CEO INSIGHT

เส้นทางสู่เจ้าแห่งทุน : ‘ซีพี’ รุกและรับ สู่ธุรกิจไร้พรมแดน (2)

ช่วงเวลาของ ธนินท์ ซีพีผ่านช่วงบุกเบิก พัฒนาขยายสู่ธุรกิจอื่น ขยายการลงทุนไปต่างประเทศ เปลี่ยน ร้านค้าเมล็ดพันธุ์ผัก เจียไต๋ จึงแถวทรงวาด ที่เปิดในปี 2464 มาเป็นห้าง เจริญโภคภัณฑ์ ในปี 2496 ก่อนตั้งบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ในปี 2502 เปรียบเหมือนจุดเริ่มต้นเข้าสู่ช่วงสมัยใหม่ ของ เครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ ซีพี  และตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ซีพี ผ่านทั้งความล้มเหลว ความสำเร็จ สะสมความรู้และประสบการณ์จากการลองผิดลองถูก ภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา โดยสามารถแบ่งออกเป็น ช่วงเวลา

เจียไต๋1

เริ่มจากยุคบุกเบิก ซีพี ค้าเมล็ดพันธ์ผัก ขายอาหารสัตว์ และไก่ ซึ่งเริ่มทดลองเลี้ยงในปี 2503 หลังลองผิดลองถูกอยู่นาน  ความคิดของ ธนินท์ ก็เปลี่ยนไปเมื่อมีโอกาสเดินทางไปดูงานเลี้ยงไก่ที่สหรัฐอเมริกา และตื่นตาตื่นใจเป็นพิเศษ กับระบบการเลี้ยงไก่ ที่คนๆเดียวสามารถเลี้ยงไก่ได้นับหมื่นตัว ประสบการณ์จากการดูงานครั้งนั้น กระตุ้นให้ ธนินท์ คิดอย่างหนักว่า ต้องแสวงหาความรู้จากสุดยอดผู้เลี้ยงไก่มาปรับใช้กับธุรกิจในไทยจากเดิมที่ลองผิดลองถูกหรือศึกษาจากฟิลิปปินส์ที่เรียนรู้มาจากสหรัฐฯอีกทอดหนึ่งมุมคิดที่เปลี่ยน ทำให้ ซีพี ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดอาหารสัตว์และการเลี้ยงไก่ระดับโลกในเวลาต่อมา    

ช่วงที่สอง (หลังปี 2510 ) ซีพีพัฒนาการผลิตอาหารสัตว์และการเลี้ยงไก่ต่อเนื่องปี 2513 ธนินท์  ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ตอนนั้นอายุ 31 ปี  สามารถโน้มน้าว ดึง อาร์เบอร์ เอเคอร์ส ยักษ์เลี้ยงไก่จากสหรัฐ และเจ้าของพันธ์ไก่ดีที่สุดในโลก มาร่วมทุน ตั้งบริษัท อาร์เบอร์ เอเคอร์ส (ประเทศไทย)  ในปี 2516 และเปิดโรงผลิตอาหารสัตว์ทันสมัย  แห่งแรก ที่ กม.21 ถนนบางนา ปีเดียวกัน

ธนินท์
ธนินท์ เจียรวนนท์

ช่วงที่สาม (หลังปี 2520)  เหตุการณ์สำคัญในช่วงเวลานั้น คือการที่ซีพี ตัดสินใจเข้าไปลงทุนในจีนเป็นรายแรกในปี 2522 เมื่อจีนเริ่มเปิดตลาด ตามนโยบาย มองออกไปข้างนอกของ เติ้ง เสี่ยวผิง  พร้อมกับ ชูนโยบาย 4 ทันสมัยสร้างเศรษฐกิจจีน ซีพีคือทุนต่างชาติ ระลอกแรก ที่แง้มม่านไม้ไผ่ เข้าไปลงทุนใน จีน ประเดิมโครงการแรกด้วยโรงานผลิตอาหารสัตว์   ก่อนขยายไปลงทุนในโรงงาน ทอพรม  ผลิตรถจักรยานยนต์ เบียร์ ค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ จนกลายเป็นฐานที่มั่นทางธุรกิจอีกแห่งของซีพีในช่วงเวลาต่อมา

ในปี 2529 ธนินท์ ปิดดีล ดึง ออสการ์ ไมเยอร์  ยักษ์ใหญ่วงการอาหารสัตว์โลก เข้ามาร่วมทุนเปิดโรงงานผลิตอาหารสัตว์ในไทย เป็นบริษัทอันดับหนึ่งของวงการอีกราย  ที่ ธนินท์ ดึงมาเป็นพันธมิตรหลัง จับมือกับ อาร์เบอร์ เอเคอร์ส มาร่วมเลี้ยงไก่ก่อนหน้านี้

ถึงตอนนั้น ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมของซีพี ได้ขยายครอบคลุมทั้งธุรกิจ อาหารสัตว์ เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู แปรรูป  การตลาด พืชไร่ กุ้งกุลาดำ พืชไร่ ถือว่าครบวงจรหากความสำเร็จของซีพีไม่ใช่ รุกมุ่งโตอย่างเดียว แต่ ยังเหลียวหลังมาสำรวจหาจุดอ่อนด้วย  การระดมมืออาชีพ เข้ามาร่วมงาน เป็นจำนวน อาทิ  ดร.อาชว์ เตาลานนท์  ดร.วีรวัฒน์  กาญจนดุล  เข้ามาช่วยปรับโครงสร้างองค์กร และวางระบบ เพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบการ คือตัวอย่างหนึ่ง

ในปีเดียวกับที่ซีพีรุกเข้าไปในจีนนั้น ธนินท์ ได้รับความไว้วางจากสมาชิกในตระกูล“เจียรวนนท์”ให้ขึ้นดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ เครือเจียไต๋  (ธนินท์ เป็นผู้จัดการทั่วไปเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในปี 2507)

ช่วงที่สี่ (หลังปี 2530) ในทศวรรษนี้  นอกจากซีพี ขยายลงแนวดิ่ง ในสายเกษตรอุตสาหกรรมแล้ว ยังขยายธุรกิจออกไปใน แนวราบ สู่ธุรกิจอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวโยงกับธุรกิจหลัก โดยปี 2531 ที่เศรษฐกิจกำลังร้อนแรงสุดขีด   

7 11

ซีพีปูพรมเปิดธุรกิจใหม่ไล่เรียงตั้งแต่ อสังหาริมทรัพย์  ค้าปลีก ซื้อลิขสิทธิ์ เซเว่น-อีเลฟเว่น ลุยธุรกิจร้านสะดวกซื้อ จับมือกับ กลุ่มเฮชเอส วีโฮลดิ้งส์ จาก เนเธอร์แลนด์ เปิดค้าปลีกสมัยใหม่ แมคโคร ก่อนเปิดโลตัส ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ ปีถัดมา (2534) เข้าร่วมทุนกับ บริษัทโซลเวย์ กรุ๊ป จากเบลเยียม ตั้งบริษัทวินิไทย รุกอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2530-2533 ขยายตัวอย่างร้อนแรงจนถูกเรียกว่า ยุคทอง โดยเฉพาะปี 2531 จีดีพี ขยายตัวถึง 13.2%

หากการลงทุนของซีพี ที่สร้างความฮือฮาให้กับสังคมธุรกิจไทยมากที่สุดในช่วงเวลสนั้นคือ การรกระโดดร่วมวง ประมูลโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย ในปี 2533 สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ  (รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน  ปรับลดเป็น 2 ล้านเลขหมาย ปี 2534) โดยบริษัท ซี.พี เทเลคอมมินิเคชั่น (เปลี่ยนชื่อเป็น เทเลคอมเอเชีย และเปลี่ยนเป็น ทรูคอร์ปอเรชั่น ในปัจจุบัน) การลงทุนสัมปทานโทรศัพท์ซึ่งไม่เกี่ยวกับ เกษตรอุตสาหกรรม มีเสียงวิจารณ์จากสื่อและนักวิชาการทำนองว่า มีโอกาสประสบความสำเร็จน้อย

ทศวรรษนี้เองที่ซีพี ผงาดขึ้นเป็นกลุ่มธุรกิจระดับโลก และได้รับสมญาว่า “ธุรกิจไร้พรมแดน”  นิตยสารฟอร์จูน บทความ ที่นำเสนอรายงานว่าด้วยความรุ่งโรจน์ทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศริมฝั่งสมุทร แปซิฟิกใ นปี 2533  จัด 10 อันดับบริษัทดาวรุ่งแห่งเอเชีย  ประเทศไทย มี 2 ราย คือ กลุ่มซีเมนต์ไทย และ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี  เวลานั้นซีพี มีบริษัทในเครือกว่า 280 แห่ง มีกิจการใน 10 ประเทศทั่วโลก  พนักงานมากกว่า 70,000 คน มูลค่าธุรกิจมากกว่า 500,000 ล้านบาท  (ซีพีธุรกิจไร้พรมแดน วิชัยสุวรรณบรรณ เขียน)  ในปี 2534 ชื่อ ธนินท์ เจียรวนนท์ ก็ปรากฎในทำเนียบมหาเศรษฐีโลกเป็นครั้งแรก

ช่วงที่ห้า (หลังปี 2540) อาณาจักรธุรกิจซีพีได้รับผลกระทบจาก วิกฤติต้มยำกุ้ง วิกฤติเศรษฐกิจครั้งประวัติศาสตร์ของไทย เช่นเดียวกับ กลุ่มธุรกิจอื่น ผลจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทในวันที่ กรกฎาคม 2540 ของแบงก์ชาติหลังพ่ายศึกเงินบาทต่อ จอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินผู้อื้อฉาว บมจ.เทเลคอมเอเชีย (ทรูคอร์ปอเรชั่น ปัจจุบัน) ยอดหนี้พุ่งเป็น 63,110 ล้านบาท หลังขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 15,480 ล้านบาท

ส่วนบริษัท ซีพี โภคภัณฑ์(ในฮ่องกง) ตราสารหนี้มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ครบกำหนดชำระเดือน พฤษภาคม 2541 ถูกเลื่อนออก เนื่องจาก ผลประกอบการบริษัทขาดทุนจากพิษต้มยำกุ้ง

เมื่อสถานะการเงินเปลี่ยน เจ้าหนี้ต่างประเทศพร้อมใจกัน ชักร่มกลับ  เรียกคืนหนี้เงินกู้คืน ก่อนกำหนด (จากเดิมตกลงไว้ 5 ปี ) มีเพียงแบงก์ เฮชเอสซีบี เพียงรายเดียวที่ยอมยืดหนี้ให้ซีพี 

ธนินท์ รับมือวิกฤติครั้งนั้นด้วยหลัก ตัดอวัยวะรักษาชีวิต หรือธุรกิจหลักเอาไว้  ด้วยการขายกิจการ หรือ เงินลงทุนทั้งในจีน และไทยที่ไม่ใช่ ธุรกิจเกษตรออกไป เพื่อลดหนี้ เช่น  ขายบริษัท เจียไต๋ อินเตอร์เนชั่นแนล เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ โฮลดิ้ง  (ผู้ถือหุ้นใหญ่ใน บริษัทเอพีที แซทเทิลไลท์  สัมปทานดาวเทียมในจีน ) ขายหุ้น 40% ใน บริษัท เซี่ยงไฮ้ เอ็กชอ มอเตอร์ไซด์             

ตามด้วยการ ขายหุ้น 35% ในบริษัท ไฮเนเก้น เซี่ยงไฮ้ ส่วนในไทยขายหุ้น 64% โดยประมาณใน บมจ.สยามแม็คโครให้ กลุ่มเฮชเอส วีโฮลดิ้งส์ ขายหุ้น 70% ในโลตัสซุปเปอร์เซ็นเตอร์ให้ กลุ่มเทสโก้ โลตัส จากอังกฤษ เหลือ เซ่เวนส์ อีฟเลเว่น ไว้เพียงรายเดียว

CPF

ควบคู่ไปกับการขายกิจการที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไป  ซีพีได้ปรับโครงสร้างธุรกิจกิจการที่เหลือ เช่น ปรับโครงสร้างในกลุ่มเกษตรอุจสาหกรรม ชู บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) เป็นเรือธงของกลุ่ม ควบรวม เมื่อคลื่นวิกฤติครั้งนั้นผ่านไป

ในปี 2541 นิตยสาร ฟอร์จูน ได้จัดอันดับมหา เศรษฐีไทยพบว่าสินทรัพย์ในมือ เจ้าสัว ธนินท์ ลดลงเหลือ 1,770 ล้านดอลลาร์ หายไปถึง 2,700 ล้านดอลลาร์ จากปี 2540 (ก่อนวิกฤติ) ที่สินทรัพย์ เจ้าสัวธนินท์ มีมูลค่า 4,400 ล้านดอลลาร์

ปี 2542 ซีพีเอฟ ได้ประกาศยุทธศาสตร์ ครัวของโลก เป็นการส่งสัญญาณว่า ภาระหนี้คลี่คลายแล้ว และซีพีจะกลับมารุก …อีกครั้ง 

Avatar photo