COLUMNISTS

แผลหายช้า…เพราะ…เบาหวาน!!

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ
41805

S1

จากการสำรวจสถิติโรคเบาหวานในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบัน โรคเบาหวาน ยังครองอันดับหนึ่งในประเภทโรคที่คนไทยเป็นมากที่สุด ฟังแล้ว แทบไม่สงสัย เพราะพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การดำเนินชีวิต เป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคเบาหวาน และที่สำคัญ เพศหญิง เป็นมากกว่า เสียด้วยซ้ำ

บทความนี้ แอดมิน ขออนุญาตกระโดดข้าม ไม่กล่าวถึง สาเหตุ อาการ ป้องกันของโรคเบาหวาน แต่จะเข้าประเด็นเกี่ยวกับ บาดแผล หรือ แผลที่เกิดในคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เพื่อให้เข้าใจอย่างถูกต้อง

เพื่อน ๆ เคยมีคำถามกันบ้างไหมว่า ทำไม บาดแผลที่เกิดกับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ถึงหายช้า หายยาก แย่กว่านั้น บางราย อาจถึงขั้น “ตัดขา” กันเลยทีเดียว ได้ยินมาก็บ่อยจากแพทย์ “ตัดขา” แล้วทำไม…ต้องเป็นอวัยวะขา ?

จริงอยู่ โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ไม่มีวันรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถควบคุมความรุนแรงของโรคให้อยู่ในระดับคงที่ และบรรเทาได้เช่นกัน

ทีนี้ เรามาทำความรู้จักกับ “แผลเบาหวาน” กันก่อนดีกว่า

แผลเบาหวาน (Diabetic Ulcer)

ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยมากที่สุดในผู้ป่วยเบาหวาน โดยระบบประสาททำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการชา หรือ ไร้ความรู้สึกบริเวณปลายเท้า ปลายมือ พออาการชาเกิด จึงเป็นเหตุให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และเกิดบาดแผลในง่ายขึ้น และเมื่อเกิดบาดแผล หลอดเลือดเอง ก็ทำงานผิดปกติ ทำให้เลือดไหลเวียนบริเวณแผลได้ไม่เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุทำให้แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเรื้อรัง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย และอย่างที่เกริ่นมาข้างต้น ว่า ทำไม ต้องเป็นอวัยวะ “ขา” เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว มักพบแผลเหล่านี้ที่บริเวณขา เท้า นิ้วโป้ง เนินเท้า ซึึ่งหากไม่รักษาทันท่วงที และถูกต้อง อาจเป็นสาเหตุไปสู่การตัด “ขา” เนื่องจากการติดเชื้อได้ในที่สุด

S2

จากที่กล่าวข้างต้น สาเหตุของแผลเบาหวาน ส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะแทรกซ้อน ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและหลอดเลือดเป็นสำคัญ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ ถ้าผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดีพอ น้ำตาลในเลือดจะไปทำให้หลอดเลือดและระบบประสาททำงานผิดปกติ ก่อให้เกิดภาวะสารทเสื่อม เป็นเหตุให้เกิดอาการชา ไร้ความรู้สึกบริเวณเท้าได้ และเมื่อไร้ความรู้สึกบริเวณเท้าแล้ว ทำให้ผู้ป่วยแทบไม่รู้สึกตัวเลยว่า เกิดแผล เกิดรอยบาด ไม่ว่าจะเป็นรองเท้ากัด อุบัติเหตุที่เท้า ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังคงมีสาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นเหตุเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลเบาหวานได้ เช่น น้ำหนักตัวเกิน ไม่ออกกำลังกาย ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง และที่มองข้ามไม่ได้ คือ เน้นการสวมรองเท้า และระมัดระวังในการเดิน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลเบาหวาน โดยไม่ทันรู้ตัว

S3

ในเบื้องต้น หากบาดแผล เกิดจากของมีคม มีลักษณะเป็นรอย ข่วน ขีด ให้รีบทำการล้างแผล ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำอุ่นก่อน จากน้ำเช็ดให้แห้ง แล้วใส่ยาฆ่าเชื้อ ปิดแผลด้วผ้าก๊อส ผ้าปิดแผลที่ผ่านการฆ่าเชื้อ และหากแผลมีอาการบวมแดง หรือมีน้ำเหลือ หรือ หนองไหลบริเวณแผล ควรรีบปรึกษาแพทย์ หากแผลมีอาการรุนแรงมากกว่าปกติ แพทย์เฉพาะทาง ก็รักษาแผลด้วย เลาะสิ่งแปลกปลอม หรือ ผิวหนังที่ตายออก เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ การอักเสบ ที่อาจเกิดขึ้นได้ การรักษาขั้นต่อไป แพทย์ก็จะวินิจฉัยระดับความรุนแรงของบาดแผลเบาหวาน ถ้ามีหนอง ก็จะต้องเจาะหนอง และตัดเนื้อที่ตายออก ล้างแผลด้วยน้ำเกลืออย่างน้อยวันละ 2 – 4 ครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

เมื่อเรารู้ถึงสาเหตุ การรักษาแผลเบาหวาน กันแล้ว เรามาดูกันสิว่า วิธีป้องกันแผลเบาหวาน มีอะไรบ้าง

  • ตัดเล็บเท้า ให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ล้างเท้าให้สะอาดทุกวัน
  • เช็ดเท้าให้แห้ง อาจมีทาครีมให้ชุ่มชื้นเสมอ
  • หากเท้ามีตาปลา ควรปรึกษาแพทย์
  • สวมรองเท้า ให้พอดีกับเท้า

ทั้งนี้ รวมถึงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูงมากเกินไป จนไปสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือด เส้นประสาท ง่าย ๆ เพียงเท่านี้ ก็สามารถควบคุม และป้องกันแผลที่เกิดจากเบาหวานได้แล้ว

 

“คินน์ เพื่อชีวิตที่ยืนยาว และยั่งยืน”
www.kinn.co.th