Startup

สร้างวัฒนธรรม‘สตาร์ทอัพ’ในองค์กร มุ่งพัฒนา‘มัลติสกิล’

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาทำให้รูปแบบการทำงานต่างไปจากเดิม บริษัทต่างๆ เริ่มมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน มุ่งพัฒนาทักษะแรงงานที่จะตอบโจทย์องค์กรในยุค 4.0

ทรู ดิจิทัล พาร์ค จัดงานเสวนา Time for Thailand : Meet up #5 หัวข้อ Specialists or Generalists: what do employers really want? นำเสนอทิศทางตลาดแรงงานในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นประเด็นที่คนทำงานอยากรู้มากที่สุดในยุคนี้ ว่าจะต้องพัฒนาศักยภาพไปทางไหน จึงจะตอบโจทย์ตลาดได้ดีที่สุด

การเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในยุคดิจิทัล ทำให้ชีวิตการทำงานของคนในยุคนี้ปรับเปลี่ยนไปด้วยโดยโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่ง จากยุค Work-Life Balance สู่ยุค Work-Life Integration

ทรู ดิจิทัล พาร์ค สตาร์ทอัพ

พรรษชล จารุวร HR Business Partner จาก WorkVenture ผู้เชี่ยวชาญในตลาดการจ้างงาน ให้ความเห็นในมุมมองของสตาร์ทอัพ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจว่า ต้องการคนที่ทำอะไรได้หลากหลาย หลังจากนั้นต้องพัฒนาทักษะเพิ่มขึ้น

ยุคนี้มีการหลอมรวมชีวิตส่วนตัวกับการทำงานเข้าด้วยกัน (Work-Life Integration) เมื่อก่อนจะได้ยินคำว่า Work-Life Balance แต่ในปัจจุบันชีวิตการทำงานจะเป็นแบบ Work-Life Integration บริษัทจึงต้องทำให้พนักงานรู้สึกว่าได้ทำงานที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของตนเอง จะทำให้พนักงานอยากทำงานกับองค์กรต่อไป

สิ่งสำคัญของคนทำงานควรมีคือ can-do attitude เรียนรู้ไว และเข้ากับวัฒนธรรมขององค์กร การเป็นสตาร์ทอัพทำให้ต้องการคนที่ยืดหยุ่น กล้าเผชิญ และพร้อมจะเติบโตไปกับองค์กร

ทรู ดิจิทัล พาร์ค สตาร์ทอัพ

สร้างสตาร์ทอัพใน‘องค์กร’

อีกด้านหนึ่งแนวคิดเกี่ยวกับ Work-Life Integration นั้น อดิภัทร ชัยชนะสกุล รองผู้อำนวยการด้าน Organization Development & HR Innovation จาก บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมครบวงจร กล่าวว่ากลุ่มทรูได้เรียนรู้และปรับแนวทางของสตาร์ทอัพมาใช้

ด้วยการสร้าง “สตาร์ทอัพ” ขึ้นภายในองค์กร คิดเป็นประมาณ 20% ของบุคลากร 20,000 คน ปรับวัฒนธรรมการทำงานให้คล้ายสตาร์ทอัพ พัฒนาคนให้มีทักษะหลากหลาย (multi-skills) เพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งด้าน บุคลากรจะมีโอกาสทำงานอื่นนอกจากหน้าที่ประจำ เป็นการเสริมสร้างทักษะใหม่ (reskill) เพื่อรองรับอนาคต

“การทำงานจะมีสองงาน เหมือนเมเจอร์และไมเนอร์ ซึ่งหลายๆ คนสามารถเลือกไมเนอร์ให้ตรงกับ passion หรือความชอบได้”

ดร.อดิภัทร ย้ำว่าการเพิ่มความหลากหลายของทักษะต่างๆ ให้กับบุคลากร โดยเฉพาะ growth mindset หรือความพร้อมเรียนรู้ เพื่อพัฒนาไปพร้อมๆ กับองค์กร ทักษะความสามารถต่างๆ ต้องมีการเรียนรู้เพิ่ม ถ้ามี passion ก็จะพร้อมแก้ปัญหาและเติบโตไปกับวิชาชีพได้

ทรู ดิจิทัล พาร์ค สตาร์ทอัพ

พัฒนาทักษะรู้รอบด้าน

อานนทวงศ์ มฤคพิทักษ์ Head of People จาก Wongnai สตาร์ทอัพอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ให้มุมมองด้าน reskill ว่า จากเดิมการทำงานคิดแค่เพียงต้องรู้ลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่สมัยนี้และต่อไปในอนาคต จะต้องรู้หลายๆ

“เปรียบได้เหมือนกับซี่ของหวีที่มีเพิ่มมากขึ้น และอาจมีการปรับเปลี่ยนทุก 3-5 ปี ว่าจะเรียนรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติม”

ปัจจุบัน Wongnai มีพนักงาน ประมาณ 220 คน แบ่งเป็น specialist เช่น โปรแกรมเมอร์ บัญชี การตลาด ประมาณ 20% อีก 80% เป็น generalist  โดยเปิดโอกาสให้คนได้ทำงานในสิ่งที่ชอบหรือสนใจ ด้วย มีการสลับหน้าที่กัน เช่น คนที่ทำด้านคอนเทนท์สามารถทำด้าน  AE บริหารลูกค้าได้ด้วย หรือบางคนทำด้านการตลาด ก็สามารถทำงานด้านซัพพอร์ตได้ เป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานทำสิ่งที่ชอบจริงๆ

“เราพยายามจะดูแล People ของเรา ไม่ใช่แค่เป็นที่ทำงาน ที่ได้เงิน แล้วกลับบ้านไปในแต่ละวัน”

ทรู ดิจิทัล พาร์ค สตาร์ทอัพ

อานนทวงศ์  กล่าวแม้ Wongnai จะรับนักพัฒนาและคนทำคอนเทนท์เป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจัยหลักที่มองหาบุคลากรมี 4 ประการ คือ ทักษะความสามารถ ศักยภาพที่จะเติบโต ความเข้ากันกับองค์กร และจิตใจที่ดี ที่เติมพลังบวกแก่ทีมและองค์กร

“ทุกวันนี้ โลกก้าวไปเร็ว ประเด็นเรื่อง AI จะมาทำงานแทนคนหรือเปล่า ไม่เป็นปัญหาเลย เพราะหากเป็นคนเก่ง คนขยัน คนดี ก็อยู่ที่ไหนก็ได้”

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight