CEO INSIGHT

กำเนิดทุนรถไฟฟ้า : ‘คีรี – ปลิว’ : คู่แข่งตามธรรมชาติ

แม้ คีรี กับ ปลิว ต่างประกาศว่า ไม่ใช่คู่แข่ง ซึ่งกันและกัน  แต่สถานการณ์ที่รัฐบาลเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง และทั้ง 2 กลุ่ม (บีทีเอส และ ช.การช่าง) ต่างประกาศพร้อมที่จะเข้าประมูลสัมปทานรถไฟฟ้าทุกสายเช่นเดียวกัน คีรี กับ ปลิว จึงยากที่จะการเผชิญหน้ากัน  

การเปิดประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม สนามบิน ( อู่ตะเภาสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ) มูลค่า 224,544 ล้านบาท ระยะทาง 220 กิโลเมตร ( กม.) โครงการสุดทะเยอทะยานที่รัฐบาล คสช.ผลักดันออกมาเพื่อ หนุนโครงการ  เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และเดิมตามยุทธศาสตร์ ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน คือโครงการที่ทำให้ ปลิว กับ คีรี  ต้องขึ้นสังเวียนชิงสัมปทานกันอีกครั้ง

fig 03 04 2019 13 36 55

ปลิวเข้าร่วมกับกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้งส์ ซึ่งมีพันธมิตรร่วมทุน ประกอบด้วย บมจ. อิตาเลียนไทยฯ บมจ. ช.การช่าง  บมจ.บีอีเอ็ม และ ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น 

ขณะที่ คีรี เป็นหัวหอกของ กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์  มีบมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โอลดิ้ง เป็นแกน บมจ.ซิโนไทย เอ็นจิเนียริ่งฯ และ บมจ.ผลิตไฟฟ้า โฮลดิ้ง ซึ่งจับมือร่วมประมูล รถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลือง ร่วมเป็นพันธมิตรหลัก     

ศึกยกนี้เป็นของ ปลิว …. เมื่อ กลุ่มกิจการร่วมค้า เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งส์ ชนะประมูล วรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ออกมาแถลงหลังการพิจารณา ซองที่ 3 (ด้านการเงิน) ของ คณะกรรมการพิจารณาการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม สนามบิน (21 ธันวาคม 2561) กลุ่ม กิจการร่วมค้าเจริญโภคภัณฑ์ฯ เสนอของบอุดหนุนจากรัฐ 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบที่คณะรัฐมนตรี (ครม. ) อนุมัติ 119,425 ล้านบาท จำนวน 2,1968 ล้านบาท และต่ำกว่ากลุ่มบีเอสอาร์ 52,707 ล้าบาท ( กลุ่มบีเอสอาร์เสนอของบอุดหนุนจากรัฐ 169,934 ล้านบาท ) ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน หลังการเจรจาระหว่าง คณะกรรมการพิจารณาสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้ง 2 ฝ่ายบรรลุข้อตกลงแล้ว 80 %

vo
วรวุฒิ มาลา

นอกจากโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินแล้ว  คีรีกับปลิว ยังไปเจอกันอีก ในสนามประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า 290,000 ล้านบาท ซึ่งมีผู้เสนอชิงสัมปทาน 3 ราย โดย ปลิว เข้าร่วมกับ กลุ่มกิจการร่วมค้า ธนโฮลดิ้ง ซึ่งมีเครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นแกนนำ เช่นเดิม ส่วน คีรี เข้าร่วมกับ กลุ่มกิจการร่วมค้า บีบีเอส ที่มี บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) ของ นายแพทย์  ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เป็นแกนนำ โดยมี บมจ.ซิโนไทยฯ ร่วมเป็นพันธมิตรเช่นเคย  และกลุ่มที่สาม บมจ.แกรนด์  แอสแสท โฮเต็ล แอนด์ พร็อพ เพอร์ตี้ (บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่ม พร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค ของ ชายนิด  อรรถญาณสกุล  เป็นแกนนำ  มี บมจ. เอเชีย เอวิเอชั่น(ไทยแอร์เอเชีย) ร่วมเป็นพันธมิตร

อนึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้า ธนโฮลดิ้ง ฟ้องศาลปกครองกลางขอให้มีคำส่งคุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับคำสั่งตัดสิทธิการเข้าร่วมประมูลของ คณะกรรมการกิจพิจารณา โดยกลุ่มกิจการร่วมค้าธนโฮลดิ้ง อ้างว่ายื่นเอกสารชุดสุดท้ายช้าไปเพียง นาที เนื่องจากอุปสรรคเรื่องสถานที่

 อย่างไรก็ดี การเผชิญหน้าระหว่าง คีรี  บีทีเอส กับ ปลิว ช.การช่าง ในฐานะคู่แข่งตามธรรมชาติ ยังมีภาคต่อไปและต่อไป  เพราะตามแผนแม่บทรถไฟฟ้า 10 สายทางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล มีระยะทาง รวม 515.2 กม. ขณะที่เส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดบริการและผ่านการประมูลไปแล้วเพียง 220 กม. โดยประมาณ และมีอีก สาย ที่รอเสนอคณะรัฐมนตรีในเร็วๆนี้ สายสีม่วงใต้(เตาปูนราษฎร์บูรณะ) 23.6 กม. มูลค่า 101,112 ล้านบาท  และสายสีส้มตะวันตก (บางขุนนนท์  ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะ 16.4 กม. มูลค่า 142,600 ล้านบาท ยังมีอีกหลายสายที่รัฐบาลรอผลักดันในอนาคต    

รถไฟฟ้า บีทีเอส 1

หากเปรียบเทียบระหว่าง คีรี กับ ปลิว ผู้เล่นหลักในธุรกิจ สัมปทานรถไฟฟ้า จุดเริ่มต้น คนต่างกัน คีรี เข้าสู่ธุรกิจรถไฟฟ้า (บีทีเอส) โดยใช้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นฐาน 

ส่วน ปลิว ใช้ธุรกิจก่อสร้างเป็นฐาน  คีรี เหมือนขยับจากธุรกิจปลายน้ำ (อสังหาริมทรัพย์) มากลางน้ำ (รถไฟฟ้า) ส่วนปลิวขยับจาก ต้นน้ำ (ก่อสร้าง) มากลางน้ำ ( รถไฟฟ้า)  

คีรี ได้ประโยชน์จากการพัฒนาที่ดินที่แนวรถไฟฟ้า บีทีเอส ผ่าน (จับมือกับแสนสิริ) ส่วน ปลิว ได้ประโยชน์จากธุรกิจเกื้อหนุนกัน เพราะปัจจุบัน ลูกค้ารายใหญ่ของ ช.การช่าง ไม่ใช่ใครที่ไหน คือ บีอีเอ็ม ซึ่งป้อนงานก่อสร้างทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าให้บริษัทแม่นั่นเอง

ถ้าประกบแนวรถไฟฟ้าระหว่าง บีทีเอส กับ สายสีน้ำเงิน ทั้ง สาย ลากผ่านย่านธุรกิจหลักของกลุ่มเทพมหานคร เช่นเดียวกัน หากบีทีเอส ได้เปรียบเล็กน้อยที่ยึดแนว ถนนสุขุมวิทซึ่งย่านการค้าสำคัญหลายจุด และรถไฟฟ้าบีทีเอส มีระยะทางยาวรวม (ถึงปี 2565) ราว 132 กม.  ยาวกว่าสายสีน้ำเงินที่จะมีเส้นทางยาวรวม 98.7 กม. อีกทั้ง บีทีเอส  เริ่มต่อขยายออกไปถึงชานเมือง (สมุทรปราการ )

แต่กลางปี  2562 แต้มต่อของสายสีน้ำเงินจะเพิ่มขึ้น เมื่อเส้นทางส่วนต่อขยายของสายสี้น้ำเงิน   หัวลำโพงหลักสอง จะเปิดให้บริการ และปีหน้า 2563   ตามด้วย สายสีน้ำเงิน(ต่อขยาย) บางซื่อท่าพระ  จะทำให้สายสีน้ำเงิน เชื่อมต่อเป็นวงกลมสายแรกของเมืองไทย ทีพาดผ่าน กรุงเทพฯชั้นใน กลาง และชานเมือง    

    ปลิว คีรี 1

ในเชิงบริหารทั้ง 2 คนยึดหลักคล้ายคลึงกัน คือ ถือคติ เดินหลายคนไปได้ไกล ดั่งที่ร่วมกลุ่มแสวงหาพันธมิตรในการเข้าประมูลสัมปทานรถไฟฟ้าและอื่นๆอีกหลายโครงการ  และสัมปทานรถไฟฟ้ามีบทบาทมากขึ้นต่อการสะสมทุนของทั้ง 2 คน จนขึ้นชั้นมหาเศรษฐีพันล้าน (ดอลลาร์สหรัฐ) ของโลก

หากสิ่งที่ต่างกันคือ คีรี เริ่มสะสมทุนจากโดยมีทุนตั้งต้นจาก เตี่ย ที่มีฐานะระดับ เจ้าสัว (มงคล กาญจนพาสน์)  ขณะที่ปลิวกับพี่น้อง 10 คน เริ่มต้นตั้งธุรกิจด้วยทุนเพียง 1,400,000 บาท   

หมายเหตุ ย่อหน้าสุดท้ายตอนที่แล้ว (4)  ข้อความที่ถูกต้องคือ  “…….และในห้วงเวลานั้น ชื่อของ ปลิว  ตรีวิศวเวทย์ ปรากฏในทำเนียบ มหาเศรษฐีของไทย และโลก ผู้ครอบครองสินทรัพย์มากกว่า 14,000 ล้านบาท  บุรุษผู้สะสมทุนจาก งานก่อสร้าง และสัมปทาน  ด้วยทุนตั้งต้นเพียง 1.4 ล้านบาท”

 ขออภัยผู้อ่านมา ณ ที่นี้

Avatar photo