General

‘สผ.’ นำผู้แทนไทยขอเสียงสนับสนุน นั่ง ‘กรรมการมรดกโลก’ ยูเนสโก

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง ภายใต้อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เดินหน้านำคณะผู้แทนไทย ขอเสียงสนับสนุนจากประเทศสมาชิก ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ในการประชุมที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม 2562 ก่อนการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 22 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2562 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ravi
ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสผ.

อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติหรืออนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เริ่มดำเนินงานขึ้นเมื่อปี 2514 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือในหมู่รัฐภาคีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสม ทั้งด้านนโยบาย การบริหารเทคนิค และการเงิน เพื่อสงวนรักษา คุ้มครองและส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ที่มีความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติให้คงอยู่ต่อไป

ต่อมาในปี 2519 ได้จัดตั้ง “คณะกรรมการมรดกโลก” ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่พิจารณาจัดสรรความช่วยเหลือทางการเงินตามคำขอจากรัฐภาคี สำหรับดูแลแหล่งวัฒนธรรม และธรรมชาติที่มีความสำคัญระดับโลก พร้อมพิจารณาคุณสมบัติ และคำขอรับการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม และทางธรรมชาติ ให้เป็นมรดกโลก รวมทถึง การถอดถอนแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม และทางธรรมชาติที่อยู่ในภาวะอันตราย จากบัญชีรายชื่อมรดกโลก

ปัจจุบันองค์ประกอบของคณะกรรมการมรดกโลก ประกอบด้วยรัฐภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ จำนวน 21 ประเทศ โดยการคัดเลือกคณะกรรมการมรดกโลกจะดำเนินการคัดเลือกจากรัฐภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎการดำเนินงานสำหรับการประชุมสมัชชารัฐภาคีแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก

news 1749 890 520 20171116164437

การพิจารณาคัดเลือกคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อทดแทนกรรมการมรดกโลกที่หมดวาระลงจะจัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี ในการประชุมสมัชชารัฐภาคีแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกสมัยสามัญ ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งเบื้องต้น การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 22 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2562 และจะมีการคัดเลือกกรรมการมรดกโลกทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง จำนวน 9 ตำแหน่ง

ในส่วนของไทยนั้น เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีสมาชิกในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2530 โดยมีกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ และขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อกำกับและดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามพันธกรณีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก รวมถึงพิจารณาเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติเพื่อบรรจุไว้ในบัญชีมรดกโลก ผ่านคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก

ไทยเคยดำรงตำแหน่งกรรมการ ในคณะกรรมการมรดกโลก จำนวน 3 สมัย ดังนี้ สมัยที่ 1 ปี 2532 – 2538  สมัยที่ 2 ปี 2540-2546  และสมัยที่ 3 ปี  2552-2556

S 23412781
สถานที่จัดประชุม กรุงบากู อาเซอร์ไบจาน

แหล่งมรดกโลก คือ พื้นที่ หรือจุดหลักที่ได้รับคัดเลือกจากยูเนสโก เพราะมีลักษณะสำคัญทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่น และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามสนธิสัญญา

สถานที่เหล่านี้ถือว่าสำคัญต่อประโยชน์โดยรวมของมนุษยชาติ ซึ่งนับถึงเดือนกรกฎาคม 2561  มีมรดกโลกทั้งหมด 1,092 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก แบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 845 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 209 แห่ง และอีก 38 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท

อิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 54 แห่ง แม้ว่ายูเนสโก จะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 แม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม

มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศ ที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้รับการพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น

ssss

สำหรับประเทศไทย มีแหล่งมรดกโลกจำนวน 5 แหล่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

  • เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัย และเมืองบริวาร
  • นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร
  • แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
  • ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่

อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 ประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม มีมติเห็นชอบเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก ด้วยทรงคุณค่าแห่งเมืองโบราณขนาดใหญ่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายราว 1,700 ปี ต่อเนื่องยุคทวารวดีศตวรรษที่ 12 – 16 และวัฒนธรรมขอม โดยมีปรางค์ศรีเทพ ปรางค์สองพี่น้อง เขาคลังใน เขาคลังนอก ปรางค์ฤาษี และถ้ำเขามอรัตน์ และโดยเฉพาะ เจดีย์เขาคลังนอก ที่กรมศิลปากร ขุดแต่งเมื่อปี 2551 ต่อมาพบว่าเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบ ในวัฒนธรรมทวารวดี ที่บ่งชี้ถึงความรุ่งเรืองของศรีเทพในอดีต

กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำและปราสาทปลายบัด ตั้งอยู่ใน เขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นสิ่งก่อสร้างในอดีตที่แสดงถึงความเชื่อ และปรัชญา ในศาสนาฮินดู สะท้อนถึงภูมิปัญญาชั้นสูงในเลือกสถานที่ก่อสร้าง ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณปากปล่องภูเขาไฟ ที่ดับแล้ว ซึ่งข้อมูลจากศิลาจารึกและหลักฐานสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่พบภายในบริเวณปราสาทหินเขาพนมรุ้ง และที่เชิงเขาด้านทิศใต้ แสดงว่า พื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15

29512452 445651139187121 7886078808775166260 n
สีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว

นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังเห็นชอบให้นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อดีตเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีความเหมาะสมทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการสมัครคัดเลือกเป็นกรรมการมรดกโลก ในการประชุมสมัชชารัฐภาคีแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 22ช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้

การสมัครในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทย ในเวทีโลก และเป็นโอกาสที่ดี ที่ไทยจะมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ทั้งทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ

Avatar photo