Economics

อาการหนัก! สรท. หั่นเป้าส่งออกปีนี้เหลือโตเพียง 1%

สภาผู้ส่งออกฯ หั่นเป้าส่งออกปีนี้เหลือขยายตัวเพียง 1% หลังสงครามการค้ากระทบหนัก ชี้ส่งออกช่วง 4 เดือนหดตัว 1.9%

กัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์

น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า ในปี 2562 นี้ สรท.คาดการณ์ว่าการส่งของไทยจะมีอัตราการเติบโตได้ที่ประมาณ 1% จากประมาณการณ์เดิมที่ 5% โดยมีปัจจัยบวกจากผู้ประกอบการในหลายอุตสาหกรรมเริ่มมีการปรับตัวเพื่อเลี่ยงผกระทบจากสงครามการค้าโดยการมองหาตลาดใหม่ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ได้ออกนโยบาย Speed and Strategy เพื่อรับมือกับสงครามการค้า และ สหรัฐ มีการเลือกการปรับขึ้นภาษีรถยนต์จากทุกรประเทศทั่วโลกออกไป 180 วัน และมีการเร่งเจรจากับยุโรปและญี่ปุ่นเพื่อขยายตลาดให้มากยิ่งขึ้น

ในส่วนของปัจจัยลบที่มีความเสี่ยงต่อภาคการส่งออก คือ เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ทำให้กระทบกำลังซื้อ สอดคล้องกับองค์การการค้าโลก ประเมินว่าการค้าโลกเริ่มชะลอตัวลงชัดเจน ขณะที่ความยืดเยื้อของสงครามการค้าและการปรับขึ้นภาษีรองที่ 4 ส่งผลกระทบต่อการหาช่องทางระบายสินค้าไปยังประเทศที่สามแทน รวมถึงการมาตรการทางการค้าที่สหรัฐดำเนินกับประเทศอื่น ส่งผลกระทบต่อการค้าทั่วโลกรวมถึงยังส่งกระทบต่อการตัดสินใจในการเพิ่มการลงทุน และ ปัญหากฏระเบียบที่ไม่เอื้อต่อสถาการณ์การส่งออกที่อาจเป็นโอกาสของสินค้าไทยส่งเข้าไปทดแทนตลาดจีนและสหรัฐ

สำหรับภาพรวมการส่งออกในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ไทยมีการส่งออกมีมูลค่ารวม 80,543 ล้านดอลลาร์ หดตัว 1.9% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปแบบเงินบาทที่ 2,540,822 ล้านบาท หดตัว 1.9% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 79,993 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 1.1% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่า 2,562,336 ล้านบาท หดตัว 0.9% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 549.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขาดดุล 21,513 ล้านบาท

ทั้งนี้ สภาผู้ส่งออกจัดทำยุทธศาสตร์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเป็นข้อเสนอแนะสำคัญต่อรัฐบาลใหม่ในการรับมือกับอุปสรรคทางการค้า 7 ข้อ คือ

1.การเปิดตลาดการค้าใหม่และเจรจาการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ

2.ส่งเสริมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศผ่านแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

3.ยกระดับความพร้อมของบุคลากรให้สอดคล้องกับบริบทการค้าในปัจจุบัน

4.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและยกระดับประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์

5.สร้างเสถียรภาพด้านการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน

6.ส่งเสริมการพัฒนาปัจจัยการผลิตที่สำคัญสำหรับการค้าและการลงทุน

7.ปรับปรุงกฏหมายเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน

Avatar photo