Travel

ไขทุกข้อสงสัย! นำ ‘ของเหลว’ ขึ้นเครื่องบินต้องทำยังไงกันแน่

ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ประกาศเรื่อง “หลักเกณฑ์การตรวจค้นของเหลว เจล สเปรย์ ที่จะนำขึ้นบนห้องโดยสารอากาศยาน หรือนำเข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามบินสาธารณะ พ.ศ. 2562” จะเริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ในฐานะผู้ออกกฎดังกล่าว จึงต้องออกมาย้ำชัดๆ อีกครั้งว่า สรุปแล้วของเหลวประเภทไหนพกขึ้นเครื่องได้บ้าง และต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์แบบไหนจึงถูกต้อง ไม่โดนตีตกลงถังขยะ ก่อนจะได้ออกเดินทาง

fig 09 04 2019 15 06 50

สำหรับนิยามคำว่าของเหลว เจล สเปรย์ (Liquids,Aerosols ang Gel ; LAGs) ตามประกาศใหม่ของ กพท. ก็คือของเหลวในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำ เครื่องดื่ม หรือ “อาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก” อย่างซุป น้ำเชื่อม แยม น้ำจิ้ม น้ำพริก ตลอดจน “เครื่องสำอาง” ครีม โลชั่น เจลใส่ผม สเปรย์ น้ำหอม รวมถึง “วัตถุหรือสารที่มีส่วนผสมทั้งของแข็งและของเหลว” เช่น มาสค่าร่า ลิปสติก ยาหม่อง

ใครจะนำของเหลวขึ้นเครื่องต้องจำ 3 ข้อ!

  1. ของเหลว เจล สปรย์ ที่สามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องได้ ต้องมีปริมาตรความจุต้องไม่เกิน 100 มิลลิลิตร หรือ 100 กรัม หรือ 3.4 ออนซ์
  2. บรรจุภัณฑ์ต้องข้อความระบุปริมาตรและต้องปิดสนิท
  3. ผู้โดยสารสามารถนำบรรจุภัณฑ์ที่มีของเหลวติดตัวไปได้มากกว่า 1 ชิ้น แต่ต้องมีปริมาตรรวมกันสูงสุดคนละไม่เกิน 1 ลิตร หรือ 1,000 มิลลิลิตร
62376270 1293471420815557 3227638197475344384 n
ขอบคุณภาพจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ กพท. แนะนำว่า ผู้โดยสารควรนำบรรจุภัณฑ์ที่มีของเหลวทุกชิ้นใส่ในถุงพลาสติกใส ที่มีปริมาตรความจุของถุงไม่เกิน 1 ลิตร หรือ 1,000 มิลลิลิตร โดยขนาดถุงนั้นต้องไม่เกิน 20 เซนติเมตร × 20 เซนติเมตร และนำไปได้คนละ 1 ถุง

ก่อนเข้าจุดตรวจค้นสัมภาระในสนามบิน ผู้โดยสารควรแยกบรรจุภัณฑ์หรือถุงพลาสติกใสที่มีบรรจุของเหลว ออกจากสัมภาระติดตัวอื่น เพื่อแสดงให้พนักงานตรวจค้นได้ง่าย

ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่มีปริมาตรของเหลวเกินกว่าที่กำหนด บรรจุภัณฑ์ที่ไม่มีข้อความบอกปริมาตร รวมถึง “อาหารท้องถิ่นหรืออาหารพื้นเมือง” ที่มีของเหลวเป็นส่วนผสมในปริมาณมากกว่า 100 มิลลิลิตร ต้องลงทะเบียน โหลดลงใต้ท้องเครื่องบินเท่านั้น

fig 09 04 2019 11 52 41

อย่างไรก็ตาม มีของเหลวบางประเภทที่ได้รับการยกเว้น ไม่ถูกจำกัดปริมาณ ได้แก่ ยา ที่มีใบรับรองแพทย์ ฉลาก หรือเอกสารกำกับยาที่ระบุชื่อผู้โดยสารที่จำเป็นต้องใช้ยานั้น ยกเว้นแต่เป็นยาสามัญประจำบ้าน, อาหารหรือนมสำหรับเด็กทารก และ อาหารที่ต้องพกพาตามข้อกำหนดทางการแพทย์หรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางโภชนาการ แต่ทั้งหมดก็ต้องมีปริมาณเหมาะสมกับระยะเวลาการเดินทางในแต่ละเที่ยวบินด้วย

ส่วนขาช้อปต้องฟังทางนี้! สำหรับของเหลวที่ซื้อจากร้านค้าปลอดอากร (Duty Free Shop) จะต้องบรรจุไว้ในถุงพลาสติกที่สามารถบ่งชี้ร่องรอยการแกะหรือการเปิดปากถุง (Security Tampered-Evident Bags : STEBs) ซึ่งมีหลักฐานแสดงว่า ผู้โดยสารซื้อในวันที่เดินทาง และไม่มีร่องรอยการแกะหรือเปิดปากถุง

ในกรณีที่ผู้โดยสารแวะพักหรือเปลี่ยนเครื่องบิน (Transfer and Transit) ระหว่างการเดินทาง ผู้โดยสารก็ควรตรวจสอบข้อมูลเรื่องหลักเกณฑ์การนำของเหลวขึ้นเครื่องบินจากร้านดิวตี้ฟรีภายในสนามบินที่แวะพักและสนามบินปลายทางทุกครั้ง เพื่อจะได้ช้อปปิ้งและเดินทางได้อย่างสบายใจในทุกๆ ทริป

 

Avatar photo