Business

เปิดตัวแกร็บตุ๊กตุ๊ก พลังงานไฟฟ้าครั้งแรกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“แกร็บ” ลงนามข้อตกลงจัดตั้งเครือข่ายการเดินทางในเมืองเชียงใหม่ (Chiang Mai Smart Mobility Alliance Network) พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเมืองด้านขนส่งระบบมวลชนผ่านเครือข่าย ตั้งเป้าลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนตัวลง 35% ภายใน ปี ลดมลพิษ และแก้ปัญหาการจราจรในจังหวัดเชียงใหม่  

แกร็บตุ๊กตุ๊ก ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของแกร็บในการสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทย  กับขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ลดการใช้รถส่วนตัว แก้ปัญหาการจราจรและมลพิษในเมือง  จากข้อมูลของกลุ่มวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รถตุ๊กตุ๊ก ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า คัน สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 4.18 ตันต่อปี

image008

นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่าในฐานะเมืองอัจฉริยะต้นแบบของประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการเมืองในด้านต่างๆ ให้สอดรับกับวิสัยทัศน์เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ปีที่ผ่านมา จึงได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในย่านนิมมานเหมินท์ เพื่อเตรียมรับการนำร่องเมืองอัจฉริยะภายใต้โครงการ “Smart Nimman” ได้ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงระบบการเดินทางและสัญจรเป็นอันดับแรก  เพื่อเสริมประสิทธิภาพของระบบการขนส่งสาธารณะ ลดมลพิษจากยานพาหนะ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในจังหวัดเชียงใหม่ และพัฒนาระบบขนส่งอัฉจริยะ (Smart Mobility) ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นกุญแจสำคัญในการบูรณาการความรู้ความเชี่ยวชาญ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อขับเคลื่อนให้เชียงใหม่ เป็นเมืองอัฉจริยะ 

นายธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่าแกร็บ มีความมุ่งมั่นการขับเคลื่อนประเทศไทย สู่อนาคตของระบบการเดินทางอัจฉริยะ เพื่อมอบทางเลือกในการเดินทางที่ไร้มลพิษ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นให้แก่คนไทย ด้วยความร่วมมือของพันธมิตรเครือข่ายการเดินทาง ในเมืองเชียงใหม่ (Chiang Mai Smart Mobility Alliance Network) โดยได้เปิดตัว แกร็บตุ๊กตุ๊ก ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ผ่านแอพพลิเคชั่นแกร็บ ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมส่งเสริมการใช้รถพลังงานไฟฟ้า เพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ให้แก่พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ ผ่านช่องทางการติดต่อกับผู้โดยสาร ที่สะดวกสบาย 

image009

ผศ. ดร. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา และ ผู้บริหาร สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าเชียงใหม่เป็นหนึ่งใน เมืองต้นแบบร่วมกับภูเก็ตและขอนแก่นที่ภาครัฐ ได้ให้การสนับสนุนอย่างรอบด้านสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ  ความร่วมมือจากพันธมิตรในการจัดตั้งเครือข่ายการเดินทางในเมืองเชียงใหม่ครั้งนี้ จะเป็นอีกพลังขับเคลื่อนสำคัญในการริเริ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการคมนาคมขนส่งให้ไปสู่ระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility ซึ่งเป็นหนึ่งใน แกนหลักของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ตามที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ได้กำหนดไว้

image011

นอกจากนี้  ความร่วมมือและนวัตกรรมจากทั้งภาครัฐและเอกชน ยังเอื้อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยเครือข่ายการเดินทางที่เข้าถึงได้ง่ายและไร้รอยต่อผ่านช่องทางดิจิทัล  ที่สำคัญ ความมุ่งมั่นในการร่วมกันแก้ไขปัญหาเรื่องมลพิษในเชียงใหม่ ผ่านการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งมีแผนปรับเปลี่ยนโครงข่ายการเดินทางระบบขนส่งมวลชน ให้เชื่อมโยงทั้งบริเวณรอบนอกและในตัวเมืองเชียงใหม่ พร้อมเปิดให้บริการรถเมล์ไฟฟ้า  

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight