World News

โลกสะเทือน!! คาดจีดีพีหาย 6 แสนล้านดอลล์ สงครามการค้ารุนแรงขึ้น

สงครามการค้าระหว่างจีน กับสหรัฐ กำลังเข้าสู่เขตแดนอันตรายแห่งใหม่ จากการขึ้นภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น และคำขู่ที่จะดำเนินการทำนองเดียวกันนี้เพิ่มขึ้น

100593917 gettyimages 871934840

อย่างไรก็ดี ยังมีความเป็นไปได้ที่จะมีการแก้ไขปัญหานี้อย่างรวดเร็ว จากการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน มีกำหนดพบหารือระหว่างการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 20 ชาติ (จี20) ที่ญี่ปุ่น ในเดือนหน้า

แต่ในขณะนี้ ดูเหมือนจะมีความเป็นไปได้ว่า สงครามการค้าที่เกิดขึ้น จะดำเนินไปอย่างยาวนาน วุ่นวาย และมีราคาแพง

แดน แฮนสัน และทอม ออร์ลิค 2 นักเศรษฐศาสตร์ของบลูมเบิร์ก ได้ประเมินถึงสถานการณ์หลักๆ ของความขัดแย้งดังกล่าวออกมา ซึ่งรวมถึงเรื่องที่ว่า หากการจัดเก็บภาษีครอบคลุมสินค้านำเข้าของจีน และสหรัฐทั้งหมด และตลาดตกอยู่ในภาวะซบเซา จากการตอบสนองต่อเรื่องนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของโลก จะสูญหายไปราว 600,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2564 ซึ่งจะเป็นปีที่ที่ผลกระทบจากเรื่องสงครามการค้าพุ่งแตะระดับสูงสุด

a1 1

การที่สหรัฐขู่ที่จะเก็บภาษีในอัตรา 25% ต่อสินค้านำเข้าจากจีนทั้งหมด หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ในเร็ววัน ซึ่งแน่นอนว่า การเคลื่อนไหวทำนองนี้จะต้องถูกตอบโต้กลับมา “ถ้าคุณต้องการคุย ประตูก็เปิดอยู่ ถ้าคุณต้องการสู้ เราก็จะสู้จนถึงที่สุด” ถ้อยคำจากผู้ประกาศของสถานีโทรทัศน์จีน ที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกในกรุงปักกิ่ง

การประเมินแสดงให้เห็นว่า การเก็บภาษี 25% ต่อสินค้านำเข้าทั้งหมดของ 2 ฝ่าย จะทำให้ผลผลิตในส่วนของจีน สหรัฐ และทั่วโลก ในช่วงกลางปี 2564 ลดลง 0.8%, 0.5%, และ 0.5% ตามลำดับ

a2

ปัจจุบันตลาดตกอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพอยู่ จากความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ในสงครามการค้าที่ออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดหลักทรัพย์จีนที่มีการเคลื่อนไหวในแต่ละวันอย่างสุดโต่ง แต่ตลาดหลักทรัพย์ทั้งของจีน และสหรัฐ ต่างก็ทะยานสูงขึ้นในปีนี้ บ่งชี้ว่า นักลงทุนกำลังวางเดิมพันถึงการบรรลุข้อตกลงการค้าของ 2 ประเทศ ซึ่งถ้าหากประเมินผิด และหุ้นตัวใหญ่อย่าง แอปเปิ้ล โดนเก็บภาษีนำเข้าหนัก การทะยานขึ้นดังกล่าวก็อาจเกิดการเปลี่ยนทิศทางในแบบหักมุม

แฮนสัน และออร์ลิค คาดการณ์ถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายสุดว่า ตลาดหุ้นอาจร่วงไปอีก 10% หากมีการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าทั้งหมด 25% ซึ่งในกรณีนั้น ช่วงกลางปี 2564 จีดีพีของจีน สหรัฐ และทั่วโลก อาจลดลง 0.9%, 0.7%, และ 0.6% ตามลำดับ

a3

ในสถานการณ์เช่นนี้ การดิ่งลงของตลาดหลักทรัพย์จะยิ่งสร้างความปั่นป่วนต่อทั้งการบริโภค และการลงทุน ที่จะยิ่งได้รับผลกระทบตามกันไป

ผลกระทบใดๆ ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ดังกล่าว จะกระจายออกไปไกลกว่าจีน และสหรัฐ 2 ชาติเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดของโลก ซึ่ง เมวา เคาซิน นักเศรษฐศาสตร์อีกรายหนึ่งของบลูมเบิร์ก ประมวลข้อมูลจากองค์การเพื่อการพัฒนา และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) เพื่อดูว่า ใครจะมีความเสี่ยงมากสุดจากเรื่องนี้

การวิเคราะห์ของเธอแสดงให้เห็นว่า ประเทศหรือดินแดนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสุดจากปริมาณการส่งออกจากจีนไปยังสหรัฐที่ลดลง คือ ไต้หวัน เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ซึ่งต่างเป็นซัพพลายเชนสำคัญของการส่งออกในเอเชีย ผลผลิตราว 1.6% ของไต้หวันผูกติดอยู่กับการส่งออกจากจีนไปยังสหรัฐ โดยที่คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นสัดส่วนมากสุด ส่วนเกาหลีใต้ และมาเลเซียนั้น อยู่ที่ 0.8% และ 0.7% ตามลำดับ และในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน

Malaysia exports

ในทางกลับกัน ประเทศหรือดินแดนที่ต้องพึ่งพาการส่งออกจากสหรัฐไปจีนมากสุด รวมถึง แคนาดา และเม็กซิโก ที่ติดอยู่ใน 2 อันดับแรกของการประเมินในเรื่องนี้ แม้สัดส่วนของความเสี่ยงจะน้อยกว่าประเทศหรือดินแดนในเอเชียก็ตาม

ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น ยังจะส่งผลกระทบต่อตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศด้วยเช่นกัน โดยจะเกิดขึ้นผ่านหลายช่องทาง อาทิ การเปลี่ยนแปลงในกระแสการค้า การคาดการณ์เกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และนโยบายการเงิน

Avatar photo