Economics

‘Aspern Smart City’ สู่วังจันทร์วัลเลย์ เมืองรักษ์โลก

เคยมีการบันทึกอย่างน่าตื่นเต้นไว้ว่า ในเดือนกรกฎคม 2520 กรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ อุณหภูมิสูงขึ้นไปถึง 48 องศาเซลเซียส 40 ปีผ่านไป คลื่นความร้อนในยุโรป กลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูร้อนช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน สัปดาห์นี้มีการเตือนภัยว่าอุณหภูมิจะขึ้นไปสูงถึง 40 องศาเซลเซียส

ร้อน

เมื่อภาวะโลกร้อนกำลังคืบคลานอย่างรุนแรงมากขึ้น ยุโรปตระหนักดีว่าต้องทำอะไรสักอย่าง และต้องเป็นความร่วมมือกันของทั่วโลก United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of Parties 21 หรือ การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ COP 21  เวทีการเจรจาระหว่างผู้นำประเทศจาก 196 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเมื่อปี 2558 มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 50,000 คน จากทุกภาคส่วนมาร่วมกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุม  เพื่อทำข้อตกลงเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ระหว่างประเทศสมาชิกจากทั่วโลก หลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดขึ้น จากวิกฤตโลกร้อน อาทิ ภัยแล้ง น้ำท่วม และพายุ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น

ร้อน2

มีการกำหนดเป้าหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลก ไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส จากระดับความร้อนก่อนยุคอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันภัยพิบัติร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น ภายใน ช่วง พ.ศ. 2593-2643 และจะมีการทบทวนความก้าวหน้าทุก ๆ 5 ปี

แม้จะไม่มีความก้าวหน้ามากนัก ในการลงมือทำของชาติต่างๆในการลดภาวะโลดกร้อนใน COP 24 ที่เมืองคาโตวีตเซ ประเทศโปแลนด์ เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา แต่แน่นอนว่าไม่มีใครถอยในเรื่องนี้

ร้อน5

วันนี้สิ่งที่ยุโรป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นทวีปที่ให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อม กำลังทำบางสิ่งบางอย่างเป็นต้นแบบให้ประเทศต่างๆทั่วโลก นั่นคือ การสร้างเมืองต้นแบบ ที่มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ที่เรียกว่า Smart City  เพื่อสร้างเมืองที่เต็มไปด้วยผู้คนพันธุ์ใหม่ ที่ใช้ชีวิตอย่างเบียดเบียนธรรมชาติน้อยที่สุด โดยคาดหวังว่าเมืองต้นแบบจะขยายเป็นจุดๆทั่วยุโรป ในทวีปอื่น และเชื่อมต่อเป็นผืนเดียวกันทั่วโลกในที่สุด

โดยเฉพาะออสเตรีย ที่ถูกขนานนาม “ผู้คนมีความสุขที่สุดในโลก” ที่ดึงดูดให้คนจากต่างที่ต้องการมาท่องเที่ยว และอยู่อาศัย  ก็ต้องการมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อน โดยสร้าง Aspern เมืองเล็กๆห่างจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย 15 กิโลเมตร เป็น Aspern Smart City เมืองใหม่ต้นแบบของออสเตรีย ภายใต้แผน 22 ปี (พ.ศ.2550-2572) บนพื้นที่ 1,500 ไร่ วางงบไว้ 507,500 ล้านบาท รองรับประชากรราว 30,000 ครัวเรือน

รอ้น9

จุดเด่นของ Aspern Smart City  ก็คือ ออกแบบเมืองที่พรั่งพร้อมไปด้วยเครือข่ายการขนส่งสาธารณะ เพื่อพาชาวเมืองไปยังจุดต่างๆภายในเมือง และการเดินทางออกนอกเมือง การจัดสรรพื้นที่ในเมืองก็เป็นแบบมิกซ์ยูส มีที่พักอาศัย มีพื้นที่การค้า และย่านพาณิชยกรรม มีโรงเรียน พื้นที่สีเขียว พื้นที่สาธารณะ และสันทนาการมากกว่า 50% ขณะเดียวกันกำลังสร้างศูนย์ Smart City Research โดยบริษัทซีเมนส์ ตอนนี้เมืองกำลังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเริ่มมีคนรุ่นใหม่มาอยู่อาศัยมากขึ้น ปัจจุบันประมาณ 7,000 คนเป็นชาติต่างๆกว่าครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นคนออสเตรีย

สิ่งที่นำพาคนมาอยู่ที่นี่ นอกจากเป็นเพราะเขาตระหนัก ถึงการมีส่วนร่วมลดภาวะโลกร้อนอย่างจริงจังแล้ว รัฐบาลก็เข้ามาสนับสนุนด้วย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้คนรักษ์โลกได้อยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย รถไฟฟ้า รถบัสรองรับผู้คนเข้าออกนอกเมืองด้วยตั๋วราคาถูก เพื่อลดการใช้รถยนต์ สนับสนุนการเดิน และจักรยาน

ร้อน8

ส่วนการผลิตพลังงานก็มาจากแสงอาทิตย์บนหลังคาทุกอาคาร ป้อนภายในเมือง ลดการพึ่งพาจากระบบภายนอก สร้างอาคารอยู่อาศัยแนวดิ่งสี่ชั้นให้ขึ้นลงสะดวกโดยไม่ต้องใช้ลิฟท์ ราคาซื้อขาย 3,000 ยูโรต่อตารางเมตร แต่ละห้องมีการบอกถึงข้อมูลการใช้พลังงานของตนเอง เทียบกับการผลิตของเมือง เพื่อให้ทุกคนใช้พลังงานต่ำกว่าที่เมืองผลิต บ้านไหนใช้ได้ต่ำกว่าราคาจะถูกกว่า ขณะที่บ้านใช้ไฟมากก็จะเก็บส่วนต่างในราคาแพงขึ้น และขาดไม่ได้ คือ การจัดการขยะตามหลัก 3R หรือ Reduce Reuse Recycle หลักคลาสสิกที่เมืองนี้นำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม

ร้อน6แนวทางการพัฒนาเมืองนี้ นาย Eugen Antalovsky Managing Director ,Urban Innovation Viena บอกว่าหัวใจสำคัญของการพัฒนา Smart City ของ Aspern  มี 3 ห่วงที่เกาะเกี่ยวกัน ก็คือ คุณภาพชีวิตของผู้คนในเมือง นวัตกรรม และทรัพยากรต่างๆที่เป็นส่วนประกอบในเมืองนี้ อาทิ ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พลังงานหมุนเวียน อาคารประหยัดพลังงาน เป็นต้น

อีเก้น
Eugen Antalovsky

เขา บอกเทคนิคของการพัฒนา Smart City ว่าต้องให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบเมือง อย่างที่เขาต้องการ ทำให้การพัฒนาเมืองเดินหน้าไปได้อย่างยั่งยืน และแน่นอนโครงการเหล่านี้ต้อง Top Down หมายถึงต้องนำโดยนโยบายรัฐ ตั้งบริษัทร่วมลงทุนกับภาคเอกชน

“หัวใจสำคัญคือต้องให้ชาวเมืองเข้ามาร่วมในการพัฒนาเมือง ตั้งแต่การออกแบบ เพราะแนวคิดของเขาอาจจะมีอะไรดีๆที่เรานำมาปรับใช้ได้ เพราะการให้คนเข้ามามีส่วนร่วม จะทำให้เขาเป็นเจ้าของเมืองอย่างแท้จริง นี่แหละคือการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ”   

จากการสำรวจของเรา พบว่าอย่างน้อยก็ไม่มีการแจก หรือ ซื้อน้ำขวดพลาสติกใดๆในเมืองนี้ หากจะกินน้ำต้องมีแก้วมาเองเท่านั้น ขยะก็เลยไม่ถูกทิ้งเกลื่อนกลาดให้เห็น ดังนั้น 3R ของแต่ละที่ จึงเห็นผลแตกต่างกันอยู่ที่การลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังเท่านั้น ส่วนผู้คนที่นี่ ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ต้องการมีส่วนร่วมในการดูแลโลกใบนี้ เขารักที่จะเดิน หรือขี่จักรยานมาต่อรถไฟฟ้า หรือรถบัสเข้าเมือง มากกว่าใช้รถส่วนตัว และยินดีกับวิถีชีวิตแบบรักษ์โลก

ร้อน7

เมื่อย้อนกลับมาดู Smart City ของไทย นางหงส์ศรี เจริญวราวุฒิ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เพื่อเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซีไอ) บอกว่า Smart City แม้จะมีหลักเดียวกัน คือ เมืองที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันเศรษฐกิจก็ขับเคลื่อนไปได้ แต่จะมีจุดเน้นที่แตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่ แต่ละประเทศ

นางหงษ์
หงส์ศรี เจริญวราวุฒิ

สำหรับที่ Aspern Smart City  เป็นต้นแบบหนึ่งในการพัฒนาจันทร์วัลเลย์ 3,000 ไร่ ที่เราจะทำให้เป็น Smart City แต่ของเรามุ่งเน้นในด้านนวัตกรรม

แนวทางการพัฒนาจันทร์วัลเลย์ จะเปิดพื้นที่เช่าให้ทุกภาคส่วนเข้ามาใช้งาน เพื่อเป็นสถานที่คิดค้นพัฒนาและทดสอบ (Sandbox) ปัจจุบันเป็นช่วงของการวางโครงสร้างพื้นฐาน และก่อสร้างอาคารต่างๆรองรับภารกิจคิดค้นวิจัย โดยปตท.วางงบดำเนินการไว้รวม 3,000 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563-2564

จะเป็นปีที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) องค์กรขับเคลื่อนหลัก ซึ่งเป็นพันธมิตรของปตท. เริ่มมาใช้พื้นที่นี้ รวมไปถึงบริษัทยักษ์ในวงการเทคโนโลยี ที่ปตท.กำลังดึงมาเป็นพันธมิตร เข้ามาใช้พื้นที่ที่เรียกว่า Innovation Zone ที่จัดสรรไว้ 400 ไร่ เช่น กลุ่มหัวเว่ย และจีอี เป็นต้น

ร้อน3

นางหงส์ศรี ย้ำว่า สิ่งที่เราต้องการให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุน ก็คือ การวางโครงข่ายคมนาคมให้เชื่อมมาถึงจุดนี้ เช่น รถไฟความเร็วสูง วิ่งจากอู่ตะเภา จังหวัดชลบุรี มาถึงวังจันทร์วัลเลย์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้คนที่จะเข้าๆออกๆ โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัยจากทั่วโลก ที่จะมาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ หากเขามีคุณภาพชีวิตที่ดี ย่อมหมายถึง “เขาจะอยู่ได้ยาว”

โดยวังจันทร์วัลเลย์ จะรองรับคนได้ราว 5,000 คนเลยทีเดียว จากที่มีเข้ามาแล้วประมาณ 1,000 คน เพราะ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)  และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ ( KVIS ) ส่วนหนึ่งของวังจันทร์วัลเลย์ ตั้งอยู่ในบริเวณนี้ ซึ่งกินพื้นที่ไปราว 1,200 ไร่

Aspern Smart City มีจุดเด่นในเรื่องโครงข่ายคมนาคมขนส่ง ทำให้ผู้คนพร้อมจะมาใช้ชีวิตที่ Smart City เราก็อยากให้มี เช่น รถไฟความเร็วสูงวิ่งจากอู่ตะเภา จังหวัดชลบุรี ”

สำหรับในระยะยาว ปตท.กำลังสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับชุมชน ที่จะเข้ามาบนพื้นที่ประมาณ 150 ไร่ ที่เรียกว่า Community Zone ประกอบด้วย ที่พักอาศัยทั้งแบบคอนโดมิเนียม และโรงแรม รวมถึง โรงพยาบาล โรงเรียนนานาชาติ ห้างสรรพสินค้า สถานที่สันทนาการรองรับ เป็นต้น  ซึ่งจะจับมือกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านต่อไป

“ตอนนี้วังจันทร์วัลเลย์เปลี่ยนไปมาก จากเคยเป็นพื้นที่แล้ง มาเป็นเมืองนวัตกรรมของประเทศ ที่กำลังเป็นรูปเป็นร่าง เราเชื่อว่าคงใช้เวลาเพียงครึ่งหนึ่งของ Aspern Smart City  หรือ 10 ปีในการพัฒนาวังจันทร์วัลเลย์ ให้เป็น Smart City ต้นแบบของประเทศ รองรับไทยแลนด์ 4.0 ”

 

ร้อน14

ส่วนชุมชนรอบข้างจะได้อะไรบ้างนั้น  นางหงส์ศรี ย้ำว่า เราได้เข้าไปพัฒนาโรงเรียนที่อยู่ใกล้เรา 2 แห่งก่อนจาก 10 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านยุบตาเหน่ง และโรงเรียนวัดป่ายุบ  เป้าหมายต้องการให้เด็กจากทั้งสองโรงเรียนเมีผลการเรียนดีขึ้น และมีอัตราการเรียนต่อมากขึ้น เพื่อยกระดับไปสู่การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ รองรับการพัฒนานวัตกรรมของประเทศในอนาคต

“ การมีส่วนร่วม ทำได้หลายระดับ ของเราไปตั้ง ก็ต้องไปบอกชุมชนรอบข้างว่าจะทำอะไร แต่แน่นอนว่า เด็กๆที่อยู่โดยรอบพื้นที่จะได้รับการดูแล ส่วนชุมชนจะได้รับประโยชน์จากการมีโอกาส ได้งานทำใกล้บ้าน หรือการค้าขาย เพราะจะมีผู้คนเข้ามาอยู่อย่างคึกคัก ”

Avatar photo