World News

จับตาประชุมจี7 ที่อาจกลายเป็น 6+1

บรรดาผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ชาติ (จี7) พากันมุ่งหน้าสู่แคนาดา เพื่อร่วมการประชุมที่จะเปิดฉากขึ้นในวันนี้ (8 มิ.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น ท่ามกลางการจับตามองว่า การประชุมจะกลายเป็น 6+1 จากความแตกแยกครั้งรุนแรงสุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ 42 ปีของการก่อตั้งกลุ่มนี้ ผลจากนโยบาย “อเมริกาที่หนึ่ง” ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์000 14317G

ในความพยายามที่จะฟื้นฟูอุตสาหกรรมอเมริกาขึ้นมา รัฐบาลสหรัฐ ภายใต้การนำของทรัมป์ได้ประกาศจัดเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก และอลูมิเนียมในระดับสูงจากประเทศต่างๆ จำนวนหนึ่ง รวมถึง จากชาติพันธมิตรจี7 อย่าง แคนาดา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (อียู)

ทรัมป์ยังขู่ที่จะใช้กฎหมายความมั่นคงของประเทศ เพื่อจัดเก็บภาษีแบบเดียวกันนี้ ต่อรถยนต์นำเข้า ทั้งยังถอนตัวออกจากข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมถึงข้อตกลงที่จะป้องกันอิหร่านไม่ให้สร้างอาวุธนิวเคลียร์

ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส ระบุว่า ชาติจี7 จะยังปฏิบัติต่อสหรัฐด้วยความสุภาพ และสร้างสรรค์ แต่เตือนว่า “ไม่มีใครเป็นผู้นำได้ตลอดกาล” ถือเป็นการส่งสัญญาณว่ายุโรปจะไม่ยอมโอนอ่อนอย่างราบคาบต่อสหรัฐ

“บางทีประธานาธิบดีอเมริกันอาจจะไม่สนใจถึงการถูกโดดเดี่ยวในวันนี้ แต่ถ้าจำเป็น เราก็ไม่สนใจที่จะมีแค่ 6 ประเทศ เพราะทั้ง 6 ประเทศนี้ เป็นตัวแทนถึงเศรษฐกิจแบบตลาด และเหนืออื่นใด เป็นตัวแทนถึงขุมกำลังที่แท้จริงในระดับโลกในทุกวันนี้”

จับตาประชุมจี7 ที่อาจกลายเป็น 6+1

ขณะที่นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด แห่งแคนาดา คาดการณ์ว่า การประชุมครั้งนี้น่าจะมีการหารือในเรื่องการค้าอย่างเข้มข้น

อย่างไรก็ดี ชาติสมาชิกจี7 จำนวนหนึ่ง อย่างญี่ปุ่น และอิตาลี มีแนวโน้มน้อยมากที่จะแสดงออกถึงการท้าทายต่อประธานาธิบดีสหรัฐ

ทรัมป์โต้กลับฝรั่งเศส-แคนาดา

ทางด้านทรัมป์ ก็ได้ทวีตข้อความตอบโต้ความเห็นของผู้นำฝรั่งเศส และแคนาดาว่า ทั้ง 2 ประเทศ เรียกเก็บภาษีจำนวนมหาศาลต่อสินค้าสหรัฐ และทำให้เกิดกำแพงการค้าในรูปแบบอื่นๆ ขึ้นมา และว่ากำลังตั้งตารอคอยที่จะได้เจอกับพวกเขา

ผู้นำสหรัฐ ยังส่งสัญญาณด้วยว่า เขาไม่อยู่ในอารมณ์ที่จะประนีประนอมใดๆ ระหว่างการพบกับนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ แห่งญี่ปุ่น ผู้ที่พยายามจะแสดงถึงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับทรัมป์

จับตาประชุมจี7 ที่อาจกลายเป็น 6+1

ระหว่างการหารือที่สหรัฐนั้น ทรัมป์ได้ยกประเด็นเรื่องรถยนต์นำเข้าขึ้นมาหารือกับผู้นำญี่ปุ่น และว่า เขาต้องการที่จะให้ญี่ปุ่นมีการลงทุนในโรงงาน ที่ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมของสหรัฐ ในรัฐมิชิแกน เพนซิลเวเนีย และโอไฮโอ มากขึ้น

อดีตเพื่อนสนิท

อาเบะไม่ได้เป็นผู้นำเพียงรายเดียว ที่พยายามที่จะแสดงออกฉันท์มิตรกับทรัมป์ แต่พบกับความล้มเหลว เพราะแม้แต่ผู้นำฝรั่งเศสเอง ก็แสดงออกถึงความต้องการที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามต่อสหรัฐ ด้วยการระบุว่า ผู้นำ “จี6” จะไม่จุดชนวนให้เกิดความเบาะแว้งในที่ประชุม

จับตาประชุมจี7 ที่อาจกลายเป็น 6+1
เอมมานูเอล มาครง

“ในสภาพการณ์เช่นนี้ เหนืออื่นใดเลย พวกเราจะต้องรักษาความสุภาพ พยายามที่จะทำให้เกิดความสร้างสรรค์ และพยายามที่จะสร้างความมั่นใจว่า ต้องรักษาสหรัฐเอาไว้ในกลุ่มให้ได้ เพราะสหรัฐคือพันธมิตรในประวัติศาสตร์ของเรา และเราต้องการเขา”

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight