Economics

เฮ! ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยพุ่งขึ้น 5 อันดับ

เฮ! “IMD” จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยดีขึ้น จากอันดับที่ 30 มาอยู่อันดับที่ 25 ในปีนี้ ชี้สูงสุดในรอบ 10 ปี

61426642 3282824815076349 3462708294525648896 n

สถาบัน IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เผยแพร่รายงาน IMD World Competitiveness Yearbook 2019 ซึ่งเป็นการรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ 63 ประเทศทั่วโลก โดยผลการจัดอันดับดังกล่าว พบว่า ในปีนี้ประเทศสิงคโปร์ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 แทนที่สหรัฐอเมริกาที่ลดลงไปเป็นอันดับที่ 3 ตามด้วยฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ส่วนประเทศที่มีอันดับความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นมากที่สุด ได้แก่

  • ประเทศซาอุดิอาระเบีย ที่มีอันดับสูงขึ้นถึง 13 อันดับจากอันดับที่ 39 ในปี 61 เลื่อนมาอยู่ในอันดับที่ 26 ในปี 62
  • รองลงมาคือ ประเทศอินโดนีเซีย ที่เลื่อนขึ้นมาถึง 11 อันดับ จากอันดับที่ 43 ในปี 61 เลื่อนมาอยู่ในอันดับที่ 32 ในปี 62

ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะ 5 ประเทศอาเซียนที่อยู่ในการจัดอันดับนี้ ซึ่งได้แก่

  • สิงคโปร์
  • มาเลเซีย ยังคงที่อันเดิมจากปีที่ 61 คือ อันดับที่ 22
  • ไทย จากอันดับที่ 30 เป็นอันดับที่ 25
  • ฟิลิปปินส์ จากอันดับที่ 50 เป็นอันดับที่ 46
  • อินโดนีเซีย จากอันดับที่ 43 เป็นอันดับที่ 32

ส่วนความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ในปี 2562 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 25 จากทั้งหมด 63 ประเทศ โดยเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 30 ในปี 2561 ถึง 5 อันดับ ซึ่งจากผลการจัดอันดับที่แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่

  • สภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance)
  • ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency)
  • ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency)
  • โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

อย่างไรก็ตาม ผลการจัดอันดับดีขึ้นทุกด้านยกเว้นประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ โดยด้านสภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีอันดับดีขึ้นจากอันดับที่ 10 มาเป็นอันดับที่ 8

61796692 3282824771743020 7386285443408461824 n

ด้านนายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สมรรถนะทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพของภาครัฐของไทยดีขึ้น 2 อันดับ โดยด้านเศรษฐกิจการลงทุนจากต่างประเทศมีอันดับดีขึ้นมาก ขณะที่การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานเพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจก็ส่งผลให้อันดับด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของประสิทธิภาพของภาครัฐดีขึ้นถึง 4 อันดับ นับว่าเป็นผลจากการที่รัฐบาลมีแนวทางดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในการปรับกฎระเบียบให้ทันสมัยคล่องตัว และส่งเสริมการใช้ดิจิทัลในการให้บริการรวดเร็วมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการแก้ปัญหาปัจจัยพื้นฐานเชิงโครงสร้างทุกด้าน และกำลังผลักดันให้เกิดผลอย่างต่อเนื่องและในวงกว้างมากขึ้น

ด้านนางสาววรรณวีรา รัชฎาวงศ์ กรรมการบริหาร สมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่าเป็นที่น่ายินดีที่ในปีนี้ประเทศไทยมีอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นถึง 5 อันดับ เป็นอันดับที่ 25 ของโลกซึ่งถือว่าดีขึ้นในรอบกว่า 10 ปี นอกจากประเป็นด้านเศรษฐกิจยังเป็นผลมาจากโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่สูงขึ้น 4 อันดับ โดยปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนวิจัยและพัฒนาซึ่งสูงถึง 0.8% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความสามารถมนการแข่งขันระยะยาว

Avatar photo