพยายามมากขนาดนั้น ต้องขับรถข้ามเมือง แยกขยะออกเป็นชนิดต่าง ๆ แยกถุงขยะตามสีของถังขยะ เพราะมีอยู่ไม่กี่ประเทศในโลกที่ต้องการจะทำแบบนั้น จึงเป็นความรับผิดชอบของเรา ที่จะพัฒนาโซลูชันที่ช่วยให้รีไซเคิลได้ และต้องทำให้มันง่ายพอที่จะทำให้ผู้บริโภคอยากจะทำด้วย เพราะการดึงการมีส่วนร่วมของพวกเขาถือว่ามีความสำคัญอย่างมากของกระบวนการนี้ รวมไปถึงการหาทางที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้ว กลับเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน “

AEPW logo

12 ปีในดาว สิ่งที่ทำแล้วประสบความสำเร็จที่สุด  

สำหรับตนเองแล้ว เรื่องที่น่าตื่นเต้นที่สุดตลอดระยะเวลา 12 ปีที่ทำงานด้านนี้ ก็คือการได้เห็นทั้งภาคอุตสาหกรรมตระหนักมากขึ้นถึงความสำคัญของความยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับดาวมาเป็นเวลานานแล้ว เพราะดาว ถือเป็นผู้นำตั้งแต่ต้นในเรื่องความยั่งยืน และเราก็เติบโตอย่างยั่งยืนมาตลอด 30 ปี ตั้งแต่ที่ผู้คนยังไม่พูดถึงเรื่องนี้ โดยที่ผ่านมาเกิดความร่วมมือมากมายของภาคธุรกิจทั้งในอุตสาหกรรมพลาสติกและอื่นๆ

ยกตัวอย่าง เจ้าของแบรนด์สินค้ากลุ่มใหญ่ประกาศจะใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิล 100% ภายในปี 2568-2573 หรือเมื่อช่วงต้นปี 2561 ที่ผ่านมาบริษัทระดับโลกและองค์กรกว่า 34 แห่ง ที่ดำเนินงานอยู่ทั่วทุกมุมโลก ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง ก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตรเพื่อกำจัดขยะพลาสติก หรือ Alliance to End Plastic Waste (AEPW) ให้คำมั่นถึงการสมทบเงินเกือบ 1,500 ล้านดอลลาร์ตลอด 5 ปี เพื่อนำไปพัฒนาและค้นหาโซลูชั่นที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการขยะพลาสติก รวมทั้งส่งเสริมทางเลือกในการจัดการกับพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้ว ถือเป็นรางวัลและไฮไลท์สำหรับการทำงานตลอด 12 ปี ด้านความยั่งยืนของตนเอง

คนจำนวนมากคิดว่าไม่ควรใช้พลาสติกเลย มากกว่าการใช้พลาสติกที่นำมารีไซเคิลได้  ถ้าหากพวกเขาทำแบบนั้น เพราะว่าแค่ไม่ชอบวัสดุ ก็จะเป็นเรื่องยากที่จะพูดคุย แต่หากตั้งเงื่อนไข หรือมีเหตุผลที่ต้องการที่จะกำจัดเฉพาะผลิตภัณฑ์ ก็สามารถมานั่งคุยกันถึงวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายที่เขาต้องการได้ เช่น คุยกันถึงทางเลือกที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า เป็นต้น เพราะพลาสติกอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดเสมอไป แต่มักจะเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีที่สุดที่ผู้คนมักเลือกขึ้นมา ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ คือ การป้องกันขยะและปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะจูงใจให้ผู้บริโภคอยากที่จะเข้าสู่ระบบ

ทั้งนี้ขอให้ดูตามความเป็นจริง ขณะที่เราไปซื้อของ ถ้าหากซื้อของชิ้นเดียว ก็อาจไม่ต้องใส่ถุงพลาสติก แต่หากซื้อ 10 อย่าง ถุงใบเดียวก็อาจใส่ไม่หมด จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะกำจัดถุงออกไปทั้งหมด สิ่งสำคัญก็คือ ผลิตถุงที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ ด้วยการทำให้พวกมันคงทนมากขึ้น ก็สามารถใช้ถุงพวกนี้เวลาที่ไปซื้อของครั้งใหม่ได้อีก หรือเอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งเรื่องนี้ถือว่ามีคุณค่ามากกว่า ทำให้มีแนวโน้มน้อยลงที่จะเจอกับถุงพวกนี้กลายเป็นขยะในสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากมัน และเก็บมันเอาไว้  นี่จึงเป็นเรื่องที่เราตระหนักเห็นความสำคัญของการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานขยะ เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง

ยกตัวอย่างเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาในสหรัฐฯ คือการที่ร้านสะดวกซื้อและปั๊มน้ำมัน ที่คนมักจะแวะเพื่อซื้อของกินและเครื่องดื่ม ไม่มีถังขยะสำหรับขยะที่รีไซเคิลได้ ดังนั้นหากเรามีขวด PET ที่เหมาะสมอย่างมากกับการรีไซเคิลและรีไซเคิลได้ง่าย แต่กลับไม่มีระบบการจัดเก็บ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น มันก็ถูกทิ้งลงในถังขยะ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อถังขยะเต็มก็คือ ขยะก็จะร่วงหล่นออกมา และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

วิธีปฏิบัติง่าย ๆ ก็คือ ก็ต้องเก็บของพวกนี้ออกจากสิ่งแวดล้อม อย่างการมีถังขยะอยู่ตามชายหาด เป็นที่มาให้ดาว ทำโครงการกับ “American Chemistry Council” นำถังขยะที่มีฝาปิดไปวางไว้ที่ชายหาดในฮาวาย ซึ่งมีลมแรงมาก และชายหาดนั้นก็เป็นที่นิยมมาก เต็มไปด้วยผู้คนมากมาย ทำให้ถังขยะเต็มถังเร็วมาก ถ้าหากถังขยะไม่มีฝาปิด ทุกอย่างในนั้นก็จะปลิว ร่วงหล่นออกมา ลงสู่พื้นชายหาด และลงไปในทะเล ดังนั้น ” ฝาปิดถังขยะ “ จึงเป็นทางแก้ปัญหาในเบื้องต้นแบบง่าย ๆ แต่ได้ผลดี

คนจำนวนมากคิดว่าไม่ควรใช้พลาสติกเลย มากกว่าใช้พลาสติกที่นำมารีไซเคิลได้  

ถ้าหากพวกเขาทำแบบนั้น เพราะว่าแค่ไม่ชอบวัสดุ ก็จะเป็นเรื่องยากที่จะพูดคุย แต่หากตั้งเงื่อนไข หรือมีเหตุผลที่ต้องการที่จะกำจัดเฉพาะผลิตภัณฑ์ ก็สามารถมานั่งคุยกัน ถึงวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายที่เขาต้องการได้ เช่น คุยกันถึงทางเลือกที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า เป็นต้น

เพราะพลาสติกอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดเสมอไป แต่มักจะเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีที่สุด ที่ผู้คนมักเลือกขึ้นมา ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ คือ การป้องกันขยะ และปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะจูงใจให้ผู้บริโภคอยากที่จะเข้าสู่ระบบ

ทั้งนี้ขอให้ดูตามความเป็นจริง ขณะที่เราไปซื้อของ ถ้าหากซื้อของชิ้นเดียว ก็อาจไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกได้ แต่หากซื้อ 10 อย่าง ถุงใบเดียวก็อาจใส่ไม่หมด จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะกำจัดถุงออกไปทั้งหมด  สิ่งสำคัญ ก็คือผลิตถุงที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ ด้วยการทำให้พวกมันคงทนมากขึ้น ก็สามารถใช้ถุงพวกนี้เวลาที่ไปซื้อของครั้งใหม่ได้อีก  หรือเอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นๆ ซึ่งเรื่องนี้ถือว่ามีคุณค่ามากกว่า ทำให้มีแนวโน้มน้อยลงที่จะเจอกับถุงพวกนี้กลายเป็นขยะในสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากมัน และเก็บมันเอาไว้

นี่จึงเป็นเรื่องที่เราตระหนักเห็นความสำคัญของการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานขยะ เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง ยกตัวอย่างเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาในสหรัฐ คือการที่ร้านสะดวกซื้อ และปั๊มน้ำมัน ที่คนมักจะแวะเพื่อซื้อของกิน และเครื่องดื่ม และไม่มีถังขยะสำหรับขยะที่รีไซเคิลได้

ดังนั้นหากเรามีขวด PET ที่เหมาะสมอย่างมากกับการรีไซเคิล และรีไซเคิลได้ง่าย แต่กลับไม่มีระบบการจัดเก็บ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น มันก็ถูกทิ้งลงในถังขยะ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อถังขยะเต็มก็คือ ขยะก็จะร่วงหล่นออกมา และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

วิธีปฏิบัติง่ายๆ ก็คือ ก็ต้องเก็บของพวกนี้ออกจากสิ่งแวดล้อม อย่างการมีถังขยะอยู่ตามชายหาด เป็นที่มาให้ดาว ทำโครงการกับ “American Chemistry Council” นำถังขยะที่มีฝาปิด ไปวางไว้ที่ชายหาดในฮาวาย ซึ่งมีลมแรงมาก และชายหาดนั้นก็เป็นที่นิยมมาก เต็มไปด้วยผู้คนมากมาย ทำให้ถังขยะเต็มถังเร็วมาก ถ้าหากถังขยะไม่มีฝาปิด ทุกอย่างในนั้นก็จะปลิว ร่วงหล่นออกมา ลงสู่พื้นชายหาด และลงไปในทะเล ดังนั้น ‘ฝาปิดถังขยะ’ จึงเป็นทางแก้ปัญหาแบบง่ายๆ แต่ได้ผลดีAsphalt road

แผนธุรกิจความยั่งยืนที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในไทย

แผนของเราในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ง่ายสำหรับการนำไปทำผลิตภัณฑ์ใหม่ และง่ายต่อการรีไซเคิล โดยเรามีโครงการมากมายสำหรับการรีไซเคิล เช่น บล็อกพลาสติก ที่นำพลาสติกที่ใช้แล้วมาทำเป็นสินค้าใหม่ นำมาใช้ในงานก่อสร้าง สำหรับสร้างโรงเรียน บ้าน เฟอร์นิเจอร์ และพื้นระเบียง

นอกจากนี้ยังมีโครงการถนนพลาสติกทั้งในไทยและประเทศอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากการนำขยะพลาสติกเข้ามาผสมกับยางมะตอย ช่วยให้ถนนมีความคงทน และมีอายุการใช้งานได้นานขึ้น หรือทำลานจอดรถ ซึ่งดาวทำงานร่วมกับพันธมิตรอย่างเอสซีจี บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เอสซี แอสเซท และซีพีออล โดยขณะนี้กำลังศึกษาเพื่อกระจายไปให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

PPP Plastic Group photo

พันธมิตรมีความสำคัญกับขับเคลื่อนของดาวแค่ไหน

เราทำงานร่วมกับพันธมิตรจำนวนมาก ทั้งในสถาบันการศึกษา และหน่วยงานรัฐบาล ดังนั้น การเป็นพันธมิตรทั้งกับภาครัฐ และเอกชน ถือเป็นตัวอย่างที่ดี ในการที่ร่วมมือกับผู้คนทั่วทั้งภาคอุตสาหกรรม โดยเรามีพันธมิตรด้านการจัดการขยะพลาสติก ซึ่งเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของบริษัทต่าง ๆ จากหลายประเทศที่มาจากทั่วโลก

โครงการส่วนใหญ่ที่เราทำกันนั้น จะมุ่งเน้นไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก ที่มีขยะพลาสติกหลุดเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา และบางพื้นที่ในลาตินอเมริกา

“ดาวทำงานในทุกพื้นที่ ที่มองเห็นโอกาส ในการป้องกันไม่ให้ขยะพลาสติก เข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อม ผ่านการใช้หลาย ๆ วิธี ทำให้เราทำงานหลากหลาย ทั้งองค์กรระดับโลก เอ็นจีโอระหว่างประเทศ และกลุ่มต่าง ๆ ที่มีแนวคิดดี ๆ ในการนำขยะพลาสติกออกจากสิ่งแวดล้อม “

สำหรับในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดาว มีโครงการเฉพาะ เช่น โครงการหนึ่งเกิดขึ้นในการประชุม Our Ocean Conference ที่ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ ปี 2561 ที่ผ่านมา ที่ดาว ได้ประกาศความร่วมมือกับแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ร่วมลงทุนก่อตั้ง กองทุนขนาด 100 ล้านดอลลาร์ ของ เซอร์คูเลท แคปปิตอล (Circulate Capital) บริษัทจัดการการลงทุนชั้นนำด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนด้านเงินทุนแก่บริษัท โครงการ และโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีเป้าหมายเพื่อป้องกันปัญหาขยะพลาสติกในทะเล

นอกจากนี้ยังสนับสนุนองค์กรต่าง ๆ ในการจัดการขยะ เช่น องค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายอาสาสมัคร เพื่อช่วยกันทำความสะอาดทะเล ชายหาด และชายฝั่งทะเลต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นระยะเวลาสองปี  และใช้ในการสนับสนุนโครงการเก็บและรีไซเคิลขยะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงสร้างความร่วมมือกับผู้นำชุมชนเมืองต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติงานบริหารจัดการขยะ

“หนึ่งในโครงการสำคัญ คือ การตั้งเครือข่ายที่จะมาทำงานร่วมกับองค์กรเล็ก ๆ ทั่วเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อพัฒนารูปแบบการทำธุรกิจแบบใหม่และโซลูชั่นใหม่ ๆ สำหรับการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก มีการจัดหาความช่วยเหลือเป็นวงกว้างในด้านเทคนิค ไปจนถึงการให้ความช่วยเหลือเจ้าของกิจการทั่วทั้งภูมิภาค เพื่อให้เจ้าของกิจการและบริษัทสตาร์ทอัพ สามารถพัฒนาแผนธุรกิจและรูปแบบการทำธุรกิจได้อย่างจริงจัง และหาวิธีที่จะสามารถเก็บขยะพลาสติกออกจากสิ่งแวดล้อม “

innate recycled PE

ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แห่งความยั่งยืนที่ดาวนำออกสู่ตลาด

เรายังคงมุ่งเน้นเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100% ต่อไป แต่จะมีสูตรเฉพาะเพื่อเพิ่มคุณสมบัติพิเศษให้กับบรรจุภัณฑ์ เช่น การผสมผสานระหว่างโพลีเอทิลีนและไวนิล แอลกอฮอล์ เป็น EVOH  (Ethylene Vinyl Alcohol) ซึ่งเป็นโคโพลิเมอร์ที่นิยมใช้สำหรับทำบรรจุภัณฑ์ สามารถรักษาคุณภาพ และยึดอายุของอาหารในหีบห่อ เช่น ป้องกันการการเหม็นหืนของถั่วในถุง รวมไปถึง โพลีเอทิลีน เพาซ์ (Polyethylene pouch) ถุงบรรจุภัณฑ์แบบยืดหยุ่น

อย่างไรก็ตามเราก็ไม่ได้เป็นบริษัทเดียวที่ทำ หลังจากเราผลิตโพลีเอทธิลีน เพาซ์ ออกมาก็มีบริษัทอื่นทำตาม แต่คิดว่าผลิตภัณฑ์ของเรายังคงมีคุณภาพเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันในท้องตลาด เพราะดาวใช้เวลาถึง 10 ปีในการพัฒนา จนเราพิสูจน์ให้ทั่วโลกได้เห็นว่าเป็นไปได้ ขณะที่หลาย ๆ บริษัทไม่ต้องการใช้เวลาขนาดนั้น

สิ่งที่พิสูจน์ได้อย่างหนึ่ง ก็คือเทคโนโลยีของเรามีความน่าสนใจ จึงไม่ได้คิดเรื่องคู่ต่อสู้ แต่เน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภครับรู้ได้ว่า “เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริงและยั่งยืน” และก็คิดในแง่ดีว่า การมีซัพพลายเออร์ใหญ่ 3-4 ราย นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกันออกมา จะช่วยกันรับประกันเทคโนโลยีใหม่ ย่อมดีกว่าทำออกมาเพียงคนเดียว

Dow RecycleReady PacXpert 72dpi 0

เทคโนโลยีใหม่มีต้นทุนที่เหมาะสม จะถึงมือผู้บริโภคได้อย่างไร

ผู้คนมักจะต้องการสิ่งที่ถูกกว่า แต่คงไม่สามารถทำได้ เพราะเราขายคุณค่า จากความพยายามในการเสนอคุณค่าที่ดีที่สุดให้ผู้บริโภค จึงไม่ใช่เรื่องของราคาถูกหรือแพง

อย่างไรก็ตามอยากจะอธิบายว่า หากเราซื้ออาหารราคาแพง หมายถึงบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มก็ต้องมีคุณภาพด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้อาหารนั้นสูญเสียคุณค่าไป นั่นหมายถึงเราต้องมั่นใจว่าบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณค่าต้องสัมพันธ์กับคุณค่าของของที่นำมาบรรจุด้วย

“เราไม่สามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ได้ทั้งหมด แต่สิ่งที่มุ่งมั่น คือ ทำวัสดุที่มีคุณค่า ที่สามารถรีไซเคิลได้ เพื่อให้คนนำวัสดุของเราไปใช้ให้มากที่สุด ทั้งเจ้าของแบรนด์ และผู้บริโภค”

การเติบโตของโพลีเอทิลีน เป็นดัชนีชี้วัดความตระหนักความยั่งยืนได้หรือไม่

โพลีเอทิลีนรีไซเคิลได้ 100% เติบโตอย่างมั่นคงในทุก ๆ ปี จากการที่ผู้บริโภคตระหนักมากขึ้น ในการใช้พลาสติกที่รีไซเคิลได้มากกว่าใช้ครั้งเดียวจบ และยืนยันว่าในความจริงแล้ว ผู้บริโภคยินดีจ่ายบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ เพราะนั่นคือ “ดีต่อฉันและดีต่อโลกใบนี้”

“สิ่งที่เราต้องการเห็นก็คือ แบรนด์เล็กแบรนด์น้อย ให้ความสำคัญกับประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลด้วยเช่นเดียวกัน บริษัท ดาว เอง เราตั้งมั่นที่จะเป็นผู้ประกอบการที่นำเสนอสิ่งที่ดีต่อโลกใบนี้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการคิดค้นพลาสติกแห่งความยั่งยืน และต้องการเห็นการขยายตัวของผู้นำพลาสติกรีไซเคิลไปใช้อย่างแพร่หลาย ไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างแท้จริง”

อย่างไรก็ตาม ปริมาณการใช้โพลีเอทีลีนรีไซเคิลที่เพิ่มขึ้นก็อาจจะยังไม่สามารถชี้วัดความตระหนักด้านความยั่งยืนได้ซะทีเดียว เพราะระบบจัดการนั้นสำคัญกว่า เช่น ในสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีการใช้พลาสติกต่อหัวประชากรสูงสุด แต่ขยะที่เข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมกลับน้อยกว่าประเทศที่มีการใช้พลาสติกไม่มากนัก จึงขอย้ำว่า เราจะใช้พลาสติกมากน้อยเท่าใดไม่สำคัญเท่ากับมีการบริหารจัดการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

ขอกล่าวตอนท้ายไว้อย่างหนึ่งว่า หัวใจสำคัญของการรีไซเคิล คือ เก็บและนำเข้าสู่ระบบการรีไซเคิลให้ได้ ไม่ใช่หยุดแค่เก็บขยะออกจากชายหาดเท่านั้น นอกจากนี้ จะต้องสร้างความตระหนักให้กับผู้บริโภคด้วย ให้เป็นผู้บริโภคที่มีความรับผิดชอบ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล หรือเจ้าของแบรนด์ ที่จะช่วยลดพลาสติกออกจากสิ่งแวดล้อม แต่จะจบลงที่ความรับผิดชอบของทุกคนที่จะช่วยกัน “Save the World”

 

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight