World News

ขึ้นไม่ขึ้น!! จับตาเจรจาการค้าจีน-สหรัฐคืนนี้ ปลดล็อคขึ้นภาษี 25% ??

สหรัฐมีกำหนดขึ้นภาษี 25% ต่อสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่ามากกว่า 200,000 ล้านดอลลาร์ ในวันนี้ (10 พ.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นการกดดัน เพื่อให้เกิดข้อตกลงทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศครั้งใหญ่สุดของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ สถานการณ์ที่ยิ่งทำให้ความขัดแย้งฝังลึกมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อตลาดเงิน ทั้งยังกลายเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจโลก

China and United States

ฝ่ายจีนแถลงโต้กลับในทันทีว่า จะดำเนินการตอบโต้ต่อการเคลื่อนไหวดังกล่าว แต่จนถึงนี้ ก็ยังไม่ได้ระบุออกมาอย่างเจาะจงว่า การตอบโต้ที่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด
ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์ มูดี้ส์ อีโคโนมิคส์ ระบุในรายงานว่า ความขัดแย้งทางการค้าของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ 2 รายนี้ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐตกอยุ่ในภาวะถดถอยภายในสิ้นปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ผู้มีสิทธิออกเสียงในสหรัฐ จะได้ใช้สิทธิอีกครั้งหนึ่ง

“ความขัดแย้งนี้ ยิ่งทำให้สภาวะแวดล้อมด้านการค้าโลก ตกอยู่ในภาวะผันผวนมากขึ้น และความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐ กับจีน ก็จะส่งผลกระทบด้านลบต่อความรู้สึกทั่วโลก และทำให้ทั่วโลกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น”

แม้ว่าการเจรจาการค้าจะมีขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ในวันนี้ แต่บรรดาแหล่งข่าววงในต่างบอกว่า ไม่หวังว่าจะเกิดข้อตกลงสำคัญๆ แต่อย่างใด ซึ่งฝ่ายสหรัฐนั้น ไม่แน่ใจว่า นายหลิว เหอ รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะเจรจาชุดนี้ จะมีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ หรือไม่

ขณะที่ เฟซบุ๊ก ดร.อมรเทพ จาวะลา โพสต์ข้อความแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าระหว่างจีน กับสหรัฐว่า

ทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนจาก 10% เป็น 25% ผมยังมีความหวังลึกๆ ว่า ทรัมป์จะเลื่อนการขึ้นภาษีออกไป ถ้าดูเวลาทรัมป์เจรจากับใคร ทรัมป์จะไม่เหมือนใคร คือไม่แค่ขู่ว่าจะไม่ยอมสหรัฐแล้ว จะใช้ไม้แรง เหมือนถือไพ่ในมือ

ตรงกันข้าม ทรัมป์จะทิ้งไพ่ก่อนให้คู่ต่อสู้หงายหลัง แล้วต้องยอมเจรจาให้สหรัฐได้ประโยชน์ ถ้าเป็นอย่างนี้ ทรัมป์อาจใช้การขึ้นภาษีเป็นการหงายไพ่ให้จีนยินยอมในการเจรจาคืนนี้ แต่อย่าลืมว่าจีนไม่ใช่ประเทศเล็กๆ คงต้องรอลุ้นกันครับ

ผลกระทบมีอะไรบ้างหากการเจรจาไม่เป็นผล

  1. การส่งออกติดลบยาว เศรษฐกิจชะลอทั่วโลก
  2. จีนลดค่าเงินหยวน ทำค่าเงินอาเซียนอ่อนตามเพื่อรักษาความสามารถการแข่งขันการส่งออก
  3. จีนลดการซื้อพันธบัตรสหรัฐหรือเทขาย ทำอัตราผลตอบแทนขึ้นกระทบต้นทุนการเงินสหรัฐ
  4. นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจคงหนีไม่พ้นการลดดอกเบี้ย กนง. คงถูกบีบให้ลดดอกเบี้ยกระตุ้นเศรษฐกิจหากเศรษฐกิจโลก และไทยชะลอ
  5. sss

Avatar photo