Business

10 เกร็ดธุรกิจน่ารู้ ร้านกาแฟ ‘สตาร์บัคส์’

เป็นประเด็นร้อนในแวดวงธุรกิจตลอดข่วงที่ผ่านมาเลย เมื่อ Starbucks Coffee Company ขายสิทธิ์ (License) ร้านสตาร์บัคส์ในไทย ให้กับกลุ่มบริษัทย่อยของเครือไทยเบฟเวอเรจ จนกลายเป็นหนึ่ง “บิ๊กดีล” สำคัญของปีนี้

การปลี่ยนมือผู้บริหารครั้งนี้ คงสร้างความเปลี่ยนแปลงกับสตาร์บัคส์ประเทศไทยไม่มากก็น้อย แต่ก่อนจะถึงตอนนั้น วันนี้ เรามี 10 เรื่องธุรกิจน่ารู้ของแบรนด์กาแฟขวัญใจใครหลายคนมาฝาก

Starbuckscenter

1.สตาร์บัคส์ เริ่มแรกไม่ใช่ร้านกาแฟ

ธุรกิจแรกของสตาร์บัคส์ คือขายเพียงเมล็ดกาแฟคั่วเท่านั้น ก่อตั้งโดยกอร์ดอน โบเคอร์, เจอรี่ บัลด์วิน และซิฟ ซีเกิ้ล ในปี 1971 ณ เมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้ง 3 ผู้ก่อตั้งไม่เคยมีแนวคิดจะเปิดร้านกาแฟเลย

2.โฮเวิร์ด ชูลทส์ เบื้องหลังความเร็จร้านกาแฟระดับโลก

แนวคิดทำร้านกาแฟเกิดจากชายที่ชื่อ “โฮเวิร์ด ชูลทส์” ที่ดูแลด้านการตลาดของบริษัทในขณะนั้น เพราะเห็นโมเดลนี้ในอิตาลีประสบความสำเร็จมาก แต่ตอนนั้นผู้ก่อตั้งไม่เห็นด้วยกับเขา ทำให้ โฮเวิร์ด ชูลทส์ ลาออกมาทำร้านกาแฟของตัวเอง แล้วเก็บเงินกลับมาซื้อแบรนด์ “สตาร์บัคส์” เปลี่ยนเป็นร้านกาแฟในที่สุด ก่อนจะพาบริษัทประสบความสำเร็จเข้าตลาดหุ้นในปี 1996

โฮเวิร์ด ชูลทส์
โฮเวิร์ด ชูลทส์

3.กล้าล้มเหลวอยู่เสมอ

สตาร์บัคส์ขึ้นชื่อเรื่องนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ มีทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลว เช่น “กาแฟอัดลม” ไอเดียที่ล้มเหลวสุดๆ ของสตาร์บัคส์ ซึ่ง โฮเวิร์ด ชูลทส์ จะตั้งสินค้านี้เอาไว้ในห้องทำงานเป็นเครื่องเตือนใจตัวเองเสมอ

แต่เขาไม่ได้ตั้งไว้เพื่อบอกว่าอย่าทำผิดอีก แต่ให้  “กล้าผิด” ต่างหาก เพราะหากไม่ล้มเหว ก็คงไม่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ประสบความสำเร็จออกมา อย่าง “Frappucchino” ที่ทำกำไรมหาศาลให้บริษัทในปัจจุบัน

4. บ้านหลังที่ 3 ของคนทั่วโลก

ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ คือ 2 ประเทศแรกที่สตาร์บัคส์เข้าไปขยายธุรกิจ แต่ปัจจุบันพวกเขามีธุรกิจครอบคลุม 75 ประเทศทั่วโลก จำนวนกว่า 82,000 สาขา ด้วยแนวคิดที่อยากให้ร้านกาแฟเป็นบ้านหลังที่ 3 ของคนทั่วโลก

000 17780K

5.รูปแบบธุรกิจสตาร์บัคส์

สตาร์บัคส์แบ่งการบริหารออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ สาขาที่บริษัทแม่บริหารเอง และสาขาของแฟรนไชส์ แน่นอนการบริหารเองย่อมให้กำไรดีกว่า แต่การเลือกขายแฟรนไชส์ก็ช่วยลดความเสี่ยงได้เหมือนกัน

ก่อนหน้านี้ ไทย เป็นไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่สตาร์บัคส์บริหารสาขาเอง 100% ก่อนที่จะขายสิทธิ์ดูแลให้กลุ่มไทยเบฟเวอเรจ

6.สตาร์บัคส์สาขาแรกในไทย

สาขาแรกในเมืองไทย เกิดเมื่อปี 1998 ที่เซ็นทรัลชิดลม จนถึงตอนนี้ก็เป็นเวลากว่า 20 ปี สตาร์บัคส์ขยายสาขาในไทยเพิ่มเป็น 372 แห่ง พร้อมตั้งเป้าเป็น 600 สาขาใน 5 ปีข้างหน้าอีกด้วย

CTW Store

7.สาขาใหญ่ที่สุดในอาเซียนอยู่ในไทย

สตาร์บัคส์สาขาที่ 334 ณ เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นสาขาที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ใหญ่อันดับ 2 ของโลก ด้วยพื้นที่กว่า 760 ตารางเมตร รองรับลูกค้าได้ 230 ที่นั่ง

8.รายได้ สตาร์บัคส์ ประเทศไทย

สตาร์บัคส์2 01

ผลประกอบการของบริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด ที่รายงานต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นดังนี้

ปี 2558 มีรายได้ 4,998 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.42% กำไร 715 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.21%

ปี 2559 มีรายได้ 6,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.07% กำไร 818 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.44%

ปี 2560 มีรายได้ 6,976 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.77% กำไร 885 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.21%

ปี 2561 มีรายได้ 7,675 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.55% กำไร 1,078 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.74%

9.สตาร์บัคส์กับครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ในสหรัฐและแคนาดา สตาร์บัคส์เริ่มขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับกาแฟแล้ว ขณะที่ในเอเชียอย่างฮ่องกงก็มีแล้วเช่นกัน แน่นอนหลายคนคงอยากเห็นในไทย ยิ่งกลุ่มเบียร์ช้างของเสี่ยเจริญเข้ามาเทคโอเวอร์ด้วยแล้ว ไม่แน่คอนเซ็ปต์นี้ อาจเกิดขึ้นในเมืองไทยก็เป็นได้   

สตาร์บัค 3          

10.ส่วนแบ่งตลาดของสตาร์บัคส์

จากข้อมูลล่าสุด ขนาดของตลาดร้านกาแฟไทยอยู่ที่ 21,220 ล้านบาท โดยสตาร์บัคส์ มีส่วนแบ่ง 30% เป็นอันดับสองรองจาก Cafe Amazon ที่มีส่วนแบ่ง 40%

อย่างไรก็ดี เมื่อมองในเรื่องยอดขายต่อสาขาแล้ว สตาร์บัคส์ถือว่ายังทำได้ดี ด้วยอัตรากำไรขั้นต้นที่สูง 28.25% แปลว่าเมื่อเราสั่ง ลาเต้เย็น ราคาแก้วละ 140 บาท    สตาร์บัคส์จะได้กำไรไปแล้ว 39.55 บาท  

31 20160301163236.

Avatar photo