World News

โจมตีเรือน้ำมันอ่าวโอมาน เน้นความเสี่ยงเกิด ‘วิกฤติน้ำมัน’ รอบ 3

เหตุการณ์โจมตีเรือบรรทุกน้ำมัน 2 ลำในอ่าวโอมาน ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ เน้นให้ความเสี่ยงที่จะเกิด “วิกฤติน้ำมัน” รอบที่ 3

5d024821dda4c883348b45a1

เว็บไซต์นิกเคอิ เอเชียน รีวิว ตีพิมพ์บทความที่ระบุว่า  วิกฤติน้ำมัน 2 ครั้งแรก เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 70 เป็นสาเหตุให้ราคาน้ำมันเบนซินพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก และเกิดภาวะโภคภัณฑ์หลายชนิด ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าน้ำมัน

แต่ความเสี่ยงในทุกวันนี้ สูงกว่าในอดีตอย่างมาก เนื่องจากน้ำมันดิบจากตะวันออก เป็นส่วนที่สนับสนุนซัพพลายเชนของผู้ผลิตเอเชียทั้งหมด ซึ่งหากเส้นทางสู่ “โรงงานโลก” ถูกตัดขาด ก็มีแนวโน้มที่ความวุ่นวายนี้ จะลุกลามเข้าไปยังตลาดการเงินในโลกตะวันตก จุดชนวนให้เกิดวิกฤติโลกขึ้นมา

เครือข่ายการผลิตเอเชีย ที่มีจีนเป็นศูนย์กลางนั้น กลายมาเป็นมหาอำนาจทางอุตสาหกรรม ที่ไม่มีภูมิภาคใดจะขึ้นมาทดแทนได้ แต่เครือข่ายนี้พึ่งพิงน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจากตะวันออกกลาง ดินแดนที่มีความผันผวนทางการเมืองมากสุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นหลัก

ความเปราะบางของเครือข่ายอุตสาหกรรมเอเชีย มองเห็นได้ชัดมากขึ้น เมื่อสหรัฐหันไปพึ่งพาตัวเอง และโดดเดี่ยวตัวเองจากประเทศอื่นๆ มากขึ้น โดยที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐได้ลดความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์กับตะวันออกกลางลงมา หลังจากที่การปฏิวัติน้ำมันจากหินดินดานในประเทศ ทำให้อเมริกันสามารถผลิตน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติได้มากขึ้น และอาจเป็นได้ว่า สหรัฐมีความสนใจที่จะปกป้องเส้นทางเดินเรือสากล และรับประกันถึงเสถียรภาพในตะวันออกกลางน้อยลง

skynews gulf of oman map 4693422

บทความของนิกเคอิ เอเชียน รีวิว ระบุด้วยว่า ญี่ปุ่นเคยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤติน้ำมัน 2 ครั้งก่อนมาแล้ว ซึ่งหากเกิดการสูญเสียการจัดหาน้ำมันขึ้นมาจริง ก็จะเป็นความเสี่ยงอย่างมากของเศรษฐกิจประเทศ

เหตุการณ์นี้ก็เหมือนกับเหตุน้ำท่วมใหญ่ในไทยเมื่อปี 2554 ที่ทำให้ซัพพลายเชนของผู้ผลิตญี่ปุ่นตกอยู่ในภาวะชะงักงัน ทั้งยังจะเผยความเสี่ยงที่แอบซ่อนตัวอยู่ในสภาพแวดล้อมอันตึงเครียดในขณะนี้ด้วย

หากโรงงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขาดไฟฟ้าใช้ หรือต้องปิดสายพานการผลิต บรรดาผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ และนักการตลาดในเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย

แต่สถานการณ์จะรุนแรงเท่าใด ก็ยังไม่ชัดเจน เพราะเครือข่ายอุตสาหกรรมอันเฟื่องฟูของเอเชีย ยังไม่ได้เคยได้ทดสอบความแข๋งแกร่งในการรับมือกับวิกฤติน้ำมันมาก่อน

Avatar photo